การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 3,444

[16.4264988, 99.215725, การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร]

ประเพณีการแต่งงาน จังหวัดกำแพงเพชร
            ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก แม้ระยะเวลาจะห่างกันกว่าหนึ่งร้อยปี ซึ่งประเพณีการแต่งงานของกำแพงเพชร แบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ
            การสู่ขอ ฝ่ายหญิงจะพิจารณา ว่าผู้ชายเป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นคนทำมาหากิน ฝ่ายชายจะพิจารณาว่าฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีกิริยามารยาทดี ไถ่ถามกันถึงสินสอดทองหมั้น ตกลงกันและฝ่ายชายจะยกขันหมากมาสู่ขอและหมั้นกันในที่สุด
            พิธีหมั้น เมื่อได้ฤกษ์แล้วฝ่ายชายจะให้เฒ่าแก่คนเดิม หรือผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ ซึ่งต้องเป็นคู่สามีภรรยา ที่อยู่กินกันอย่างปกติสุข อยู่ในศีลธรรมปฏิบัติแต่คุณงามความดี เป็นผู้นำของหมั้นไปโดยมีขันโตกสองใบใส่ของหมั้นและสิ่งที่เป็นสิริมงคล ตามความเชื่อ ได้แก่ ใบพลู หมาก ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง ใช้ผ้าคลุมสีสวยคลุมขันหมาก ห่อแล้วห้ามเปิดอีก จนกว่าจะถึงพิธี เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชาย นำขันหมากไปถึง ฝ่ายหญิงต้อง ต้องหาเฒ่าแก่มารับขันหมากหมั้น ประกาศการหมั้นโดยเฒ่าแก่ฝ่ายชายอาจจะกล่าวว่า
            วันนี้เป็นวันดี ขอหมั้นนางสาว.... กับนาย.... เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะรับหมั้นและจะนำของหมั้นลงไปตรวจนับ โดยละเอียด และมอบสินสอดทองหมั้นทั้งหมดให้กับ ให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นผู้เก็บแล้วคืนขันให้ฝ่ายชาย อาจหมั้นตอนเช้า แต่งงานตอนกลางวัน หรือในตอนเย็นในวันเดียวกันก็ได้
            ตอนเช้ามีพิธีสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้ว ฝ่ายชายจะต้องแห่ขันหมากมาบ้านฝ่ายหญิง ขันหมาก มีผ้าคลุม ทั้งหมดแปดคู่ คู่แรกถือสินสอดทองหมั้น คู่ต่อมาถือโตกใส่เป็ดไก่ ซึ่งอาจใช้เป็ดไก่จริงหรือใช้แป้งปั้นเป็นเป็ดไก่แทนก็ได้ จากนั้นมีขนมต้มขาว ขนมต้มแดง หัวหมูต้ม ขนมจีน ทุกอย่างต้องจัดเป็นคู่ ผ้าไหว้คือผ้าขาวและผ้าแดง อย่างละผืน ให้ญาติฝ่ายชายถือมา อาจเป็นเด็กผู้หญิง พรหมจารี การยกขันหมากจะแห่กันมาอย่างสนุกสนาน นำขบวนด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย อย่างละคู่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการเริ่มครอบครัวใหม่ ให้มีกล้วยมีอ้อยปลูกไว้ประจำบ้านใหม่ หรือเรือนหอใหม่ ปิดท้ายขบวนด้วยถาดใส่ผลไม้ และขนมต่างๆ เช่นขนมกง ขนมโก๋ ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู มะพร้าวอ่อนเป็นลูก  กล้วยดิบ เป็นหวี อ้อยเป็นท่อน ทุกอย่างต้องเป็นคู่ ก่อนเคลื่อนขบวนต้องโห่สามครั้ง เมื่อถึงบ้ายฝ่ายหญิง ต้องโห่อีกครั้ง เพื่อบอกให้ทราบว่ามาถึงแล้ว เมื่อเจ้าบ่าวจะขึ้นบ้าน จะต้องก้าวข้าม หญ้าแพรกที่วางอยู่บนก้อนหิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความหนักแน่น และความเจริญงอกงาม จะต้องผ่านประตูเงินประตูทอง ที่สมมุติขึ้นโดยใช้เด็กหรือผู้ใหญ่ 2 คน ถือสร้อยหรือเข็มขัดกั้นไว้ การผ่านประตูต้องเสียเงินและสุรา ปัจจุบันฝ่ายชายจะเตรียมเงินไว้จ่าย โดยเฉพาะประตูทอง ผู้กั้นจะเรียกเงินค่าผ่านประตูทองสูงกว่าประตูเงิน จึงจะเข้าไปในบ้านได้ ฝ่ายชาย จะเปิดขันหมากต่อหน้าพ่อแม่ฝ่ายหญิง จะนำเงินและทองมานับ และอวยพรให้คู่บ่าวสาว ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข หลังจากนั้นทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือน บอกเล่าแก่ ผีปู่ย่าตายาย ว่าบ่าวสาวขออนุญาต แต่งงานและอยู่กินกัน โดยการจุดเทียน 6 คู่ ของไหว้ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่า ตายายได้แก่ ขนมจีน น้ำยา หัวหมู น้ำพริกดำ อาจเรียกว่า กินสี่ถ้วย เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ขนมนมเนยจะแบ่งกัน โดยแบ่งกันระหว่างบ้านเจ้าบ่าวและเจ้าสาวคนละครึ่ง
            ส่วนการหลั่งน้ำพระพุทธมนตร์ ประเพณีดั้งเดิมนั้น คู่บ่าวสาวจะแต่งตัวอย่างงดงาม จะรดน้ำทั้งตัว โดยทั้งหนุ่มสาวจะเปียกโชก ตั้งแต่ศีรษะ ถึงปลายเท้า ต่อมารดน้ำแค่ศีรษะ และพัฒนามารดน้ำเพียงแต่มืออย่างเดียว เดิมต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะหนุ่มสาวไม่รู้จักกันดีพอ ภายหลังไม่ต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะทั้งคู่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ส่วนการปูที่นอนหรือเรียงหมอน ผู้ปูต้องเลือกคู่สามีภรรยา ที่อยู่กันอย่างมีความสุข มีศีลธรรมและมีบุตร เมื่อไหว้เจ้าที่เจ้าทางแล้ว ผู้ใหญ่ที่ปูที่นอน อาจลงนอนเป็นพิธี เมื่ออวยพรเสร็จแล้ว ผุ้ใหญ่จะกลับกันหมด แล้วห้ามคู่สมรส ออกมาจากห้องหออีก ส่วนการกล่อมหอด้วยมโหรี ปัจจุบันไม่มีแล้ว
            การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร มีบางส่วนที่เหมือนเดิม บางส่วนที่แตกต่าง แต่ละท้องถิ่นจะมีประเพณีการแต่งงานที่แตกต่างกันไป แต่การแต่งงานที่กำแพงเพชรยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ ของกำแพงเพชรไว้ได้ เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน

คำสำคัญ : การแต่งงาน

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?topic=248.0

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=149&code_db=DB0003&code_type=P003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=149&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,350

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการบวงสรวง พระอิศวร ซึ่งมีตำนานพื้นบ้าน เล่าลือกันมาว่า พญาแถน เป็นเทพยดา มีหน้าที่บันดาลให้ฝนตกในเมืองมนุษย์ พญาแถนเกิดความไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้งตลอด 7 ปี 7 เดือน 7วัน ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองทนไม่ไหว จึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัยอยู่ พญาคางคกนั้นคือพระโพธิสัตว์ บรรดาผู้หนีการล่าของพญาแถน ตกลงทำสงครามกับพญาแถนพญาปลวก ก่อจอมปลวกไปถึงสวรรค์ พญามอดไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถนพญาผึ้ง ต่อ แตน ไปต่อยทหารพญาแถน พญาแถนกับเทวดาพ่ายแพ้

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 6,581

ลิเกป่า

ลิเกป่า

เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,101

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 22,870

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,523

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,175

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,587

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 935

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 26,707

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,945