ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 7,723

[16.4258401, 99.2157273, ข้าวเย็นใต้]

ข้าวเย็นใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax glabra Roxb.[1] จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE) เช่นเดียวกับข้าวเย็นเหนือ[2]

สมุนไพรข้าวเย็นใต้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยาหัว (เลย, นครพนม), หัวยาข้าวเย็น (เพชรบูรณ์), ยาหัวข้อ (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ภาคใต้), ข้าวเย็นโคกขาวถู่ฝุหลิง (ภาษาจีน), RHIZOMA (ภาษาละติน) เป็นต้น[1],[2],[4],[8]

ลักษณะของข้าวเย็นใต้

  • ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า และยังพบรอยแยกแตกเป็นร่อง ๆ บนผิวเปลือก เนื้อเหง้าเป็นสีขาวอมเหลือง สมุนไพรชนิดนี้มีรสหวาน ชุ่มชื่นและสมดุล ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะอาหาร และไม่มีกลิ่น[1],[2]
  • ใบข้าวเย็นใต้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายใบแหลมและบาง โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-14 เนติเมตร ผิวใบมัน หน้าใบมีเส้นตามยาวประมาณ 3 เส้น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนหลังใบมีผงเหมือนแป้งสีขาว ก้านใบมีขนาดสั้น ยาวประมาณ 9-14 มิลลิเมตร[2]
  • ดอกข้าวเย็นใต้ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ในแต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 4-15 มิลลิเมตร[2]
  • ผลข้าวเย็นใต้ ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงดำ[2]

สรรพคุณของข้าวเย็นใต้

  1. ตามตำรับยาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว)[6]
  2. หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)[6]
  3. ตำรับยาแก้เบาหวาน ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ใบโพธิ์ และไม้สักนำมาต้มในหม้อดิน ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ และต้นลูกใต้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)[3]
  4. หัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือเป็นพืชสมุนไพรที่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม จึงมักถูกนำไปใช้ในตำรับยารักษามะเร็งร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายตำรับ (หัว)[5] ใช้หัวผสมในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียด นำมาผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ใช้รับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)[6]
  5. ต้นมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ตัวร้อน (ต้น)[7]
  6. ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต (ใบ)[7]
  7. ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการไข้อันเนื่องมาจากความเย็นชื้น (หัว)[1]
  8. ช่วยขับไล่ความเย็น (หัว)[1]ขับลมชื้นในร่างกาย ด้วยการใช้ข้าวเย็นทั้งสองอย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำมาแช่กับเหล้า ด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2]
  9. หัวมีรสกร่อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ และไต ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (หัว)[2]ช่วยแก้น้ำมูกไหล (หัว)[1]
  10. ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้มีอยู่ 2 ตำรับ มีตัวยาในตำรับ 4 อย่างและ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับแล้วนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (หัว)[3]
  11. หัวช่วยแก้ประดง (หัว)[4],[6]
  12. ใช้แก้อาการไอ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 5 บาทและหัวข้าวเย็นเหนือ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดิน เติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)[2]
  13. ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (หัว)[6]
  14. ช่วยแก้อาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ (หัว)[3]
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)[2]
  16. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (หัว)[2] ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (หัว)[6]
  17. ผลมีรสขื่นจัด เป็นยาแก้ลมริดสีดวง (ผล)[7]
  18. ตำรับยาแก้ริดสีดวงทวาร ให้ใช้สมุนไพรหัวข้าวเหนือใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก เหง้าสับปะรด และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3]
  19. ช่วยรักษากามโรค โรคซิฟิลิส เข้าข้อออกดอก (หัว)[1],[2],[4],[6]ตำรับยาแก้โรคหนองในทั้งหญิงและชาย ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีกรวมทั้งสิ้น 14 อย่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองในหรือโรคโกโนเรีย แล้วจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3] ตำรับยารักษาโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยรักษาโรคบุรุษได้ผลชะงัดนัก (หัว)[3]
  20. ช่วยแก้อาการตกขาว ระดูขาวของสตรี (หัว)[2]ตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยแก้ระดูขาวและโรคบุรุษได้ผลชะงัดดีนัก (หัว)[3]
  21. ใช้รักษาโรคเนื้องอกบริเวณปากมดลูก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือ 25 กรัมและข้าวเย็นใต้ 25 กรัม นำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือต้มให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี แล้วใช้แบ่งรับประทานครั้งละ 25 ซีซี จำนวน 4 ครั้ง (หัว)[2]
  22. หัวใต้ดินมีรสหวานเอียนเบื่อ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (หัว)[2],[4],[6],[8]
  23. ช่วยระงับพิษ แก้อาการพิษจากปรอท (หัว)[1]
  24. ช่วยแก้อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวม ช่วยแก้ฝีแผลเน่าเปื่อย บวมพุพอง ทำให้แผลฝีหนองยุบ แก้เม็ดผื่นคัน (หัว)[1],[4],[6]
  25. ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด (หัว)[4],[6]
  26. ตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด ระบุให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นเหนือ, กระดูกควายเผือก, กำมะถันเหลือง, ขันทองพยาบาท, หัวต้นหนอนตายหยาก หนักอย่างละ 20 บาท และเหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, และผิวไม้รวก 3 กำมือ นำมาต้มในหม้อดินพอสมควร ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ตำรับนี้นอกจากจะช่วยแก้ฝีทุกชนิดแล้ว ยังช่วยแก้โรคแผลกลาย รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้อย่างได้ผลชะงัด (หัว)[3]
  27. ช่วยฆ่าเชื้อหนอง (หัว)[6],[8]
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาบริเวณแผล (หัว)[2]
  29. ช่วยแก้อาการอักเสบในร่างกาย (หัว)[6]
  30. ช่วยแก้อาการฟกช้ำเคล็ดขัดยอก (หัว)[2]
  31. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการปวดข้อเข่า มีอาการหดเกร็งของแขนและขา ปวดข้อและเอ็น ดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[4],[6]แก้เส้นเอ็นพิการ (หัว)[4],[6]
  32. ช่วยทำให้ข้อเข่าทำงานได้อย่างเป็นปกติ (หัว)[1]
  33. หัวนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาช่วยลดอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังการคลอดบุตร (หัว)[6]

วิธีใช้สมุนไพรข้าวเย็นใต้

  • ให้ขุดเก็บเหง้าในฤดูร้อนและในฤดูใบไม้ร่วง แล้วนำมาตัดรากฝอยทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วทำให้แห้ง หรือนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ในขณะหัวสด แล้วนำมาทำให้แห้ง[1]
  • การใช้ตาม [1],[2] ถ้าเป็นหัวแห้งใช้ในขนาด 15-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[1],[2]
  • หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดสุโขทัยจะใช้หัวใต้ดินเป็นยาร่วมในยาต้มทุกชนิด[8]
  • ในหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชได้ระบุว่า ข้าวเย็นใต้และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน และนิยมนำมาใช้คู่กัน โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้

  • สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, Amino acid, Diosgennin, Parillin, Saponin, Saponins, Smilax, Smilacin, Tanin, Tigogenin และในเมล็ดพบน้ำมันหอมระเหย 11.2%[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 มาให้หนูทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อรา และเชื้อ Staphylo coccus ได้[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 มาฉีดเข้าบริเวณช่องท้องของหนูขาวและกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถช่วยห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
  • น้ำต้มจากทั้งต้นมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลอง และรักษาโรคเรื้อนกวางในคนได้[

คำสำคัญ : ข้าวเย็นใต้

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ข้าวเย็นใต้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1578&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1578&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กว้าว

กว้าว

เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ ใบดกหนาทึบ สูงประมาณ 15-30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม  โปร่งเปลือกเรียบ หนา สีเขียวอ่อนปนเทา เปลือกในสีชมพูอ่อน ถึงสีน้ำตาลแก่ ตามกิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบป้อม รูปหัวใจ โคนเว้า ปลายหยักเป็นติ่งสั้น  เนื้อใบบาง  หลังใบมีขนสาก ๆ  สีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนสีเทานุ่ม ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ  ออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละไม่เกิน 3 ช่อ ผลเล็ก ผิวแข็ง รวมกันอยู่บนก้านช่อเป็นก้อนกลม เมล็ดมีปีก  โคนต้นเป็นพูพอน การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,277

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,110

กล้วยหอม

กล้วยหอม

สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,703

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง  ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก  ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,219

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,035

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,265

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,687

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,935

รากสามสิบ

รากสามสิบ

รากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้ แตกแขนงเป็นเถาห่างๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ  บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,719

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,845