หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้ชม 2,483

[16.4264988, 99.2157188, หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร]

          จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ ….
          จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอนอาทิ….พระเจ้าพรหม เป็นวีรบุรุษ เป็นศูนย์กลางของพวกเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในตระกูลไทย-ลาว เป็นผู้นำขับไล่พวกขอมดำสำเร็จ ในตำนานสิงหนวติกุมาร บอกว่าพรหมกุมารกำจัดพญาขอมดำและพวกขอมบริวารทั้งหลาย หนีลงไปทางทิศใต้ พรหมกุมารตามพิฆาตเข่นฆ่า จนร้อนถึงพระอินทร์ต้องเนรมิตกำแพงหินกั้นกางขวางหน้าไว้ เพื่อช่วยชีวิตพวกขอมดำมิให้สูญเผ่าพันธุ์ กำแพงขวางกั้นกลายเป็นกำแพงเพชร ในกาลต่อมา พระเจ้าชัยสิริ โอรสพระเจ้าพรหม หนีพระยาสุธรรมวดี มาเดือนหนึ่งถึงแนวกำแพงที่พระอินทร์เนรมิต จึงประกาศสร้างเมืองกำแพงเพชร ณที่นั้น….
           หลักฐานมาปรากฏชัดเจน เป็นที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งสุโขทัยเสด็จมาเมืองนครชุมในปีพ.ศ. 1900 โดยมีหลักฐานจากจารึกนครชุม (จารึกหลักที่ 3) ว่า พระยาลือไทยราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย …..จึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชิราช หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ปีนั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์คือพระธาตุแท้จริงแล เอาลุกแก่ลังกาทวีปพู้นมาดาย เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล…….
           ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นได้เสด็จมากำแพงเพชรหลายครั้งดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร
            ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2088 สมเด็จพระชัยราชาธิราช ยกกองทัพไปเชียงใหม่ ประทับพักทัพหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร ถึงหนึ่งเดือน ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปทัพเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้าและยกพลตั้งทัพชัยตำบลบางพาน (เมืองเก่าในอำเภอพรานกระต่าย) ทัพหลวงประทับแรมที่เมืองกำแพงเพชร 1 เดือน
            ครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชร ได้ช้าง 40 เชือก
            ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบกับพระเจ้ากรุงอังวะจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๗) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่ในวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย และโหรทำนายว่าห้ามยาตรา และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว จึงเสด็จพยุหยาตราไป ครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชรในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
           ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จเมืองกำแพงเพชร และประทับที่เมืองกำแพงเพชร 15 วัน
          ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการ (พระเจ้ากรุงธนบุรี) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่มิทันได้มาครองเมือง ไปช่วยราชการที่กรุงศรีอยุธยาก่อน
          ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ ยกกองทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร
          ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2318 พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งเป็นพระยาจักรี ยกกองทัพมาตั้งที่เมืองกำแพงเพชร เกิดตำนานสมเด็จพุฒาจารย์(โต)
          ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2448 ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 2 ราตรี
          ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2449 ทรงนำความเจริญและความสงบสุขมาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ทรงถ่ายภาพเมืองกำแพงเพชร ไว้จำนวนมาก และบันทึกการเดินทางประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้อย่างละเอียด
          ครั้งที่ 10 พ.ศ.2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในวันที่ 15 มกราคม 2450 ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 1 ราตรี พระบรมโอรสามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเมืองกำแพงเพชรสองคราว มีการจารึกเล่าเรื่องราวการเสด็จประพาสไว้ในศิลาแผ่นหนึ่ง ความว่า… ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ 2448 พรรษา จุลศักราช 1267 ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก 124 เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม7ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 16 มกราคม เสด็จประพาสทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก ประทับแรมอยู่สองราตรี ตั้งพลับพลานอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร ที่วัดชีนางเการิมน้ำปิงฝั่งเหนือ ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ 2450 พรรษาจุลศักราช 1269 ศกมะแม รัตนโกสินทรศก 126 เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาพระองค์นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันพุธเดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 15 มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 ประทับแรมอยู่ 3 ราตรี ที่พลับพลาเดิม
           ทั้งหมดคือในอดีตที่พระมหากษัตริย์เสด็จเมืองกำแพงเพชร ประวัติศาสตร์และพระราชพงศาวดารได้บันทึกเรื่องราวไว้
แม้ในกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยทั้งชาติ เสด็จไปเยี่ยมพสกนิกร ทั่วทั้งประเทศไม่มีสถานที่ใดในประเทศไทยที่พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จไปเยี่ยม นำความผาสุกร่มเย็นมาสู่คนไทยทั้งชาติทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ล้ำเลิศด้วยทศพิธราชธรรม เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยประชาราษฏรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าท้องถิ่นนั้นจะทุรกันดารเพียงใด เสด็จไปทุกหนแห่ง ทำให้เกิดโครงการพระราชดำรินับร้อยนับพันโครงการ ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ใดในโลกเสมอเหมือน
           ตลอดระยะเวลา หกสิบปีที่เถลิงถวัลยราชสมบัติ ระยะแปดสิบปีที่ปกครองดูแลพระบารมีแผ่ไพศาลทรง ทรงมีพระราชอุตสาหะอันแรงกล้าที่จะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎรของพระองค์ที่อยู่ใต้ร่มฟ้าพระบารมีทั้งทางตรงและทางอ้อม พระบารมีที่ปกเกล้าปกกระหม่อมประจักษ์จิตชัดเจนทุกก้าวย่างจารจารึกในจิตใจประชนของพระองค์ไม่รู้ลืม
           โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดกำแพงเพชรของเรา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จมาเยือนถึงสามครั้ง แต่ละครั้งนำความปลื้มปิติ และสิ่งที่ดีมีมงคลมามอบให้ชาวกำแพงเพชรเสมอ ทุกรอยละอองธุลีพระบาทที่ทรงยาตรย่ำลง ณ สถานที่ใด ชาวกำแพงเพชรยังจดจำอยู่มิรู้คลาย ภาพต่างๆ ได้ประทับในดวงจิตชาวประชากำแพงเพชรมิลืมเลือน
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชรครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ . 2510 ถึงกำแพงเพชรเวลา 10.30 น. เพื่อบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อพ.ศ. 2126 ทรงกรีธาทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร ประทับที่วัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันคือวัดกะโลทัย วันรุ่งขึ้นพักทัพชัยที่ตำบลหนองปลิงสามเพลา)วันที่ 25 มกราคม ด้วยเหตุผลที่ว่า วันนี้เมื่อ พ.ศ.2135 ตรงกับวันจันทร์ แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำการยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถ ความกล้าหาญเด็ดขาด และการเป็นผู้นำทัพที่อัจฉริยะ จนเป็นที่ยำเกรงแก่หมู่ปัจจามิตร เป็นผลให้ประเทศไทยคงคืนความเป็นเอกราชสืบมาจนทุกวันนี้(วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
           นายร้อยตำรวจโทปิ่น สหัสโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เข้าเฝ้าถวายบังคมทูลอัญเชิญล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จกระทำบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร และเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ บรรดาราษฎรพากันตั้งโต๊ะหมู่บูชาสองข้างทาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงรับศีลก่อนทำพิธีบวงสรวง เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ จึงทรงบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร แล้วเสด็จทอดพระเนตรผังเมืองเก่าและโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรจัดให้ทอดพระเนตร จากนั้นเสด็จมายังศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.30 น. จึงเสด็จออกมาปลูกต้นสัก ณ บริเวณ หน้าศาลากลางจังหวัด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นด้านขวา และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงปลูกต้นด้านซ้าย ของศาลากลาง แล้วจึงเสด็จเยี่ยมราษฎรของพระองค์ เสด็จกลับด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เพื่อเสด็จสู่จังหวัดพิษณุโลกและประทับเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จนิวัติพระนคร
            ปัจจุบันต้นสักที่ทรงปลูก จังหวัดกำแพงเพชร ได้นำภาพถ่ายที่ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกมาขยายใหญ่ มาตั้งไว้ ณ ที่ นั้น นับว่าเป็นการทำที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่ง และการได้ขยายพันธุ์สักพระราชทาน ไปปลูกทั่วทั้งจังหวัดกำแพงเพชร แสดงถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สมควรได้รับการยกย่อง
            ครั้งที่สอง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) เป็นเจ้าอาวาส
            ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถซึ่งกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เป็นเงินหก
หมื่นบาท ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ ส. ก.มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ. 2523 และพระราชทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 9 นิ้ว ว่าพระพุทธวชิรปราการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 มีราษฎรมาเข้าเฝ้ารับเสด็จจำนวนมาก ทั้งสามพระองค์ ทรงเกษมสำราญพระราชหฤทัย ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรอย่างใกล้ชิดนำความสุขมาสู่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า พระองค์ เสด็จนิวัติพระนครในวันเดียวกัน
            เหตุผลสำคัญที่สร้างอุโบสถใหม่เพราะอุโบสถหลังเก่ากว้าง 8เมตร ยาว 22 เมตร สภาพทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก จนมิอาจที่จะบูรณะให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ในราวพ.ศ. 2517 ทางวัดคูยางมีมติให้รื้อหลังเก่าเพื่อสร้างหลังใหม่ ระยะแรกมิได้ตอกเสาเข็มรวมทั้งทางวัดต้องการขยายอุโบสถหลังใหม่ให้มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 32 เมตรจึงได้แก้ไขใหม่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2521 เป็นต้นมา โดยมีพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) เจ้าอาวาสวัดคูยางเป็นประธาน โดยได้ใช้ปัจจัยจำนวน 60,000 บาท ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงถวายไว้ในคราวถวายผ้าพระกฐินต้น ที่วัดคูยาง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 เป็นทุนเริ่มต้น โดยทางวัดคูยาง ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ผู้บริจาคทรัพย์สมทบโดยใช้คำว่าโดยเสด็จพระราชกุศล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอนุโมทนา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2524
            ครั้งที่สาม เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน ของอำเภอต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 117 รุ่น ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านแล้วทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ต่อลูกเสือชาวบ้านและพสกนิกรที่มารับเสด็จ เมื่อเสร็จสิ้น
             พิธีการทรงเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมเยียนราษฎรที่เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ในบริเวณนั้น จำนวนมากมาย ในขณะนั้น ประชาชน บ้านกิโลสอง บ้านกิโลสาม และบ้านกิโลหก และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้กราบทูลขอพระราชทาน ให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้เพื่อใช้ในการเพาะปลูกและในการอุปโภคและบริโภคได้ตลอดปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการพระราชดำริเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2521 ซึ่งในปัจจุบันประชาชน ทั้งหมดมีคลองชลประทาน ไปถึงหน้าบ้านและเรือกสวนไร่นาของประชาชน ทุกหนแห่ง สร้างความชื่นชมของชาวบ้านที่มีต่อพระองค์อย่างมิรู้คลาย
             การเสด็จกำแพงเพชรทั้งสามครั้งแม้เป็นเหตุการณ์ที่ ผ่านไปนานแสนนานแล้วก็ตาม แต่ประชาชนชาวกำแพงเพชร ทุกคนที่ได้ชมพระบารมี เมื่อไปสัมภาษณ์แต่ละท่าน ทุกท่านยังประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างไม่ลืมเลือน เพราะชาวกำแพงเพชร จะอยู่ใต้ร่มฟ้ามหาบารมี ของพระองค์ตลอดตราบนิจนิรันดร์ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ทุกรอยพระ ยุคลบาท ประกาศก้อง กำแพงเพชร ทั้งผอง ร่วมสรรเสริญ
ทรงปลูกสุข ดับทุกข์ ไทยจำเริญ ทอดพระเนตร บาทดำเนิน ทั่วแผ่นดิน
พระการุณ ทั้งสามครา มาปรากฏ กำแพงเพชร เลอยศ ทั่วทุกถิ่น
ดั่งฝนโปรย ดับร้อน ชนยลยิน ทุกชีวิน ใต้ร่มฟ้ามหาบารมี

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2017). หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร. https://www.facebook.com/726502237386172/posts/1408496109186778/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1283&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1283&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,650

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 5,760

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 713

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,373

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,449

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,459

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,613

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,665

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,646

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,051