ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,722
[16.2851021, 98.9325625, ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง]
ปีใหม่เผ่าม้งคลองลานจัดงานประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง วันที่ 1 ม.ค. ของทุกปีชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริง ที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่งนายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า ประเพณีขึ้นปีใหม่หรือประเพณีฉลองปีใหม่ของชาวม้งคลองลาน เป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุก ๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม สำหรับ ชาวเขาเผ่าม้ง ทั้งชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ จะต้องแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า ซึ่งต้องเป็นชุดที่ตัดเย็บใหม่ มีการตบแต่งประดับประดาด้วยเครื่องเงิน ที่ทำขึ้นมาจากฝีมือของชาวเขาเอง โดยมีลวดลายจากการคิดและประดิษฐ์โดยช่างที่มีความชำนาญในด้านนี้ นอกจากนั้นยังมีเหรียญเงิน จากเงินตราสกุลต่าง ๆ ที่หาซื้อแลกเปลี่ยนหรือเก็บไว้ นำมาประดับตามเสื้อผ้าที่จะสวมใส่
ส่วนกิจกรรมการละเล่นที่บรรดาหนุ่มสาวนิยมเล่นกัน ในเทศกาลปีใหม่ คือการโยนลูกช่วง ซึ่งเป็นการละเล่นที่หนุ่มสาวชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งหน้าตั้งตารอคอยมาหนึ่งปีเต็ม เพราะช่วงเวลานี้หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้เลือกคนที่ถูกใจ ในการที่จะจับคู่โยนลูกช่วงด้วยกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกชายหนุ่มที่พอใจ จากนั้นจะนำลูกช่วงไปให้ เพื่อชวนไปโยนลูกช่วงด้วยกัน ส่วนพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ก็จะมานั่งดูลูกหลานของตนโยนลูกช่วงกัน ซึ่งหนุ่มสาวบางรายในระหว่างที่โยนลูกช่วง ถ้าเกิดพอใจซึ่งกันและกัน หรือรักกัน ก็จะแต่งงานภายหลังสิ้นเทศกาลปีใหม่
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=DB0008&code_type=A001
คำสำคัญ : ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง
ที่มา : https://www.facebook.com/ChattraPhetchara/posts/349205031929414
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=156&code_db=610004&code_type=05
Google search
ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 14,600
การละเล่นนางกวักถือเป็นการละเล่นที่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ปัจจุบันการละเล่นนางกวักได้ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลาวครั่งในพื้นที่ต่าง ๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนแต่อาจมีรูปแบบการละเล่น ที่มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทั้งนี้จากการ สํารวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าบ้านตําบลคลองลาน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดการละเล่นนางด้งและนางกวักมาอย่างยาวนานตามรูปแบบดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามบทเพลงประกอบการละเล่นนางกวักของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชรที่สืบทอดต่อกันมาในลักษณะปากเปล่า มิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทําให้ไม่สามารถสืบทราบได้ว่ามีที่มาอย่างไร หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม การละเล่นนางกวักนี้ เพียงแต่ทราบว่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 213
นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,641
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,413
วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 129
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,722
ภาพสวยงามในอดีตที่ยังคงตรึงอยู่ในหัวใจม้งทุกคน นั่นคือชุดม้งที่ยายชราสวมใส่อยู่ เป็นชุดม้งที่ม้งทุกคนต้องสวมใส่ตลอด แต่ปัจจุบันภาพสวย ๆ งาม ๆ เหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากสังคมม้ง ส่วนใหญ่จะพบภาพที่สวยในแบบฉบับปัจจุบันนี้ คือ ภาพสองตายาย แต่งชุดทันสมัยใหม่ แม้ว่าจะเป็นชุดลำลองอยู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อสวมใส่แล้วรู้สึกสบายมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในเวลาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ม้งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้มานุ่งเสื้อผ้าสมัยใหม่ เนื่องจากเสื้อผ้าชุดม้งนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมากกว่า และต้องนำมาตัดเย็บเป็นชุดใหม่ กว่าที่จะตัดเย็บเรียบร้อยใช้เวลานาน และเสื้อผ้าม้งนั้นมีความหนามาก ดังนั้นเวลาสวมใส่หน้าร้อนจะยิ่งเพิ่มความร้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวเอง และอีกเหตุผลหนึ่ง คือเวลาเข้าสังคมกับคนอื่นแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นม้งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 713
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,374
ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,183
ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 8,124