แก้ว

แก้ว

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 6,327

[16.4258401, 99.2157273, แก้ว]

แก้ว ชื่อสามัญ Andaman satinwood, Chanese box tree, Cosmetic bark tree, Orange jasmine, Orange jessamine, Satin wood
แก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack  (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Murraya exotica L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรแก้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จ๊าพริก (ลำปาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), แก้วขาว (ภาคกลาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี), จิ๋วหลี่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นแก้ว
        ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน
        ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ
         ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
         ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร

สรรพคุณของต้นแก้ว
1. ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
2. ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก)
3. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก, ใบ)
4. ช่วยแก้อาการไอ (ดอก, ใบ)
5. ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ (ราก, ก้าน, ใบสด) บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม
    นำมาต้มใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน (ก้านใบ, ใบสด)
6. รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม (ราก)
7. รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก)
8. ใบช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ)
9. ช่วยแก้บิด (ใบ)
10. ใบช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ใบ)
11. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก, ใบ)
12. ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ใบแก้วแห้ง, กานพลู, เจตพังคี, และเปลือกอบเชย นำมาบดเป็นผงใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นยารับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำผงที่
     ได้มาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลืองก็ได้ โดยใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ใบแห้ง)
12. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด (ใบ)
13. ใบใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรี (ใบ) หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม (สดให้ใช้ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
      หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (รากแห้ง)
14. รากและต้นแห้งนำมาหั่นและต้มเคี่ยวแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ ช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรี โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มกับน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก (ราก, ต้นแห้ง)
15. รากใช้เป็นยาแก้ฝีในมดลูก (ราก)
16. รากสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (รากสด) ใช้เป็นยาแก้แผลคัน (ราก)
17. ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (ราก, ก้าน, ใบสด) แก้อาการคันที่ผิวหนัง (ราก)
18. แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้รากและใบสดนำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย (ราก, ใบสด) แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)
19. รากสดมีรสเผ็ดสุขุม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้แผลฟกช้ำได้ (รากสด) แก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก) แก้แผลเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทบกระแทก (ใบ)
20. ช่วยแก้ฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบแก้วสด, ขมิ้น, ขิง และไพร นำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้า แล้วนำไปคั่วให้ร้อน นำผ้าสะอาดห่อ ใช้เป็นยาประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำประมาณ
      20-30 นาที โดยให้ทำวันละ 2-3 ครั้ง (ใบสด)
21. รากใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดบวม แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) บ้างว่าใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยใช้ตุ๋นกับหาง
      หมูเจือกับสุราใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยเอว (รากแห้ง)
22. ก้านและใบสดเมื่อนำมาบดแช่กับแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดได้ (ก้านใบ, ใบสด)
23. ดอกและใบใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ (ดอก, ใบ)

วิธีและปริมาณที่ใช้ของสมุนไพรแก้ว
1. รากและใบแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-18 กรัม แต่หากเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม
2. ใช้เป็นยารักษาภายใน เพื่อแก้อาการท้องเสีย แก้บิด และขับพยาธิ ให้ใช้ก้านและใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานหลัง
    อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือจะนำมาดองกับเหล้าแล้วใช้ดื่มแต่เหล้าครั้งละ 1 ถ้วยตะไลก็ได้
3. ใช้เป็นยาภายนอก ให้ใช้ก้านและใบสดนำมาตำแล้วพอกหรือจะคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่เป็น หรืออีกวิธีให้ใช้ใบแห้งนำมาบดเป็นผงใช้โรยใส่แผลก็ได้ หากใช้เป็นยาแก้ปวดหรือเป็นยา
    ชาเฉพาะที่ก็ให้ใช้ใบและก้านสดที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% ถ้าเป็นในส่วนของรากแห้งหรือรากสดก็ให้นำมาตำแล้วพอก หรือจะนำไปต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นแก้ว
1. ในใบมีน้ำมันหอมระเหย 0.25 โดยประกอบไปด้วยสาร Bisabolene, Carene, Citronellol, Eugenol, Geraniol, I-Candinenem, Paniculatin, Phebalosin, Methyl Anthranilate,
    Scopoletin, Scopolin
2. ในกิ่ง เปลือกก้าน และผลของต้นแก้วมีสาร Mexoticin I, Hibiscetin, Heptamethyleeher I
3. สารสกัดจาก Petroleum ether ของต้นแก้ว เมื่อนำมาทดลองกับลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กของหนูขาวที่ทำการผ่าออกจากร่าง พบว่าสารดังกล่าวมีประสิทธิภาพทำให้การเกร็งตึงที่กล้าม
    เนื้อเรียบของลำไส้มีการหย่อนคลาย
4. จากการทดลองกับหัวใจที่ออกจากร่างของกบพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเต้นของหัวใจของกบด้วย
5. สารจากต้นแก้วที่ทำการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือช่วยยับยั้งเชื้อ Bacullus Inuza และเชื้อ Btaphylo Coccus ได้

ประโยชน์แก้ว
1. ก้านใบสามารถนำมาใช้ทำความสะอาดฟันได้
2. ผลสุกสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้
3. ต้นแก้วเป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดแต่งเป็นพุ่มได้ง่าย เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีและไม่ต้องการการบำรุงรักษามากนัก เพียงแต่รดน้ำเพียงครั้งคราวเท่านั้น        จึงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ประธานตามสวนหย่อม ริมทะเล ฯลฯ โดยจะปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือใช้ปลูกแบบเป็นกลุ่มๆ ก็ได้ หรือใช้ปลูกเป็นรั้วบังสายตา ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
    ก็ได้ อีกทั้งยังออกดอกดก ดอกมีความสวยงามและมีกลิ่นหอม (การปลูกจากกิ่งตอนจะเป็นไม้พุ่ม แต่การปลูกในที่ร่มใบจะเขียวเข้ม มีกิ่งยืดยาว และให้ดอกน้อย)
4. คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นแก้วไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีแต่ความดีและมีคุณค่า เนื่องจากคำว่า "แก้ว" นั้นมีความหมายว่า สิ่งที่ดีและมีคุณค่า เป็นที่
    นับถือของคนทั่วไป เพราะคนโบราณได้เปรียบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เหมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านที่ปลูกต้นแก้วไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านเป็นผู้มี
    จิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เปรียบเสมือนแก้วที่มีความสดใสและมีความใสสะอาด และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันตกและควรปลูกในวันพุธ
    เพราะในโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้ดอกเพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันพุธ
5. ดอกแก้วยังถูกนำมาใช้บูชาพระในพิธีทางศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย
6. ในต่างประเทศ เช่น ชาวเกาะชวามีความเชื่อว่าต้นแก้วสามารถช่วยขับไล่วิญญาณร้าย แม่มด หรือปีศาจ และช่วยในการปัดเป่าโชคร้ายต่าง ๆ และยังนำความสุขสมหวังมาให้ จึงมีการปลูก
    เป็นไม้ดับกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งต้นแก้วยังถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ โดยมีตำนานเล่าว่าสุลต่านแห่งยอกยาการ์ต้า มักจะหาที่พักสงบจิตใจและรวบรวมสมาธิใกล้ ๆ กับต้นแก้ว        ก่อนที่จะเสด็จเพื่อเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือเรื่องที่เกี่ยวกับบ้านเมือง ต้นแก้วจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมีสมาธิและสติปัญญาไปโดยปริยาย นอกจากนี้ในพิธีแต่งงาน ดอกแก้วยัง
    เปรียบเสมือนคำอวยพรถึงคู่บ่าวสาวที่ขอพรให้ใช้ชีวิตคู่กันอย่างสุขสมหวังและหอมหวานเสมือนกลิ่นของดอกแก้วนั่นเอง อีกทั้งใบของต้นแก้วก็นำมาใช้ในพิธีศพด้วย โดยมักจะใช้โรยบน
    พื้นก่อนนำศพลงไปวาง เพราะใบแก้วมีกลิ่นหอมที่สดชื่น จึงช่วยดับกลิ่นเหม็นคลุ้งของศพได้นั่นเอง
7. เนื้อไม้ของต้นแก้วเมื่อนำมาแปรรูปใหม่ ๆ จะเป็นสีเหลืองอ่อน พอนานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมสีเทา เนื้อไม้มีเสี้ยนตรงหรือสน มีความละเอียดอย่างสม่ำเสมอ และมักมีลายพื้นหรือ
    ลายกาบในบางต้น สามารถเลื่อย ผ่า ไส ขัด หรือนำมาตบแต่งได้ดี อีกทั้งยังมีลายไม้ที่สวยงาม โดยเนื้อไม้นั้นจะนิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายในบ้าน ภาชนะต่างๆ
    หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือ ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ไม้เท้าไม้ตะพด กรอบรูป เครื่องดนตรี ซออู้ ซอด้วง เครื่องกลึง ฯลฯ
8. มีข้อมูลระบุว่าสารสกัดจากต้นแก้วใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ยาลดน้ำหนักในประเทศมาเลเซีย ซึ่งในโฆษณาระบุว่ามันเป็นสูตรยาสมุนไพรเก่าแก่ โดยมีสรรพคุณในการช่วยลดความ
    อยากอาหารได้โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

คำสำคัญ : แก้ว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แก้ว. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1572&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1572&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,585

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,967

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,848

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,837

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,543

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,729

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,097

มะขามแขก

มะขามแขก

ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,907

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,660

งาดำ

งาดำ

งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 5,845