พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 6,120

[16.4258401, 99.2157273, พญาท้าวเอว]

พญาท้าวเอว ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros bispinosus (Griff.) Tirveng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Randia bispinosa (Griff.) Craib) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรพญาท้าวเอว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขบเขี้ยว สลักเขี้ยว (สุราษฎร์ธานี) ส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้เรียก "พญาท้าวเอว" เป็นต้น

ลักษณะของพญาท้าวเอว

  • ต้นพญาท้าวเอว จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันไปบนต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีหนามแหลมโค้ง พอแก่แล้วหนามจะโค้งหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกลำต้นไว้ เป็นไม้ป่าของไทยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
  • ใบพญาท้าวเอว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบประมาณ 6-9 คู่ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
  • ดอกพญาท้าวเอว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม
  • ผลพญาท้าวเอว ผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงๆ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

สรรพคุณของพญาท้าวเอว

  1. ลำต้นใช้ฝนกับเหล้าทารักษาแผลในปาก (ลำต้น)
  2. หากปวดฟันหรือเป็นรำมะนาด ให้ใช้เหล้าเป็นกระสาย นำมาฝนแล้วทาบริเวณที่ปวด อาการก็จะบรรเทาลง (ลำต้น)
  3. ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้ลำต้น นำมาฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้อาการท้องเดิน (ลำต้น)
  4. ใช้ลำต้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้งูสวัด ไฟลามทุ่ง (ลำต้น)
  5. ลำต้นใช้ฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย ขบ โดยใช้น้ำมะนาวหรือน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย แล้วเอาว่านนี้มาฝนเข้าด้วยกันกับน้ำกระสาย แล้วเอาไปปิดที่แผล (ลำต้น)
  6. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นพญาท้าวเอวผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)แต่บางข้อมูลก็ระบุว่าให้นำไม้ท้าวเอวไปแช่ในน้ำให้เปียกชุ่มก่อน จะทำให้ตัวยาของไม้ซึมออกมา จากนั้นจึงนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยไม่นานก็จะหาย
  7. นอกจากนี้ว่านพญาท้าวเอวยังมีสรรพคุณอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาอีก (ข้อมูลไม่มีแหล่งอ้างอิง) เช่น แก้เด็กเป็นทราง ฟันเป็นแมง เจ็บคอ ตกเลือด เลือดทำพิษ แก้โรคผิวหนัง เป็นหันฝีหัวพิษ แก้เล็บขบ (ใช้ลำต้นนำมาฝนกับเหล้า) หรือถ้ากินยาเบื่อ ยาพิษ ผิดสำแดง ปวดท้อง ลงท้อง เป็นบิด ให้นำมาฝนกับน้ำซาวข้าว (ลำต้น)

ประโยชน์ของพญาท้าวเอว

  1. หากนำมาปลูกเป็นไม้ประดับก็สวยและแปลกตาไปอีกแบบที่มีหนามล็อกลำต้น
  2. ในด้านของความเชื่อ พญาท้าวเอวถือเป็นไม้มงคล เป็นว่านเมตตามหานิยมทางแคล้วคลาด ทางเขี้ยวงา ฯลฯ มีไว้ใช้ป้องกันตัว เชื่อว่าป้องกันสัตว์ร้ายและอสรพิษกัด รวมถึงคนที่จะมาลอบทำร้าย (งู ตะขาบ แมงป่อง ปลาดุกยักษ์แทง )

 

คำสำคัญ : พญาท้าวเอว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พญาท้าวเอว. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1736&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1736&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,799

ต้นแดง

ต้นแดง

ต้นแดง (Iron wood) หรือที่รู้จักกันว่า ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ แดง จะลาน จาลาน ตะกร้อม ผ้าน คว้าย ไคว เพร่ เพ้ย เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกระถิน ชะเอมไทย สะตอ ไมยราบ ฯลฯ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,746

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,124

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,557

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,106

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,617

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,686

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,194

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,374

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,328