แค

แค

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 9,876

[16.4258401, 99.2157273, แค]

แค ชื่อสามัญ Agasta, Sesban, Vegetable humming bird, Humming bird tree, Butterfly tree, Agati
แค ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรแค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคขาว แคแดง แคดอกขาว ดอกแคแดง แคดอกแดง (กรุงเทพ-เชียงใหม่), แค แคบ้าน ต้นแค แคบ้านดอกแดง ดอกแคบ้าน (ภาคกลาง), แคแกง เป็นต้น

ลักษณะของต้นแค
       ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง และต้นแคจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สำหรับในบ้านเราจังหวัดที่มีการปลูกต้นแคเพื่อการค้านั้นก็ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ
       ใบแค เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบสีเขียว กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
        ดอกแค ลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ 2-3 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม มีสีขาวหรือสีแดง มีก้านเกสรตัวผู้สีขาวอยู่ 60 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย 
        ผลแค ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ผสมเกสรโดยนก ฝักเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และมีเมล็ดอยู่ด้านใน ฝักแคมีสีเขียวอ่อน สามารถรับประทานเป็นอาหารได้
        เมล็ดแค มีลักษณะเหมือนลิ่ม เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด

สรรพคุณของแค
1. ยอดแคอุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี (ดอก,
    ยอดอ่อน)
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด (ดอก)
3. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ (ใบสด, ดอกโตเต็มที่)
4. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
5. ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อน
     อาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ฝัก)
6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (ดอก, ยอดแค)
7. ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
8. ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส (ดอก, ยอดแค)
9. ดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โต
      เต็มที่นำมาล้างน้ำ แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น (ดอก)
10. น้ำคั้นจากรากใช้ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า กลางวัน และก่อนนอน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ลมหัวได้ (ราก)
11. ช่วยบรรเทาอาการของโรคลมบ้าหมู ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน
      (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
12. ช่วยแก้อาการปวดและหนักศีรษะ ด้วยการใช้น้ำคั้นที่ได้จากดอกและใบแคนำมาสูดเข้าจมูกเพื่อช่วยบรรเทาอาการ (ดอก, ใบ)
13. ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ยอดอ่อน)
14. ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า
      เย็น และช่วงก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก)
15. ช่วยแก้อาการปวดฟัน รำมะนาด ด้วยการใช้เปลือกแคนำมาต้มผสมเกลือให้เค็มจัดแล้วนำมาอม (เปลือกแค)
16. ช่วยรักษาปากเป็นแผล แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ นำมาเคี้ยว 3-5 นาทีแล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 3 วันก็จะหายจาก
      อาการ (เปลือกแค)
17. ชาวอินเดียใช้น้ำที่คั้นจากดอกหรือใบ นำมาสูดเข้าจมูกรักษาโรคริดสีดวงในจมูก ทำให้มีน้ำมูกออกมา (ดอก, ใบ)
18. เปลือกของต้นแคน้ำมาคั้นเป็นน้ำรับประทานช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือดได้ หรือจะนำมาใช้ต้มหรือฝนรับประทานแก้อาการได้ หรือจะใช้เปลือกต้นปิ้ง
      ไฟ 1 ส่วน นำมาต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เปลือกต้น)
19. ช่วยแก้ตานขโมย ด้วยการใช้แคทั้งห้าส่วนอย่างละ 1 กำมือ แล้วใส่น้ำพอท่วมยา หลังจากนั้นต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วนำมากินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 15
      วัน (ทั้งห้าส่วน)
20. ช่วยทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากรสขมของดอกแคช่วยกวาดล้างเมือกในช่องปาก ทำให้ลิ้นเสียความรู้สึก แต่ทำให้อยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น (ดอก)
21. สรรพคุณดอกแคช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก (ดอก, ใบ)
22. ใบแค ใช้รับประทานช่วยทำให้ระบาย หรือจะใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อน
      นอน (ใบ, ฝัก)
23. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
24. ช่วยบำรุงและรักษาตับ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตรประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน
      (ในประเทศอินเดีย) (ดอก, ใบ)
25. ช่วยแก้อาการอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวในน้ำ 1 ลิตรประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วกรองเอารากออก ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศ
      อินเดีย) (ราก)
26. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
17. เปลือกต้นนำมาใช้ภายนอก สามารถใช้ทำเป็นยาล้างแผล ชะล้างบาดแผลได้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด 15 นาที ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ล้างแผลวันละ 3 ครั้ง
      (เปลือกต้น)
28. ช่วยรักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้เปลือกต้นแคแก่ ๆ นำมาตากแห้งแล้วฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ใช้ทาแผลเช้าเย็น (ก่อนทาควรใช้น้ำต้มจากเปลือกแคล้างแผลก่อน) จะช่วยทำให้
      แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เปลือกต้น)
29. ใบสดนำมาตำละเอียดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)
30. ในอินเดียมีการใช้ใบอ่อนเป็นอาหารเสริมบีตา-แคโรทีนอยด์ในผู้ที่ขาดแคโรทีนอยด์ พบว่าหลังจากได้รับอาหารเสริมใบอ่อนแค (Agathi) จะมีปริมาณแคโรทีนในซีรั่มเพิ่มขึ้นในวันที่ 7
31. ในหนูทดลองที่รับยาและสารสกัดจากใบแคจะมีปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และกรดไจมันอิสระต่ำกว่าหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว
      (ใบ)
32. สารสกัดจากใบแค ช่วยทำให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองกลับสู่สภาวะปกติ ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่มีการใช้ใบแค
      เพื่อบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้เป็นอย่างดี (ใบ)
33. สารสกัดจากเอทานอลของใบแคมีฤทธิ์ช่วยป้องกันตับถูกทำลายในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาด (ใบ)
34. ช่วยแก้อาการหัวใจสั่น (ใบ), เปลือกในของต้นใช้อมแก้ลิ้นเป็นเม็ดคันหรือแสบ (เปลือกใน) (ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ**ที่มาจาก : numthang.org)
35. ดอกช่วยชะลอความแก่ชรา แก้อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ป้องกันโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย ป้องกันผมร่วง บำรุงผิวพรรณ ป้องกันผิวแห้งแตกหรือริ้ว
      รอย ลดปัญหาเล็บมือ เล็บเท้าเปราะแตกง่าย ลดอาการซึมเศร้า อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ รักษาผิวหนังเป็นผื่น บรรเทาอาการของสิวอักเสบ (ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อ
      ถือ**ที่มาจาก : yesspathailand.com)

ประโยชน์ของแค
1. ประโยชน์ของต้นแคนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
2. แคเป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย
3. ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ
4. ไม้ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้
5. ลำต้นนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี
6. ประโยชน์ของดอกแคฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแคแกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกง
    เหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวก
    จิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น
7. สำหรับชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย
8. บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศจะนิยมกินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว

คำแนะนำในการรับประทานดอกแค
1. การนำดอกแคมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อน จะช่วยลดความขมหรือทำให้มีรสขมได้ แต่ถ้าไม่กังวลเรื่องความขมก็ไม่ต้องเด็ดออกก็ได้
2. การเลือกซื้อยอดอ่อนและใบอ่อนของแค ควรเลือกเป็นใบสด ไม่ร่วง ส่วนดอกให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ซึ่งยอดอ่อนและใบอ่อนจะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด แต่สำหรับฝักอ่อนค่อน
    ข้างจะหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้เองจึงจะได้รับประทาน
3. ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคนั้น จะมีในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกแคจะมีในช่วงต้นฤดูหนาว
4. ดอกแคมีรสเฝื่อน ไม่นิยมรับประทานสด ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปลวกโดยใช้เวลาอันสั้นที่สุด
5. การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้

คำสำคัญ : แค

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แค. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1586&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1586&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,091

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,569

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,295

มะขามแขก

มะขามแขก

ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,915

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,828

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,224

แคดอกขาว

แคดอกขาว

แคดอกขาว (Cork Wood Tree หรือ Sesbania Grandiflora) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกดอกแคบ้าน, ต้นแค หรือแค ส่วนกรุงเทพฯและเชียงใหม่เรียกแคขาว เป็นต้น แคดอกขาวเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินเดีย เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินจำนวนมากซึ่งช่วยในการต่อต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย จึงทำให้แคดอกขาวเป็นที่นิยมกัน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 7,893

กระโดงแดง

กระโดงแดง

ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,272

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 5,689

กล้วยไข่

กล้วยไข่

กล้วยไข่เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบรูปไข่ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม มีร่องกว้าง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง โคนก้านมีปีกสีชมพู บริเวณช่อดอกมีขนอ่อน ส่วนผล 1 เครือ มีประมาณ 6-7 หวี ใน 1 หวีมีผลประมาณ 12-14 ผลด้วยกัน เป็นผลที่ค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง เมื่อผลงอมอาจมีจุดดำๆ ประปราย รสชาติหวานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 10,082