พระสามพี่น้อง
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้ชม 5,808
[16.4912712, 99.4868829, พระสามพี่น้อง]
ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับฟังมาจากบรรพบุรุษเล่าให้ฟังต่อๆกันมาว่า มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ที่สร้างโดยพี่น้องสามคน คนโตเกิดวันพุธสร้างพระปางอุ้มบาตร คนกลางเกิดวันพฤหัสสร้างพระปางสมาธิ คนสุดท้อง สร้างพระปางมารวิชัย ลอยตามน้ำมา ซึ่งคาดว่านำมาใส่แม่น้ำเพื่อหลบพม่า หรือไม่ก็เกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนย้ายทางเรือ (บางคำบอกเล่ากล่าวว่ามีพระพี่น้องชาย ๓ องค์ อยู่ทางเมืองเหนือแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ล่องลอยมาตามแม่น้ำ จากทางทิศเหนือ เรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา) ในที่สุดมาผุดขึ้นใน แม่น้ำบางปะกง ณ ที่ตำบลหนึ่ง และแสดงปาฏิหารย์ลอยทวนกระแสน้ำให้ประชาชนเห็นทั้ง ๓ องค์ ประชาชนแถบนั้นต่างพร้อมใจกัน อาราธนาเอาเชือกพรวนมนิลาลงไปผูกมัดที่องค์หลวงพ่อทั้ง ๓ แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ ๕๐๐ กว่าคนก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เชือกขนาดใหญ่ที่ผูกองค์หลวงพ่อทั้ง ๓ ก็ขาดฉุดไม่สำเร็จตามความประสงค์ ครั้นแล้วหลวงพ่อทั้งสามองค์ก็จมน้ำหายไปต่อหน้าคนทั้งหมด สถานที่พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้ลอยทวนน้ำมานั้นเลยได้ชื่อว่า “ตำบลสามพระทวน” แต่ต่อมากลับเรียกว่า สัมปทวน ได้แก่แม่น้ำหน้าวัดสมปทวน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ก็ล่องลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธร แสดงอภินิหารผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันอาราธนา ฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกันกับชาวสัมปทวน แต่ก็ไม่สำเร็จหมู่บ้านบางนั้นจึงได้ชื่อว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ก็ล่องลอยทวนน้ำขึ้นมาถึงและลอยวนอยู่ที่หัวเลี้ยว ตรงกองพันทหารช่างที่ ๒ ปัจจุบัน สถานที่พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์มาลอยวนอยู่นั้นจึงเรียกกันว่า แหลมหัววน และได้จมน้ำหายไปหลังจากนั้น พระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่ ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ ล่อยลอยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมงอาราธนาขึ้นได้ และประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญอยู่ที่วัดบ้านแหลมเราเรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ทัดเทียมกับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ลอยล่องไปผุดขึ้นที่ปากคลองสำโรง ชาวบ้านแถบนั้นได้อาราธนาขึ้นแพใช้เรือพายลายจูง ทั้งอธิษฐานว่าจะขึ้นเป็นมิ่งขวัญที่ใด ก็ขอให้แพนั้นจงหยุดอยู่กับที่ แล้วล่องมาตามลำคลองแพนั้นก็มาหยุดอยู่หน้าวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบางพลีก็ได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานอยู่ทีวัดบางพลีใหญ่ใน ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพเลื่อมใสมากมายทัดเทียมกับ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร ส่วนพระพุทธรูปองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววน ดังกล่าวแล้ว ก็มาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัด โสธร กล่าวกันว่าประชาชนจำนวนมากทำการฉุดลากขึ้น โดยได้มีอาจารย์ผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ กระทำตามพิธีการอันถูกต้อง แล้วเอาด้านสายสิญจน์คล้อง กับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง นำมาประดิษฐานในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภช และให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร องค์หลวงพ่อโสธรจริง ๆ นั้นในสมัยที่ล่องลอยน้ำมาเดิม เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ ศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายหน้าฝูงคนที่มีตัณหา และความโลภแรงกล้ามีอัธยาศัย เป็นบาปลามกไม่มีความศรัทธาเลื่อมใส จักนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจะไม่เป็นการปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฏที่เห็นในปัจจุบันนี้
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=654&code_db=DB0003&code_type=P004
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระสามพี่น้อง. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=207&code_db=610005&code_type=01
Google search
ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,901
จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,554
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,895
ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,724
ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,841
พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,487
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 6,101
พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,498
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,512
พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช ๑๒๑๑ (ตรงกับพ.ศ. ๒๓๙๒) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก ๓ องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย)เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆจำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงินหน้าทองพระเม็ดน้อยหน่าพระนางกำแพง ฯลฯ ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิมดังนี้ณตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองกำแพงเพชร เมือพิชัย เมืองพิจิตรเมืองสุพรรณ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 5,880