พุดจีบ

พุดจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 8,337

[16.4258401, 99.2157273, พุดจีบ]

พุดจีบ ชื่อสามัญ Crepe jasmine, Clavel De La India, East Indian rosebay, Pinwheel flower

พุดจีบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

สมุนไพรพุดจีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุดป่า (ลำปาง), พุดซ้อน พุดลา พุดสา พุดสวน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็ก ๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง
  • ใบพุดจีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร หลังใบเรียบลื่นเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีอ่อนกว่า
  • ดอกพุดจีบ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบ โดยจะออกดอกตามซอกใบใกล้กับปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็นแฉก 5-10 แฉก และมีลักษณะเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นแฉกเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี 
  • ผลพุดจีบ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นฝักคู่ติดกัน ลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ฝักมีลักษณะโค้งยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม ขอบฝักเป็นสันนูน เนื้อผลเป็นสีแดง เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด 

สรรรพคุณของพุดจีบ

  1. รากมีรสเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)
  2. กิ่งช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการใช้กิ่ง 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (กิ่ง)
  3. เนื้อไม้มีรสเฝื่อน เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาช่วยลดไข้ ลดพิษไข้ (เนื้อไม้)
  4. ใบมีรสเฝื่อน นำมาตำกับน้ำตาลชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
  5. รากนำมาเคี้ยวช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
  6. รากเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
  7. รากเป็นยาถ่าย (ราก)
  8. ต้นมีรสเฝื่อน นำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ (ต้น) ส่วนรากก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ราก)
  9. ดอกมีรสเฝื่อน คั้นเอาแต่น้ำทาแก้โรคผิวหนัง (ดอก)
  10. รากเอามาฝนแล้วนำมาใช้ทาผิวบริเวณที่เป็นตุ่ม จะช่วยทำให้ตุ่มยุบเร็วขึ้น (ราก) นอกจากนี้ในส่วนของรากยังมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่ารากกับหัวมีรสขม ในทางอายุรเวทของอินเดียจะใช้เป็นยาแก้หิด แก้พยาธิไส้เดือน เพียงแต่ผู้เขียนยังหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมายืนยันไม่ได้
  11. รากช่วยระงับอาการปวด (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดจีบ

  • สารสำคัญที่พบได้แก่ amyrin, ajmalicine, tryptamine, kaempferol, pericalline, voacamine, vasharine
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา แก้อาการปวด ยับยั้งการหดเกร็งของมดลูกและลำไส้
  • สารสกัดจากต้นพุดจีบมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสได้สูง (เอนไซม์ชนิดนี้จะฤทธิ์ไปทำลายสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ทำให้ลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม) จึงทำให้สารอะเซทิลโคลีนในระบบประสาทส่วนกลางคงเหลืออยู่มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นและในระยะปานกลาง
  • เปลือก ต้น และรากมีสารอัลคาลอยด์ Coronarine
  • เมื่อปี ค.ศ. 2002 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลของสารสกัดพุดจีบในหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง HMG Co A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยไขมันในตับอ่อนได้ และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองสารสกัดพุดจีบกับสมุนไพรอีกหลายชนิด ทำเป็นรูปแบบแคปซูล ซึ่งยาผสมดังกล่าวมีผลในการรักษาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง และภาวะเส้นเลือดอุดตัน โดยยาดังกล่าวมีส่วนผสม 1-10% พุดจีบ, 1-10% โกโก้, 1-10% บัวหลวง, 1-10% ข้าวโพด, 1-10% Cyperus rotundu แล้วนำยาดังกล่าวมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง พบว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาผลของสาร Crocin และ Crocetin ที่สกัดได้โดยใช้น้ำสกัด พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง Pancreatic lipase เอนไซม์ในตับอ่อนของหนูทดลองที่ถูกทำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองดังกล่าวมีระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2006 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองใช้สารสกัดในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดในขนาด 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูทดลองที่ถูกให้อาหารที่มีไขมันสูงจนอ้วน โดยให้ corn oil 1 กรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสารสกัดของพุดจีบมีผลต้านอนุมูลอิสระและ Lipid peroxidation ทำให้ไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2007 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือด โดยไปยับยั้ง Lipase เอนไซม์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดความอ้วน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
  • จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากกิ่งแห้งด้วย 95% เอทานอลหรือสกัดด้วยน้ำเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรในขนาด 150 หรือ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าไม่เป็นพิษ

หมายเหตุ : จากหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ตาม [7] ใช้หัวข้อเรื่องว่า "พุดซ้อน" แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพุดจีบ (ทั้งพุดจีบและพุดซ้อนต่างก็มีชื่อพ้องที่เหมือนกัน บางแห่งเรียกพุดซ้อนว่าพุดจีบ และบางแห่งก็เรียกพุดจีบว่าพุดซ้อน) ผู้เขียนจึงเข้าใจว่า "พุดซ้อน" ในหนังสือเล่มนี้หมายถึง "พุดจีบ" (ขออิงตามชื่อวิทยาศาสตร์)

ประโยชน์ของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประธานตามสวนหย่อม เพราะมีกิ่งก้านสวยงาม หรือจะใช้ปลูกตามริมน้ำตก ลำธาร มุมตึก หรือปลูกบังกำแพงก็ได้ อีกทั้งดอกยังส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลากลางคืนอีกด้วย
  • ดอกสามารถนำมาร้อนมาลัยเพื่อถวายพระได้
  • ส่วนข้อมูลอื่นๆ ระบุว่า เนื้อของผลสุกใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีส้มแดง ส่วนเนื้อไม้ใช้ทำธูปได้ และดอกใช้ทำหัวน้ำหอม

คำสำคัญ : พุดจีบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดจีบ. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เผือก

เผือก

เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,433

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,475

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน 

 

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 12,904

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน

ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,598

มะนาวผี

มะนาวผี

มะนาวผี มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้นๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,146

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,608

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,510

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,901

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,429

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,261