กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 5,718

[16.2844429, 98.9325649, กะเหรี่ยง (KAREN)]

        นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2526 พบว่ามีอยู่ราว 246,000 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นพวกโปวเสียร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นพวกสะกอทั้งสองพวกตั้งอยู่หมู่บ้านกระจายกันอยู่ในภาคเหนือตั้งแต่เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน และเรื่อยลงมาตามชายแดนตะวันตก รวม 15 จังหวัดลงไปจนถึงคอคอดกระ พวกโปวมักอยู่ทางใต้ของเชียงใหม่พบมากที่สุด ตากและกาญจนบุรี

        ประวัติการแบ่งเผ่า
        ชาวเขาในประเทศ ไทยแบ่งออกเป็นเผ่าใหญ่ๆ คือ กะเหรี่ยง แม้ว มูเซอ เย้า ลีซอ แลอีก้อ เผ่ากะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุดกระจายตัวอยู่แทบทุกจังหวัดที่มีชาวเขามีประชากรมากที่สุด มากกว่าครึ่ง หนึ่งของชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย จากข้อมูลการ สำรวจประชากรชาวเขาของศูนย์พัฒนาชาวเขาประจำจังหวัดต่างๆ พบว่า มีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ทั้งในภาคเหนือตอนบนลงไปกระทั่งถึงภาคกลางรวมทั้งสิ้น 15 จังหวัด เรียงจากมากไปหาน้อยคือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน กาญจนบุรี แพร่ ราชบุรี เชียงราย ลำปาง เพชรบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร ประจวบคีรีขันธ์ และสุโขทัย สิ่งจำเป็นที่สุดในการเริ่มต้นทำงานกับชาวกะเหรี่ยงก็คือ นักพัฒนาจะต้องเข้าใจซึ้งว่า "ชาวกะเหรี่ยงก็คือคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนเท่าเทียมกับผู้คนทุกเผ่าพันธ์" ชาวกะเหรี่ยง ทุกเผ่ามีนิสัยใจคออ่อนน้อม อ่อนโยน เป็นคนที่ชอบความสุภาพ นุ่มนวลการ แสดงออกใดๆ ก็ตามที่ไม่พอใจ ไม่ถูกใจจะต้องเก็บไว้ในใจในลักษณะ "น้ำขุ่นอยู่ข้างใน น้ำใสอยู่ข้างนอก"

        การแบ่งเผ่า
        ในระหว่างชาวกะเหรี่ยงด้วยกันได้แบ่งพวกตนออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ สะกอ โป และบเว(คะยา) ส่วนตองสู กะเหรี่ยงสะกอ มีประชากรมากที่สุดโดยจะพบเห็นทั่วๆไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือตอนบน รองลงไปคือ กะเหรี่ยงโป ส่วนกะเหรี่ยง บเว นั้นมีอยู่ไม่กีหมู่บ้านที่อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ว่ากันว่าการที่จะรู้ว่าเป็นกะเหรี่ยงเผ่าไหน สามารถจำแนกได้ง่ายๆ โดยฟังประโยคที่ทักทายตามวัฒนธรรมว่า "ไปไหนมา" กะเหรี่ยงสะกอ ใช้คำว่า "แล - ซู - ล่อ" หรือ "แล - เหลาะในบางพื้นที่กะเหรี่ยงโป ใช้คำว่า "ลี - คอ -แล่ " นั่นคือคำว่า "ไป"ในภาษาไทย หากเป็นภาษากะเหรี่ยงสะกอใช้คำว่า "แล" และหากเป็นกะเหรี่ยงโปจะใช้คำว่า "ลี " หรือหากแยกประเภทกันตามประสาชาวบ้านในพื้นที่ที่มีชาวเขาจะแยกกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป ไปอีกแบบหนึ่งเช่นมักจะเรียกกะเหรี่ยงสะกอว่า "ยางกะเลอ" และเรียกกะเหรี่ยงโปว่า"ยางเด้าะแด้ะ แต่ในแถบถิ่นอื่นๆ อาจเรียกไปอีกแบบหนึ่ง

        ประเพณี
        ด้วยความเชื่อต่อผีและวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรมเลี้ยงผี หมายถึงการต้มเหล้า ฆ่าไก่ - แกง เอาส่วนหนึ่งของเหล้าและแกงไก่มาทำพิธีกรรม และมัดมือทุกคน ผู้ร่วมพิธีนั้นด้วยฝ้ายดิบ ประเพณีที่สำคัญที่สุดคือ
        1. ประเพณีปีใหม่ ซึ่งมีขึ้นใน ราวเดือนกุมภาพันธ์โดยหัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณีจะระบุวันให้ทราบล่วงหน้า แต่ละปีไม่ตรงกันและแต่ละหมู่บ้านก็อาจมีวันปีใหม่ไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตรนั่นเอง หลังจากพิธีปีใหม่ผ่านพ้นคือการเริ่มต้น ฟัน - ไร่ข้าวบนภูเขา พิธีปีใหม่ทุกหลังคาเรือนจะหมักเหล้าต้มเหล้าจากข้าวสุก ฆ่าไก่หรือหมู แกงเป็นอาหารและเตรียมฝ้ายดิบไว้ผูกข้อมือทุกคน หัวหน้าหมู่ บ้านตามประเพณีจะเริ่มทำพิธีในบ้านของตนเป็นหลังแรกแล้วจึงจะไปทำพิธีในทุก หลังในหมู่บ้าน ซึ่งกว่าจะครบครันอาจกินเวลาถึง 3 วัน 3 คืน พิธีคือการริน เหล้าและนำเนื้อไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณ จากนั้นมีการ ดื่มเหล้าตามประเพณีแล้วจึงมีการมัดข้อมือด้วยฝ้ายดิบพร้อมกับคาถาอวยพรให้ อยู่เย็นเป็นสุข
        2. ประเพณีแต่งงาน คือความหวังที่รอคอยของหนุ่มสาว เจ้าบ่าวอาจมาจากหมู่บ้านอื่นมาแต่งงานและอยู่กับเจ้าสาวในบ้านและในหมู่บ้านของฝ่ายหญิง (เจ้าสาว) มาแต่ตัว สวมเสื้อผ้าเก่าๆ เป็นหน้าที่ของเจ้าสาวที่จะต้องทอเสื้อแดงและจัดหากางเกงพร้อมทั้งผ้าโพกหัวกับย่ามไว้ให้เจ้าบ่าวของเธอ ทั้งเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก หากมีฐานะดีก็อาจฆ่าวัวสักตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ ค่ำคืนในวันแต่งงานจึงมีแต่เสียงเพลงอวยพรจากวงเหล้าและวงอาหารแต่ไม่มีการเมาเกินเหตุ เหล้าและอาหาร มิใช่มีเพียงบ้านเจ้าสาวเท่านั้นแต่มีที่บ้านญาติพี่น้องจองเจ้าสาวทุกหลัง บางทีมีทั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่สนุกประทับใจและเป็นไปตามจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

        การแต่งกาย
        เพราะถือสาในเรื่องชู้สาว การไปไหนต่อไหนเป็นข้อห้ามและการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นความผิด จึงมีการแต่งกายของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่แยกแยะชัดเจนคือ สาวโสดจะสวมชุดทรงกระสอบสีขาว ยาวเกือบกรอมเท้า ทอเองด้วยมือโดยเครื่องทอแบบง่ายๆ ตามประเพณี หญิงแต่งงานแล้วสวมเสื้อครึ่ง ตัวแค่เอวสีดำ ประดับประดาด้วยลูกเดือยหรือฝ้ายสีและ สวมผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าสีแดง ผู้ชายสวมเสื้อสีแดงและสวมกางเกงแบบคนไทยภาคเหนือซึ่งเรียกว่า "เตี่ยวสะดอ"

คำสำคัญ : กะเหรี่ยง

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กะเหรี่ยง (KAREN). สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1443&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1443&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 804

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,529

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,334

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 8,028

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 14,747

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,254

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 31,851

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,335

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,905

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,054