พระกำแพงเม็ดมะลื่น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 3,580
[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงเม็ดมะลื่น]
ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย
พระกำแพงเม็ดมะลื่น จัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียง แห่งเดียว การแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้มีแตกกรุขึ้นเป็นจำนวนมาก พอๆ กันกับ พระกำแพงลีลาพลูจีบหรืออาจจะน้อยกว่าเสียด้วยซ้ำ และประการที่สำคัญก็คือ เป็นพระที่มีการแตกกรุมาจากฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ครั้งแรกมีการแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้เพียง7หรือ8องค์ เท่านั้น นับว่ามีน้อยมาก ทั้งๆ ที่พระชนิดอื่นๆ มีเป็นร้อยองค์
พุทธลักษณะ
พระ กำแพงเม็ดมะลื่นนี้ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน กรุเก่า ที่แตกกรุจากทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น ขนาดพิมพ์ทรงของพระกำแพงเม็ดมะลื่นวัดได้ขนาด2.5ถึง3.5ซม. พระกำแพงเม็ดมะลื่น ก็เป็นพระตระกูลนางกำแพงเพชรอีกพิมพ์หนึ่ง แต่ที่รูปทรงสัณฐานจะผิดเพี้ยนไปจากพระนางกำแพงเพชรก็ตรงที่พระพิมพ์ทรงนี้ มีปีกกว้างใหญ่ บางองค์ปีกอยู่ในลักษณะเกือบกลีบบัว พุทธลักษณะและเนื้อหาของพระกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระนั่งปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร ประทับนั่งแบบลอยองค์อยู่บนฐานเขียง
มีลักษณะพิมพ์ทรงคือ
พระเกศ มีอยู่สองลักษณะ คือพระบางพิมพ์มีพระเกศเป็นตุ้มแบบพระบูชาเชียงแสนเกศตุ้ม จะเห็นได้อย่างชัดเจน และอีกอย่างหนึ่งมีพระเกศยาว จึงกล่าวได้ว่า พระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมีพระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้มเกศบัวตูม และพระเกศแบบยาว เข้าใจว่าผู้สร้างพระเครื่องสมัยก่อนคงจะนึกถึงประติมากรรมทางพระเครื่องของ สมัยเชียงแสน ซึ่งกำเนิดก่อนสมัยสุโขทัย จึงมองภาพและรำลึกถึงภาพศิลปะทางพระเครื่องสมัยเชียงแสนว่ามีรูปร่างความ เป็นมาอย่างไร และผู้สร้างพระพิมพ์ทรงนี้คงจะมองการณ์ไกลเพื่อให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ ตีค่าศิลปกรรมทางพระเครื่องเอาเอง เป็นการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาไปในตัวด้วย คนโบราณนั้นฉลาดมาก จึงได้คิดสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และศิลปะสุโขทัย โดยสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นอีกพิมพ์หนึ่งเช่นกันที่มีพระเกศแหลมเป็นศิลปะ สุโขทัยนับว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรทีเดียว
พระนาสิก พระกำแพงเม็ดมะลื่นในองค์ที่ชัดๆ และงามพอควรจะมีปรากฏพระนาสิกเห็นเป็นเส้นรางๆ เกือบลบเลือน ในองค์ที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมองไม่เห็นเลย
พระพักตร์ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่นจะมีลักษณะพระพักตร์คล้ายกับพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัว แต่รูปทรงของพระพักตร์จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
พระขนง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางองค์ แต่พระขนงจะไม่มีปรากฏให้เห็นทั้งสองข้าง โดยมากจะมีปรากฏให้เห็นเพียงข้างเดียวไม่ข้างซ้ายก็ข้างขวา แต่ลักษณะของพระขนง ไม่ค่อยชัดเจนอันเนื่องมาจากบางองค์มีพระเนตรโตเบียดบังไปหมด
พระเนตร ในพระองค์ที่ชัดๆ จะมีปรากฏพระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่ลักษณะพระของพระเนตรใหญ่ข้างเล็กข้าง ไม่มีความสม่ำเสมอ จึงเอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้ในพระพิมพ์ทรงนี้ ว่าพระเนตรข้างไหนจะใหญ่และเล็กกว่ากัน
พระโอษฐ์ ก็เช่นกันในพระพิมพ์ทรงนี้ แต่ลักษณะของพระโอษฐ์มักจะรางเลือน ไม่เหมือนพระโอษฐ์ของพระนางกำแพงเพชรซึ่งมีความคมชัดกว่า
พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏให้เห็นแต่เพียงรำไรในส่วนบนข้างปลายตา (พระเพชร) โดยพระกรรณนั้นลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น และถ้าไม่พิจารณาให้ดีแล้ว จะมองคล้ายเป็นว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีพระกรรณ
พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์ทรงเหมือนพระนางกำแพงพชร และนางกลีบบัว
พระอังสา ทางด้านซ้ายและด้านขวามีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นน้อยๆ ทั้งสองด้าน แต่การยกขึ้นของพระอังสานั้นมีไม่มาก เพียงแต่ยกให้ได้ส่วนสัดขององค์พระเท่านั้น โดยพระอังสาทั้งสองข้างอยู่ในระดับแถวเดียวกันและชัดเจนกว่าพระตระกูลนาง กำแพงเพชรทั่วๆ ไป
พระอุระ อยู่ในรูปแบบทรงอกตั้ง ในบางองค์จะเห็นพระอุระดูอวบนูนเด่นชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้ามในบางองค์ พระอุระก็ดูตื้นและบอบบาง แต่ก็ยังทรงไว้ซึ่งพระกำแพงเม็ดมะลื่น
พระสังฆาฏิ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่น ทั้งมีปรากฏให้เห็นชัดเจนและไม่มีปรากฏให้เห็น ในบางองค์ที่พระอุระดูลึกก็จะมีปรากฏพระสังฆาฏิ และในองค์ที่ตื้นๆ พระสังฆาฏิจะไม่ค่อยมีปรากฏให้เห็น
พระพาหา มีแนวโน้มที่เหมือนกับพระนางกำแพงเพชร โดยพระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงข้อศอกแล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนหน้าตักตรงส่วนกลางของพระเพลาพอดี มองดูแล้วคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร ที่มีการทอดพระพาหาเบื้องขวา วางทอดลงสู่เบื้องล่างเกือบจะเป็นแนวดิ่ง แล้ววางพระหัตถ์ขวาทาบอยู่บนพระเพลาทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเข่านอก
พระเพลา มีลักษณะของการซ้อนพระเพลาแบบพระนางกำแพงเพชรทั่วๆ ไป โดยเป็นลักษณะของพระเพลาขวาทับพระเพลาซ้ายลำ พระองค์ มีทั้งแบบทรงแบบลึกและแบบตื้น และลักษณะพิมพ์ทรงก็มีลักษณะทั้งเชียงแสน และสุโขทัย จึงคิดว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมองได้สองลักษณะดังกล่าวข้างต้น
พระอาสนะ ทำเป็นรูปแบบฐานเขียงหรือฐานหมอน และลักษณะของฐานนั้นจะมีความเขื่องกว่าพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัวเล็กน้อย
ซุ้มเรือนแก้ว และรอยเข็มของพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีปรากฏให้เห็น
ปีก พระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้มีลักษณะของปีกใหญ่และกว้างมากในบางองค์และบางพิมพ์ จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก และลักษณะของขอบปีกซึ่งมีเป็นเส้นนูนนั้น จะมีปรากฏเป็นบางที่เท่านั้นไม่ตลอดทั้งพิมพ์ทรง แต่ในบางองค์ลักษณะของปีกก็ดูราบเรียบ ปีกของพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้บางองค์มีลักษณะเกือบทรงกลม แต่ในบางองค์ก็มีลักษณะทรงเรียวใหญ่ คล้ายกับกลีบบัวใหญ่ๆ ในพระตระกูลนางกำแพงเพชร พิมพ์ทรงเม็ดมะลื่นตั้งแต่ช่วงจากองค์พระไปหาปีกจะมีลักษณะแอ่งกลางเล็กน้อย และที่สำคัญของพระกำแพงเม็ดมะลื่นก็คือ ที่ขอบของปีกจะไม่มีลักษณะของความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
ด้านหลัง มีลักษณะของการอูมนูนไม่มากก็น้อย แต่ให้เป็นที่น่าสังเกตว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นของแท้ทุกองค์จะมีลักษณะของ ด้านหลังอูมนูนทุกองค์ และนิ้วมือมีปรากฏให้เห็นในบางที ที่เป็นรอยแอ่งๆ ในเนื้อพระ
พุทธคุณ พุทธคุณดีในทางโภคทรัพย์เมตตามหานิยม โชคลาภแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีก็เคยเป็นที่ปรากฏเหมือนกัน
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : เอนก เจกะโพธิ์. (2551, สิงหาคม). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. ลานโพธิ์, 1004(1).
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1159&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 12,302
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระ นางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 5,957
พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,134
ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,106
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด...
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 4,105
พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียง พระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ ๑๐ ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่า ใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 21,648
ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 1,789
ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,704
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 13,852
เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่า ได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ ( อ้างว่า ) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้น ไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ( ข้อมูลจาก พระเครื่องเรื่องของขลัง โดย ประชุม กาญจนวัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ) พระซุ้มกอกรุฤาษี เป็นที่นิยมมากตั้งแต่มีการพบ เพราะมีความลึก ชัด และมีลายละเอียดสวยงามมากกว่ากรุอื่นๆที่พบก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นที่กรุฤาษีนี้ยังพบพิมพ์ที่มีกำไลเท้าสามปล้อง มีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ( ข้อมูล อ้างแล้ว ) พระซุ้มกอกรุฤาษีพิมพ์กำไลเท้าสามปล้องนี้เนื่องจากมีจำนวนน้อยมากปัจจุบันจึงไม่ได้พบเห็นเลย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 27,942