ผักกะโฉม

ผักกะโฉม

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,451

[16.4258401, 99.2157273, ผักกะโฉม]

ผักกะโฉม ชื่อสามัญ Marsh weed
ผักกะโฉม ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Herpestis rugosa Roth, Limnophila roxburghii G.Don)[1] จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)
สมุนไพรผักกะโฉม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้มกบ (เชียงใหม่), ผักกะโสม (ภาคกลาง), จุ้ยห่วยเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยหุยเซียง (จีนกลาง), ผักแมงดา, โหระพาน้ำ เป็นต้น

ลักษณะของผักกะโฉม
        ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ
        ใบผักกะโฉม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น
         ดอกผักกะโฉม ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณส่วนยอดของลำต้นและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขน ดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วง กลางดอกแต้มไปด้วยสีเหลือง ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายปาก กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมี 3 กลีบ ส่วนปากบนมี 2 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย 1 อัน ไม่มีก้านดอก
         ผลผักกะโฉม ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ แบน แตกได้ มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมล็ดมีลักษณะกลมขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

สรรพคุณของผักกะโฉม
1. ใบใช้ปรุงเป็นยาธาตุช่วยเจริญอาหาร (ใบ)
2. ช่วยระงับความร้อน (ต้นและใบ)
3. ต้นใช้รับประทานเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ต้น)
4. ช่วยแก้อาการแน่นท้อง แน่นหน้าอก (ต้น)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร (ต้น)
6. หากมีอาการผิดปกติในทางเดินอาหารหรือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ให้ใช้ใบผักกะโฉมแห้ง 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
7. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
8. ต้นมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำ (ต้น)
9. ต้นและใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล (ต้นและใบ)
10. ใช้รักษาแผลพุพอง ด้วยการนำต้นสดปริมาณพอสมควร นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผล หรือนำมาตำพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
11. ต้นและใบมีรสหอมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษเหือด หัด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ (ต้นและใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกะโฉม
      ในต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งน้ำมันนี้จะเป็นสารประกอบของ phenylpropane และ sesquiterpene

ประโยชน์ของผักกะโฉม
      ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบก้อย น้ำพริก (ต้นยิ่งอ่อนยิ่งมีกลิ่นแรง)
      ใบผักกะโฉมมีกลิ่นคล้ายกับใบโหระพา ซึ่งสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือทำเป็นน้ำหอมได้

คำสำคัญ : ผักกะโฉม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกะโฉม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1665&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1665&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักกูด

ผักกูด

ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,808

โทงเทง

โทงเทง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นล้มลุกระบบรากแก้ว  เนื้อไม้อ่อน  แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มสูง ประมาณ 40-60 ซม.  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นลักษณะเรียงสลับกัน รูปไข่ ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งมน ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 2 – 4 ซม.มีขนขึ้นปกคลุมก้านใบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบมีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นสีเขียวบาง ๆ 5 กลีบ มีขน กลีบเลี้ยงจะเจริญขยายใหญ่ขึ้นมากหุ้มผลคล้ายโคมไฟจีน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน บริเวณส่วนฐานของกลีบ มีเกสตัวผู้ 5 อัน ติดที่ฐานกลีบดอก เกสรตัวเมียเป็นเส้นตรงและมีตุ้มที่ปลาย  รังไข่แบ่งเป็น 2 ห้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,115

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,070

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,611

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,057

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,727

หงอนไก่

หงอนไก่

หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 17,827

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,017

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 10,646

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,835