กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้ชม 3,966

[16.4733133, 99.5072399, กรุซุ้มกอ]

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่
1. พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง เนื้อดิน
2. พระเม็ดขนุน เนื้อดิน
3. พระซุ้มยอ  เนื้อดิน
4. พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก เนื้อดิน
5. พระลีลากำแพง เนื้อดิน
6. พระกลีบบัว  เนื้อดิน
     และพิมพ์อื่นๆ 

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร, กรุพระ

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุซุ้มกอ. สืบค้น 29 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1196&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1196&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 21,067

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,253

พระอู่ทองวังพาน

พระอู่ทองวังพาน

พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า " พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง " ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 9,266

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 1,786

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,310

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,576

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,372

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,160

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 14,898

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 1,886