กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,637

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์]

           การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก 
           การสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมายตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีรกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพล ลงไปสร้างเมืองละโว้ได้ 19 ปี เมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1011 พรรษา จุลศักราชได้ 10 ปีระกาสัมฤทธิศก แล้วพระยากาฬวรรณดิศราช ให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง แลขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ แลเมืองอเส เมืองโกสัมพี แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว จากพงศาวดารเหนือ และประวัติเมืองตาก ทำให้เราสามารถประมวลได้ว่าเมืองโกสัมพีนคร น่าจะสร้างราว พ.ศ. 1011 โดยพระยากาฬวรรณดิศ เจ้าเมืองตาก ได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นสี่เมือง มีนครโกสัมพีด้วย หลังจากนั้นได้ทิ้งเมืองตากให้ร้าง และเสด็จไปสร้างเมืองละโว้ และครองละโว้ พระราชธิดาคือนางจามเทวี ได้เสด็จตามลำน้ำปิง ทำสงครามกับเจ้าชายแห่งโกสัมพี เป็นศึกแห่งความรัก และเจ้าชายโกสัมพี สิ้นพระชนม์ที่วังเจ้า พระนางได้บูรณะ เมืองตากขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วจึงเสด็จไปครองเมืองหริกุญชัย (ลำพูน)  
          เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่าเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหินในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นเมืองโกสัมพี ในยุคทวาราวดี และ กลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศกัราช 1800 และร้างมานาน กว่า 700 ปี เมื่อไปสำรวจ จึงไม่พบ สิ่งก่อสร้างใดๆ เลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ อาจจะเป็นหลักเมืองของเมืองโกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบันยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูปวงรีคล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดินและคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมีคลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษา                     
          ปัจจุบันสภาพเมืองโกสัมพี จึงรกร้างขาดผู้ดูแล ครั้งในอดีตเคยเป็นป่าช้า ประจำตำบล โกสัมพี มีเรื่องเล่าที่พิสดารมากมาย จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เช่นเล่าว่าเป็นเมืองลับแล เมืองอาถรรพณ์ ทำให้น่าสนใจยิ่งนัก นครโกสัมพีเป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่สมควรได้รับการขุดแต่ง และหาหลักฐานให้กระจ่าง ผู้คนอายุต่ำกว่าหกสิบปี ในบริเวณเมืองเก่าโกสัมพีนี้ ต่างไม่ทราบประวัตินครโกสัมพีแล้ว นับว่าเป็นเรื่องเศร้านัก ฝากกรมศิลปากร ได้มาศึกษานครโกสัมพีอีกครั้ง ก่อนที่หลักฐานทั้งหมดจะหายไป
          เมืองรอ หลักฐานตามพงศาวดารเหนือมีในความว่า พระมหาพุทธสาครเป็นเชื้อสายมา ได้เสวยราชสมบัติอยู่ริม เกาะหนองโสน ที่วัดเดิมกันมีพระมหาเถร ไสยลายองค์หนึ่งเป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพได้พระบรมธาตุ 650 พระองค์ กับพระศรีมหาโพธิสองต้น จากเมืองลังกาได้พาพระมหาสาครไปเมืองสาวัตถี ถ่ายเอาอย่างวัดเชตวนาราม มาสร้างไว้ต่อเมืองรอ แขวงบางทานนอก เมืองกำแพงเพชร ชื่อวัดสังฆคณาวาศ แล้วเอาพระศรีมหาโพธิใส่อ่างทองคำมาปลูกไว้ริมหนองนา กะเล นอกวัดเสมาปากน้ำแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย 36 พระองค์ จึงให้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาโพธิ  แสดงว่า เรื่องเมืองรอ มีเค้าความจริงอยู่ เราจึงลงมือสำรวจเมืองรอ โดยมีแผนที่วังลอ ของเทศบาลตำบลพรานกระต่ายเป็นแผนที่นำทางมีอาจารย์นิรันดร์ กระต่ายทองและคณะ ประกอบด้วย นายเสน่ห์ หมีพรพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้านวังลอ นายปั่ง ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายสว่าง สร้อยพะยอม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางปิ่น กระต่ายทอง ผู้อาศัยวังลอมาช้า โดยนัดกันที่บ้านอาจารย์ นิรันดร์ กระต่ายทอง วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 น. หลังจากประชุมหาข้อมูลกันประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือสำรวจ โดยการนไของผู้นำทางข้างต้นและมีผู้ติดตามไปอีกเกือบ 20 คน สำหรับสายน้ำวังรอ ซึ่งมีความน่าจะเป็นคูเมืองรอในอดีต ปัจจุบันได้ถมทำถนนไปกว่าร้อยละ 80 เปิดเป็นแนวคูเมืองให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ภายในเขตเมืองรอที่คณะของเราค้นหาเต็มไปด้วยเตาถลุงเหล็ก อย่างมากมาย อาจเป็นเพราะว่าเมืองรอนี้น่าจะสร้างราวปีพุทธศักราช 1600 มีพระมหากษัตริย์ ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ คือ พระมหาพุทธสาคร ที่นำพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานในเมืองรอ ตามข้อความจากพงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์ในสมัยอโยธยา เริ่มตั้งแต่จุลศกัราช 501 ตรงกับพ.ศ. 1682 มีรายพระนามดังต่อไปนี้ 
          1. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ ์ปฐมกษัตริย์
          2. พระเจ้าอินทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
          3. พระเจ้าจันทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์
          4. พระร่วง โอรสพระจันทราชา    
          5. พระเจ้าลือ อนุชาพระเจ้าร่วง
          6. พระมหาพุทธสาคร เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น 
          7. พระยาโคตรบอง โอรสพระมหาพุทธสาคร 
          8. พระยาแกรก พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่ 
          9. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
         10. พระยาธรรมิกราช โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง   
          เราไปพบวัดที่อาจเชื่อได้ว่า คือ วัดสังฆคณาวาศ ในเมืองรอปัจจุบันมีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดร้างมีหลักฐานอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญที่วัดโพธาราม มีต้นโพธ์ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นต้นโพธ์ที่พระมหาพุทธสาคร เจ้าแห่งเมืองบางพาน นำมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองรอ แห่งนี้อาจจะเป็นไปได้ จากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาที่น คณะของเรามาชมเมืองรอแห่งนี้ 
          เมื่อถามว่า วังลอแห่งนี้ ใช่เมืองรอ ในอดีตหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ต้อง ค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป เมื่อมีหลักฐานแน่นอน เราจึงฟันธง ได้ว่าวังลอในปัจจุบัน คือ เมืองรอในอดีต ขอบคุณประชาชนชาววังลอ ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้อย่างดียิ่ง เราเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของเมืองรอ ว่าคือ วังลอ ในปัจจุบันที่เทศบาลตำบลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาจเป็นการเริ่มต้นสำรวจอย่างจริงจังต่อไป

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,372

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,064

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 875

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,402

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,567

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 17,235

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,193

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,157

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,847

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,559