บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 4,684

[16.4258401, 99.2157273, บอระเพ็ด]

บอระเพ็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)
สมุนไพรบอระเพ็ด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจตมูลหนาม (หนองคาย), ตัวเจตมูลยานหรือเถาหัวดำ (สระบุรี), หางหนู (อุบลราชธานี), จุ่งจิงหรือเครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เป็นต้น
บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

สรรพคุณของบอระเพ็ด
1. บอระเพ็ดช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส หน้าตาสดชื่น (ใบ)
2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
3. ประโยชน์ของบอระเพ็ด ช่วยให้ผมดกหนาขึ้นและอาการผมหงอก ผมร่วงก็จะลดน้อยลง ซึ่งจะได้ผลดีอย่างมากกับผู้ที่มีอาการผมหงอกก่อนวัย หากรับประทานผงบอระเพ็ดวันละ 600 mg. เป็นเวลา 1 เดือน
4. แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค ชันนะตุ
5. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ (เถา, ต้น)
6. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ต้น, ใบ)
7. บอระเพ็ดสรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น, ใบ) ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน / เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ
    2-3 เม็ด หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
8. ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทาน (ราก)
9. บอระเพ็ดลดความอ้วน (ใบ)
10. ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ราก)
11. สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน)
12. มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น)
13. แก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน)
14. ช่วยรักษาอาการโลหิตคั่งในสมอง (ใบ)
15. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, ต้น)
16. แก้อาการร้อนใน (เถา, ต้น)
17. สรรพคุณบอระเพ็ดช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก)
18. ช่วยขับเหงื่อ (เถา)
19. ช่วยฆ่าแมลงในหู (เถา)
20. แก้รำมะนาด (เถา)
21. แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้จับสั่น (ราก, ต้น, ใบ)
22. ใช้ถอนพิษไข้ (ราก)
23. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เถา, ผล) ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีต้มเคี่ยว (ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน) แบ่งครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารวันละ 2-3 ครั้งเมื่อตอนมีไข้ หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดให้เป็นผง
      ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
24. แก้ไข้มาลาเรียด้วยการกินบอระเพ็ดวันละ 2 องคุลีทุกวัน (เถา)
25. แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ (ต้น)
26. แก้อาการแทรกซ้อนขณะเป็นไข้ทรพิษ (ต้น)
27. ช่วยให้เสียงไพเราะ (ใบ)
28. แก้อาการเสมหะเป็นพิษ (ผล)
29. ช่วยรักษาฟัน (ทุกส่วน)
30. แก้อาการปวดฟัน (เถา)
31. แก้สะอึก (ต้น, ผล)
32. แก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา
33. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
34. รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทุกส่วน)
35. รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ทุกส่วน)
36. แก้อาการมดลูกเสีย (ราก)
37. ช่วยบำรุงน้ำดี (เถา)
38. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
39. ช่วยฆ่าพยาธิไส้เดือน (เถา)
40. ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน และในหู (ดอก)
41. แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทุกส่วน)
42. แก้อาการเกร็ง (ทุกส่วน)
43. ดับพิษปวดแสบปวดร้อน (เถา)
44. ใช้ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส (เถา)
45. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เถา,ใบ)
46. รักษาผดผื่นตามร่างกาย (ใบ)
47. รักษาบาดทะยัก (ทุกส่วน)
48. แก้อาการปวดฝี (ใบ)
49. แก้พิษฝีดาษ (ต้น)
50. แก้ฝีมดลูด ฝีมุตกิด (ทุกส่วน)
51. นำมาแปรรูปเป็นบอระเพ็ดแคปซูล
         แม้บอระเพ็ดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ยังมีงานศึกษาวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณดังกล่าวอยู่น้อย ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากบทเรียนที่ใช้ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นความเชื่อถือและใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตบอระเพ็ดแคปซูลออกมาจำหน่ายเพื่อใช้เป็นยาช่วยในการเจริญอาหาร
          สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

คำสำคัญ : บอระเพ็ด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บอระเพ็ด. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1647&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1647&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,461

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,856

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,788

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,667

มะกอกน้ํา

มะกอกน้ํา

ต้นมะกอกน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บริเวณริมน้ำและลำห้วย ปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง มีรูอากาศเป็นแนวยาว เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 15,995

งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน

ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,002

กระเจี๊ยบมอญ

กระเจี๊ยบมอญ

ต้นกระเจี๊ยบมอญเป็นไม้ล้มลุก สูง 5-2 เมตร มีขนทั่วไป ใบกระเจี๊ยบมอญเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 เซนติเมตร ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้นดอกกระเจี๊ยบมอญมีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 เซนติเมตร หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,025

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,251

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,463

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,251