แกงหยวก

แกงหยวก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 2,496

[16.4258401, 99.2157273, แกงหยวก]

        อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
        หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น 

เครื่องปรุง
          - พริกแห้ง
          - ข่า
          - ตะไคร้
          - กระชาย
          - หอมแดง
          - กระเทียม
          - กะปิ
          - น้ำมะขามเปียก
          - น้ำเปล่า
          - เกลือ
          - ใบชะพูลหรือชะอม 

เตรียมเครื่องปรุง
        1. เอาน้ำใส่กะละมัง ใส่เกลือ มะขามเปียก (ใส่น้ำมะขามเปียกเล็กน้อยเพื่อไม่ให้หยวกดำ) ละลายเข้ากัน เสร็จแล้วหั่นหยวกชิ้นบาง ๆ หรือหนาพอสมควรแช่น้ำไว้
        2. โขลกพริกและเครื่องแกงให้ละเอียด
        3. ถั่วเหลืองต้มบดละเอียด
        4. นำปลาย่าง ถั่วเหลือง โขลกในเครื่องพริกแกง 

วิธีทำ
        1. แบ่งหัวกะทิใส่กระทะเคี่ยวให้แตกมัน ใส่พริกแกงที่โขลกแล้วลงผัดให้เข้ากัน
        2. นำกะทิส่วนที่เหลือตั้งไฟให้เดือด แล้วจึงใส่พริกแกงที่ผัดไว้พร้อมหยวก ปรุงรสด้วยน้ำเปล่า น้ำมะขามเปียก ถ้าขอบรสหวานเติมน้ำตาลเล็กน้อย ชิมรสให้กลมกล่อม
        3. ใส่ใบชะพูลหั่นฝอยหรือชะอม คนให้ทั่ว ยกหม้อลงหรือปิดไฟทันที เพื่อให้ใบชะพูลหรือชะอมมีสีเขียวสวยไม่เละ

คำสำคัญ : แกงหยวก

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แกงหยวก. สืบค้น 22 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1399&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1399&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง ขนมไทยยอดนิยมอีกหนึ่งประเภท ซึ่งยังหาทานได้ไม่ยากนัก ขนมฟักทอง เป็นการนำฟักทองมาทำขนม โดยนวดผสมกับ แป้ง กะทิ และน้ำตาล และนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดขาว มีความเหนียว นุ่ม หวานหอม คนชอบทานฟักทองน่าจะชอบขนมไทยชนิดนี้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 5,135

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง 3 อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 13,924

ขนมด้วง

ขนมด้วง

ขนมด้วง ขนมสีสันสดใส น่ารับประทาน ความพิถีพิถันอยู่ที่ต้องผสมแป้งนวดกับน้ำลอยดอกไม้ ทำให้ขนมที่ได้ออกมามีกลิ่นหอม โดยนำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำครึ่งถ้วยตวง นำแป้งข้าวเจ้าลงกวนให้สุก เสร็จแล้วนำออกมานวดกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วแบ่งเป็นลักษณะท่อนยาว และนำมาใส่พิมพ์ทำตัวขนมด้วง นำไปนึ่งประมาณ 10 นาที ให้สุกดี แล้วยกลงแช่ในน้ำเย็นเพื่อให้ตัวด้วงแยกออกจากกัน เคี่ยวกะทิในระดับปานกลางจนเดือดและใส่เกลือ พร้อมยกลงพัก ใส่ตัวด้วงลงในกะทิที่พักไว้และใช้เทียนอบ ปิดฝาหม้อไว้เพื่อเพิ่มความหอมของขนมตัวด้วง นำน้ำตาลทรายผสมกับงาคั่วโรยหน้าขนมด้วงพร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 10,962

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,337

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หาง่าย และมีอยู่มากมายในประเทศไทย ทุกภาคและทุกจังหวัดล้วนมีกล้วยอยู่แทบทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันว่ากล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ ใบ ลำต้น และผล นอกจากนี้กล้วยมักจะเหลือจากที่รับประทานกันมาก ก็เลยมีการแปรรูปกล้วยหลายอย่าง เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยแขกทอด เป็นต้น

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 10,327

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น

ข้าวแตน หรือ นางเล็ดเป็นอาหารว่างที่คนในชุมชนรู้จักกันดี อุปกรณ์ ได้แก่ กระด้ง ตะแกรง กะละมัง เตาไฟ หวดไม้ ที่พิมพ์รูปวงกลม กระทะ เตาอบ ถุง และผ้าขาวบาง เครื่องปรุงประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วปั้นเป็นแผ่น เดิมนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ และปัจจุบันนิยมปั้นเป็นแผ่นขนาดพอคำ แล้วจึงนำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาทอดจนกรอบ เคี่ยวน้ำตาลน้ำอ้อยให้เหนียวแล้วราดบนแผ่นนางเล็ด บางบ้านโรยหน้าด้วยเมล็ดทานตะวัน งาดำ หรือเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มรสชาติกรอบ หอม หวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,183

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,496

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,070

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

“แกงขี้เหล็กปลาย่าง” อาหารไทยโบราณ ที่มีสรรพคุณตอบสนองปัญหาสุขภาพในสังคมยุคใหม่ ด้วยขี้เหล็กเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้คนท้องผูกถ่ายคล่องขึ้น และมีสารช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้นอนหลับสบายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารเบต้า-แคโรทีนเป็นสารที่ร่างกายจะนำไปใช้สร้างเป็นวิตามินเอซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสายตา โดยการดูดซึมวิตามินเอจะมีประสิทธิภาพเมื่อทานร่วมกับไขมันที่อยู่ในกะทินั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,692

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,332