มะปราง
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 9,225
[16.4258401, 99.2157273, มะปราง]
มะปราง ชื่อสามัญ Marian plum, Plum mango
มะปราง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouea macrophylla Griff. จัดอยู่ในวงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)
มะปราง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บักปราง (ภาคอีสาน), มะผาง (ภาคเหนือ), ปราง (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของมะปราง
- ต้นมะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร
- ผลมะปราง มีลักษณะคล้ายรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม โดยมะปราง 1 ช่อ จะมีผลอยู่ประมาณ 1-15 ผล ผลดิบของมะปรางจะมีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองถึงเหลืองอมส้มและลักษณะของเปลือกจะนิ่ม เนื้อด้านในสีเหลืองแดงส้มออกแดงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มะปรางมีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด ในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดลักษณะคล้ายกับเมล็ดมะมะม่วง
ในพืชตระกูลมะปราง สามารถแบ่งออกได้เป็น มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, มะยงชิด, มะยงห่าง, กาวาง
- มะปรางหวาน ผลดิบและผลสุกจะมีรสชาติหวานสนิท ผลมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ความหวานก็จะแตกต่างกันออกไป จะหวานมากหรือน้อยเท่านั้น แต่เมื่อรับประทานแล้วอาจไอระคายคอหรือคันคอได้ถ้าหวานสนิท
- มะปรางเปรี้ยว จะมีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก ขนาดก็ทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มะปรางเปรี้ยวจะเหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปมากกว่าที่จะรับประทานสด ๆ เช่น มะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม น้ำมะปราง ฯลฯ
- มะยงชิด เป็นมะปรางที่มีรสหวานอมเปรี้ยวหรือมีรสหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน ขนาดก็มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มะยงชิดจะมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนผลสุกจึงจะออกหวาน ลักษณะของเนื้อค่อนข้างแข็ง มีเปลือกหนา (แต่ถ้ารสเปรี้ยวมากกว่าหวาน เราจะเรียกว่า "มะยงห่าง")
- มะยงห่าง ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับมะยงชิดมาก แต่ที่ต่างกันก็คือรสชาติ โดยมะยงห่างจะมีรสเปรี้ยวมากและมีรสหวานอยู่บ้างเล็กน้อย แต่มะยงห่างจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมปลูกเพื่อการค้าสักเท่าไหร่
- กาวาง ลักษณะภายนอกจะคล้ายมะยงชิดและมะยงห่าง แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือจะมีรสเปรี้ยวใกล้เคียงกับมะดัน โดยที่มาของชื่อกาวางนั้นมีเรื่องเล่าว่า มีนกกาที่หิวโซบินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้มีสีเหลืองสวยงาม แต่เมื่อลองจิกกินเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องรีบวางแล้วบินหนีไปทันที จึงเป็นที่มาของชื่อ "กาวาง"
มะยงชิดกับมะปรางต่างกันอย่างไร
- มะปรางโดยรวมแล้วขนาดของผลจะเล็กกว่ามะยงชิด
- มะปรางบางสายพันธุ์รับประทานแล้วอาจคันหรือระคายคอ แต่มะยงชิดเมื่อรับประทานแล้วจะไม่มีอาการดังกล่าว
- มะปรางผลดิบจะมีสีเขียวออกซีด แต่มะยงชิดผลดิบจะมีสีเขียวจัดกว่ามะปราง
- มะปรางผลสุกมีสีเหลืองอ่อน แต่มะยงชิดจะมีสีเหลืองแกมส้ม
- มะปรางผลดิบมีรสมัน แต่มะยงชิดผลดิบรสจะเปรี้ยวจัด
- มะปรางผลสุกมีรสหวานมาก แต่มะยงชิดผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
ประโยชน์ของมะปราง
- มะปรางเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
- มะปรางมีวิตามินสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
- มะปรางมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสจึงช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยฟอกโลหิต
- ช่วยแก้เสลดหางวัว
- ช่วยแก้น้ำลายเหนียว
- รากมะปรางมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
- ใบมะปรางใช้ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะ
- น้ำจากต้นใช้เป็นยาอมกลั้วคอ
- ผลสุกมะปรางใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ส่วนผลดิบใช้จิ้มน้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรือนำไปใช้ดองและแช่อิ่ม
- มะปรางเป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนธาตุดิน หรือผู้ที่เกิดในราศีพฤษภ ราศีกันย์ ราศีมังกร และผู้เกิดตามธาตุนี้มักจะเสี่ยงกับโรคความอ้วน ความดัน เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ ซึ่งมะปรางถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ
คำสำคัญ : มะปราง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะปราง. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1729&code_db=610010&code_type=01
Google search
มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,434
ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,312
ผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ผักชี โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกทั่วโลก เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีใบสีเขียวอ่อน ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย และสำหรับวิธีการเลือกซื้อผักชีฝรั่งนั้นให้เลือกซื้อเอาใบที่เขียวสด ไม่เหลืองและเหี่ยว เมื่อซื้อมาแล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกผูกให้มิดชิดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผักได้เลย
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,647
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม. ใบเป็นใบประกอบ ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ ประกอบด้วยใบย่อย 3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก 4 กลีบ สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,212
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,201
ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,674
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล มีใบย่อย 18-27 คู่ ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม. ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,221
เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 4,171
มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา
เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,463
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,598