พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 37,534

[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง]

        พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง เป็นพระที่มีขนาดกำลังพอเหมาะ สามารถจัดเข้าในชุดเบญจภาคี ชุดเล็ก ได้อย่างเหมาะเจาะ งดงาม ในชุดที่ว่านี้พระสมเด็จองค์ประธาน ควรจะเป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดย่อมลงกว่าพิมพ์พระประธาน เล็กน้อย เช่น พิมพ์เจดีย์เล็ก หรือพิมพ์เกศบัวตูม ส่วนพระรอดมีขนาดเล็กที่สุดในบรดาพระเบญจภาคี จะเป็นพระรอดพิมพ์ใดก็เข้าชุดได้เหมาะสม อีกองค์หนึ่งก็สมควรจะเป็นนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ หรือ พิมพ์เทวดา ซึ่งเป็นพระนางพญาที่จัดอยูในประภทพิมพ์เล็กเช่นกัน องค์สุดท้ายในชุดนี้น่าจะเป็นพระผงสุพรรณหน้าหนุ่ม
        พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์ ขอให้พิจารณาขอบตรงส่วนบนที่โค้งนั้นจะคล้ายกับเป็นการเอาตัดหลายครั้งทำให้ขอบเป็นเหลี่ยมมุมพอสังเกตได้ ไม่ใช่โค้งมนราบเรียบไป และขอบด้านข้างจะมีการยุบตัวทุกองค์ องค์ใดขอบข้างและด้านหลังตึงราบเลิกสนใจทันที เพราะเป็นพระสร้างใหม่ ด้านหลังนอกจากยุบตัวแล้วบางองค์จะปรากฏลายมือจาง ๆ ด้วย

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1171&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1171&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 39,033

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพง  หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,636

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,075

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 11,666

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,180

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,821

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำหริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆกัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่า นจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,799

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,868

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,882

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระโลหะ เรียกว่า พระเนื้อชิน คำว่า พระเครื่อง คือเรียก พระชนิดที่สร้างโดยไม่มีแท่นฐานพระหรือขาตั้งพระทั่วๆ ไป จึงขอเขียนบรรยายพอสังเขปไว้ดังนี้ พระเครื่องรูปพิมพ์พุทธรูปลักษณะและเนื้อจะเป็นหัวใจในการศึกษาของ คำว่า พระเครื่อง พระพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ละกรุพระจะแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องจดจำพุทธลักษณะพิมพ์พระต่างๆ ของแต่ละกรุพระให้มาก พระเครื่องเนื้อชินใน 100 ส่วน เราได้ทราบมาแล้วว่าสร้างด้วยเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วแล้วเป็นผิวปรอทเสีย 99 ส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 11,214