เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,713

[16.4258401, 99.2157273, เอื้องเข็มแสด]

เอื้องเข็มแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. ex J.J. Sm., Gastrochilus miniatus (Lindl.) Kuntze, Saccolabium miniatum Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)

สมุนไพรเอื้องเข็มแสด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า พุ่มสุวรรณ เอื้องไข่เหลือง เอื้องมันปู เอื้องฮางคาง (เชียงใหม่), เอื้องฮ่องคำ (ลำปาง), เอื้องเหลืองพระฝาง (กรุงเทพฯ), เข็มเหลือง, เข็มแสด, สุขสำราญ เป็นต้น

ลักษณะของเอื้องเข็มแสด

  • ต้นเอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ
  • ใบเอื้องเข็มแสด ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกันและซ้อนกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบตัดเป็นจักแหลม ด้านล่างเป็นสันเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นสีเขียวแก่ ใบพับเป็นร่อง และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง
  • ดอกเอื้องเข็มแสด ออกดอกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 20-50 ดอกต่อช่อ ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบปากเป็นสีแสด ฝาปิดกลุ่มเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของเอื้องเข็มแสด

  • ในหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่า รากของพรรณไม้ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascocentrum miniatum (Lindl.) (ตามตำราเรียกต้น "เข็มเหลือง") มีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจับหัวใจ (ราก)

ประโยชน์ของเอื้องเข็มแสด

  • ใช้ปลูกเป็นไม้กล้วยไม้ประดับทั่วไปเพื่อความสวยงาม เป็นกล้วยไม้ชนิดที่ให้ดอกสีจัดจ้านและแทงดอกเก่ง ปลูกเลี้ยงง่าย ขอแค่อย่าลืมรดน้ำ และเนื่องจากเข็มแสดเป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงมาก การปลูกเลี้ยงจึงต้องให้ได้รับปริมาณแสงมาก ๆ ต่อวัน ไม่ควรปลูกร่มหรือใต้ชายคาเพราะจะไม่ยอมออกดอก สามารถปลูกได้แบบ ทั้งปลูกเป็นกล้วยไม้ออกขวด ปลูกติดขอนไม้ หรือปลูกลงในกระเช้าก็ได้

คำสำคัญ : เอื้องเข็มแสด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เอื้องเข็มแสด. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1783&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1783&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,936

งิ้วแดง

งิ้วแดง

งิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 13,561

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 15,801

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,846

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,848

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,264

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,473

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,831

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,702

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,190