ระบำชากังราว
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 1,757
[16.4264988, 99.2157188, ระบำชากังราว]
บทนำ
ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดง ในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่นงานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร การแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติในการจัดการแสดงเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ชมการแสดงและมีการประเมินความพึ่งพอใจ รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ เพื่อมาประเมินผลความถูกต้อง ความเหมาะสม ความสมบูรณ์ของรูปแบบการแสดงระบำ รวมถึงความถูกต้อง ด้านเนื้อหา ท่ารำ เพลง การแต่งกาย การแปรแถวและองค์ประกอบๆ ในการสร้างชุดการแสดงระบำชากังราว ได้ถ่ายทอดความรู้และวิธีการแสดงให้กับคณะครูในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและได้นำชุดการแสดงระบำชากังราวเป็นส่วนหนึ่งของหลังสูตรท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมอบหมายให้คณะครูนำการแสดงระบำชากังราวไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนนอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดระบำชากังราวให้กับเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชรอย่างต่อเนื่อง ระบำชากังราวได้จัดทำบันทึกวีดีทัศน์ท่ารำ และวิธีการสอนถ่ายทอดท่ารำ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการฝึกปฏิบัติและเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป
จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน
1. เพื่อให้เกิดการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัดกำแพงเพชร
2. เพื่อใช้การแสดงระบำชากังราวการแสดงในโอกาสต่างๆ
การดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน
1. การศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว”
2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย
2.2 ออกแบบท่ารำ
2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี
2.4 ออกแบบรูปแบบแถว
3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
4. การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร
สรุปผลการสร้างสรรค์ผลงาน
1. ผลของการศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2529-2531 สถาบันได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ไปเผยแพร่วัฒนธรรม ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อกำหนดให้แต่ละจังหวัดนำชุดการแสดงที่เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด การแสดงที่สื่อความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรในขณะนั้นมีการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำโทน ระบำ ก. ไก่ รำคล้องช้าง ได้นำไปแสดง ปรากฏว่าได้รับความพึงพอใจของผู้ชมระดับหนึ่ง
ดังนั้น ภาควิชานาฏศิลป์จึงได้ริเริ่มคิดประดิษฐ์ระบำชุดใหม่ขึ้น เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2535 โดยศึกษาข้อมูลการคิดประดิษฐ์ท่ารำ การตั้งชื่อชุดการแสดงการสร้างเครื่องแต่งกาย เพลงประกอบการแสดง จึงได้มาซึ่ง “ระบำชากังราว”
การพัฒนาชุดการแสดง “ระบำชากังราว” โดยระบำชากังราวได้พัฒนามาเป็นระยะ เช่น ด้านท่ารำได้ปรับเปลี่ยนท่ารำบางท่าให้ง่ายขึ้นเหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้รำ เพราะบางครั้งนักแสดงไม่ใช่นักศึกษาโปรแกรมนาฏศิลป์และการละครโดยตรง ด้านเครื่องแต่งกาย ปรับ- เปลี่ยนสีให้งดงามยิ่งขึ้นส่วนเครื่องประดับได้ศึกษาเพิ่มเติมและพัฒนาให้นักแสดงสวมเครื่องประดับให้งดงามยิ่งขึ้น
ชื่อชุดการแสดง ตั้งชื่อชุดการแสดงตามประวัติศาสตร์ของกำแพงเพชร เดิมชื่อว่าเมืองชากังราว และเปลี่ยนเรียกชื่อเป็นกำแพงเพชร ภายหลังเพราะฉะนั้นการตั้งชื่อชุดการแสดง จึงมีความจำเป็นในการที่จะบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุดการแสดงได้อย่างชัดเจน
2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว”
2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย แรงบันดาลใจในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ได้มาจากรูปเทวสตรีในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร และเครื่องแต่งกายระบำ ชากังราว ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาจารย์รุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ อาจารย์ผู้สอนประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 การออกแบบท่ารำ ได้นำภาษาท่าทางของนาฏศิลป์ไทยมาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำและได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ท่าปางลีลา ปางประทานพร ปางเปิดโลก นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำที่สวยงาม
2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี การบรรจุเพลงโดย ดร.ศิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในขณะนั้น ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ คือ อธิบดีกรมศิลปากร
เพลงระบำชากังราว
ท่อน 1
---- |
---ซฺ |
---ลฺ |
-ทฺ-ด |
-รดท |
-ด-- |
รดลด |
-ร-ม- |
---- |
---- |
-ร-ม |
-ฟ-ซ |
-ลซฟ |
-ซ-- |
ลซลรํ |
-ดํ-ล |
--ดํดํ |
รํดํลดํ |
--ลล |
ดํลซล |
--ซซ |
ลซมซ |
--มม |
ซมรม |
---ซ |
---ดํ |
-ท-ล |
-ซ-ม |
--ซฺลฺ |
ดรมซ |
มรดร |
มซ-ด |
ท่อน 2
ซซซซ |
(ซซซซ) |
ดดดด |
(ดดดด) |
ดํดํดํดํ |
(ดํดํดํดํ) |
ทลซล |
ทดํรํมํ |
---ดํ |
---ล |
---ซ |
---ม |
---ร |
---ม |
ลซมซ |
ลซดํล |
--ดํดํ |
รํดํลดํ |
--ลล |
ดํลซล |
--ซซ |
ลซมซ |
--มม |
ซมรม |
---ซ |
---ดํ |
-ท-ล |
-ซ-ม |
--ซฺลฺ |
ดรมซ |
มรดร |
มซ-ด |
ชั้นเดียว/ท่อน 1
-ดดด |
-ซฺ-ด |
รดซฺด |
-ร-ม |
--รม |
ฟซฟซ |
ลซลรํ |
-ดํ-ล |
--ดํดํ |
รํดํลดํ |
--ลล |
ดํลซล |
--ซซ |
ลซมซ |
--มม |
ซมรม |
ท่อน 2
-ดดด |
-ซ-ดํ |
รํดํซด |
-รํ-มํ |
--ดํล |
ซมซม |
--รม |
ซลซล |
--มํรํ |
ดํลํดํลํ |
--ดํล |
ซมซม |
--ซฺลฺ |
ดรมซ |
มรดร |
มซ-ด |
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุด “ระบำชากังราว” ใช้วงปี่พาทย์
2.4 การแปรแถว การแปรรูปแบบแถวในการแสดงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการแสดงระบำทุกชุดการแสดง ระบำชากังราวมีรูปแบบการแปรแถว โดยรวม 24 รูปแบบ อาทิ แถววีคว่ำ แถวตอน แถวตั้งซุ้ม แถวครึ่งวงกลม แถววงกลม แถวเฉียง ฯลฯ
3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
การดำเนินการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นการจัดรูปแบบการแสดงให้เกิดมาตรฐานนาฏศิลป์และเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์มาวิพากษ์ ประกอบด้วย
1. รศ.ฉันทนา เอี่ยมสกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. รศ.นิสา เมสานนท์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
3. รศ.อมรา กล่ำเจริญ ข้าราชการบำนาญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร
การเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”
ระดับประเทศ
- เผยแพร่โดยเป็นตัวแทนกาชาดจังหวัดภาคเหนือ รำหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2537
- เผยแพร่การแสดงในจังหวัดกำแพงเพชรในโอกาสงานเทศกาลต่างๆ
- เผยแพร่การแสดงในต่างจังหวัดตามโอกาสงานต่างๆ
- การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวของจังหวัดและในโอกาสงานประเพณีต่างๆ
- เผยแพร่ในการแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา
- เผยแพร่การแสดงในสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและระดับประเทศ
ระดับต่างประเทศ
- ปี พ.ศ. 2557 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซีย
- ปี พ.ศ. 2556 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศเวียดนาม
- ปี พ.ศ. 2554 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ปี พ.ศ. 2553 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน ประเทศตุรกี และประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี พ.ศ. 2550 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกี
- ปี พ.ศ. 2548-2549 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี พ.ศ. 2547 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์
- ปี พ.ศ. 2546 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก
- ปี พ.ศ. 2545 เผยแพร่งานวัฒนธรรม ททท. ณ ประเทศกรีซ
ผลของการสร้างสรรค์
เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยยึดหลักรูปแบบโครงสร้างของระบำ คือ มีจำนวนคนรำมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีการแปรแถวที่สวยงาม มีท่ารำ เพลง ดนตรี เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร
ข้อเสนอแนะ
ในการนำการแสดงชุดนี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ สามารถปรับ เพิ่มจำนวนคนได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ในการแสดง และควรแต่งกายให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และควรมีการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้น เป็นการเพิ่มและพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ให้มีความหลากหลายและยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของนาฏศิลปินอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ระบำชากังราว นาฏศิลป์ กำแพงเพชร
ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำชากังราว
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำชากังราว. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2125&code_db=610004&code_type=01
Google search
เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,734
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 10,290
เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 22,322
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,897
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,986
รําแม่ศรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกการรํา ที่ได้นําการละเล่นการเข้าทรงในสมัยโบราณมาประยุกต์ให้เข้ากับศิลปะการรําของภาคกลางของชาวบ้านปากคลองสวนหมากหรือในปัจจุบันคือนครชุม โดยเป็นการเข้าทรงแม่ศรี หลักเมือง ตํานานกล่าวกันว่าที่เวียงจันทน์มีสตรีนามว่าสีได้ตั้งครรภ์ท้องแก่ได้ยอมสละชีวิตตัวเองลงไปฝังอยู่กับเสาหลักเมืองเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องคุ้มครองลูกหลาน คนสมัยก่อนจึงมีความเชื่อเรื่องการเข้าทรง เพื่อให้แม่ศรีหลักเมืองอยู่คุ้มครองลูกหลาน
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 25
ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 722
ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,757
พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้น เรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่าน ร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูง มาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จําเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรม เข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 32
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเซิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถ ปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 25