ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้ชม 4,807

[16.4258401, 99.2157288, ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง]

       ในสมัยแผ่นดิน พระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงสุโขทัย เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก มีการประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกหัวระแหง จากศิลาจาลึกนครชุมที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ทราบว่าได้มีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ ในองค์เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมทั้งได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้          
       งานประเพณีนบพระ เล่นเพลง เป็นงานประจำปีของจังหวัดกำแพงเพชร โดยจะจัดขึ้นในวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เพื่อเป็นการฟื้นฟูและเผยแพร่งานประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากสุโขทัย โดยจังหวัดกำแพงเพชรได้ฟื้นฟูประ เพณีนบพระเล่นเพลงขึ้นในปี พ.ศ.2526 ด้วยการจัดขบวนแห่พยุหยาตราจำลองไปนบพระ และเวียนเทียนพระบรม ธาตุเจดีย์ และได้มีการแสดงการละเล่น เล่นเพลงกันเป็นที่เอิกเกริก รวมทั้งจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงถึงประวัติความเป็นมา ของการตั้งบ้านแปลงเมือง นอกจากนี้ยังได้มีการแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมไทย และมีการออกร้านแสดงสินค้าหัตถกรรม ท้องถิ่นของส่วนราชการและเอกชน การออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัดประจำปี การแสดงแสงสีเสียง ชมขบวนแห่นมัสการ พระบรมธาตุเจดีย์
       จัดขึ้นในระหว่างวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการฟื้นฟูงานประเพณีดั้งเดิมตามหลักฐานในศิลาจารึกเมืองพระชุม หรือเมืองนครชุม ที่กล่าวถึงการจัดขบวนแห่ไปนบพระมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ขบวนจะข้ามแม่น้ำปิงไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่ฝั่งนครชุม มีการแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมไทย และการออกร้านของส่วนราชการและเอกชน ตั้งแต่สมัยโบราณ บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ หลายเมือง เช่น เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองพาน ต่อมาในภายหลังเมืองต่างๆ ได้ล่มสลายไปตามความเปลี่ยนแปลงของระบบการปกครองและกาลเวลาจนกระทั่งเหลือแต่เมืองชากังราวและกลายเป็นจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงสุโขทัย เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก มีการประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกหัวระแหง จากศิลาจาลึกนครชุมที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ทราบว่าได้มีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมทั้งได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นประเพณีของชาวไทยสมัยโบราณ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินก็จะนำผู้ครองนครเจ้าเมืองน้อยใหญ่ พร้อมทั้งเหล่าไพร่ฟ้าข้าราชบริพารและประชาชน จัดตกแต่งขบวนเป็นพยุหยาตรา พากันไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ เป็นประจำ เรียกสั้นๆ ว่าพากันไป “นบพระ” และเนื่องจากการเดินทางติดต่อคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องเดินทางด้วยเท้า พาหนะก็มีแต่ช้าง ม้า วัว ควาย และเกวียนเท่านั้น กว่าจะเดินทางไปถึงและนมัสการพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยก็มืดค่ำ จึงจำเป็นต้องค้างพักแรมกันในบริเวณวัดต่อจนรุ่งเช้าของอีกวันหนึ่งจะได้กลับ เป็นธรรมดาของชาวไทยทั่วไป ซึ่งมีอารมณ์ศิลปินประจำใจ เมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากต่างท้องถิ่นกันด้วย จึงจัดการแสดงการละเล่นต่างๆ ประกวดประชันแข่งขันกันตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละหมู่บ้านเรียกกันว่า “เล่นเพลง


คำสำคัญ : นบพระ-เล่นเพลง

ที่มา : http://www.finearts.go.th/kamphaengphetmuseum/ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวประชาสัมพันธ์/item/ความเป็นมางานนบพระ - เล่นเพลง - ประจำปี 2554

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=132&code_db=DB0001&code_type=0022

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=132&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,210

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 8,573

พิธีโกนจุก

พิธีโกนจุก

ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น  

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,673

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,704

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,714

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 26,707

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 22,870

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,872

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,175

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,830