พระกำแพงเม็ดมะลื่น

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 5,265

[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงเม็ดมะลื่น]

           ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย
           พระกำแพงเม็ดมะลื่น จัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียง แห่งเดียว การแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้มีแตกกรุขึ้นเป็นจำนวนมาก พอๆ กันกับ พระกำแพงลีลาพลูจีบหรืออาจจะน้อยกว่าเสียด้วยซ้ำ และประการที่สำคัญก็คือ เป็นพระที่มีการแตกกรุมาจากฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ครั้งแรกมีการแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้เพียง7หรือ8องค์ เท่านั้น นับว่ามีน้อยมาก ทั้งๆ ที่พระชนิดอื่นๆ มีเป็นร้อยองค์ 
          พุทธลักษณะ   
          พระ กำแพงเม็ดมะลื่นนี้ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน กรุเก่า ที่แตกกรุจากทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น ขนาดพิมพ์ทรงของพระกำแพงเม็ดมะลื่นวัดได้ขนาด2.5ถึง3.5ซม. พระกำแพงเม็ดมะลื่น ก็เป็นพระตระกูลนางกำแพงเพชรอีกพิมพ์หนึ่ง แต่ที่รูปทรงสัณฐานจะผิดเพี้ยนไปจากพระนางกำแพงเพชรก็ตรงที่พระพิมพ์ทรงนี้ มีปีกกว้างใหญ่ บางองค์ปีกอยู่ในลักษณะเกือบกลีบบัว พุทธลักษณะและเนื้อหาของพระกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระนั่งปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร ประทับนั่งแบบลอยองค์อยู่บนฐานเขียง
           มีลักษณะพิมพ์ทรงคือ 
           พระเกศ มีอยู่สองลักษณะ คือพระบางพิมพ์มีพระเกศเป็นตุ้มแบบพระบูชาเชียงแสนเกศตุ้ม จะเห็นได้อย่างชัดเจน และอีกอย่างหนึ่งมีพระเกศยาว จึงกล่าวได้ว่า พระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมีพระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้มเกศบัวตูม และพระเกศแบบยาว เข้าใจว่าผู้สร้างพระเครื่องสมัยก่อนคงจะนึกถึงประติมากรรมทางพระเครื่องของ สมัยเชียงแสน ซึ่งกำเนิดก่อนสมัยสุโขทัย จึงมองภาพและรำลึกถึงภาพศิลปะทางพระเครื่องสมัยเชียงแสนว่ามีรูปร่างความ เป็นมาอย่างไร และผู้สร้างพระพิมพ์ทรงนี้คงจะมองการณ์ไกลเพื่อให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ ตีค่าศิลปกรรมทางพระเครื่องเอาเอง เป็นการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาไปในตัวด้วย คนโบราณนั้นฉลาดมาก จึงได้คิดสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และศิลปะสุโขทัย โดยสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นอีกพิมพ์หนึ่งเช่นกันที่มีพระเกศแหลมเป็นศิลปะ สุโขทัยนับว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรทีเดียว 
           พระนาสิก พระกำแพงเม็ดมะลื่นในองค์ที่ชัดๆ และงามพอควรจะมีปรากฏพระนาสิกเห็นเป็นเส้นรางๆ เกือบลบเลือน ในองค์ที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมองไม่เห็นเลย 
           พระพักตร์ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่นจะมีลักษณะพระพักตร์คล้ายกับพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัว แต่รูปทรงของพระพักตร์จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
           พระขนง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางองค์ แต่พระขนงจะไม่มีปรากฏให้เห็นทั้งสองข้าง โดยมากจะมีปรากฏให้เห็นเพียงข้างเดียวไม่ข้างซ้ายก็ข้างขวา แต่ลักษณะของพระขนง ไม่ค่อยชัดเจนอันเนื่องมาจากบางองค์มีพระเนตรโตเบียดบังไปหมด
           พระเนตร ในพระองค์ที่ชัดๆ จะมีปรากฏพระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่ลักษณะพระของพระเนตรใหญ่ข้างเล็กข้าง ไม่มีความสม่ำเสมอ จึงเอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้ในพระพิมพ์ทรงนี้ ว่าพระเนตรข้างไหนจะใหญ่และเล็กกว่ากัน
           พระโอษฐ์ ก็เช่นกันในพระพิมพ์ทรงนี้ แต่ลักษณะของพระโอษฐ์มักจะรางเลือน ไม่เหมือนพระโอษฐ์ของพระนางกำแพงเพชรซึ่งมีความคมชัดกว่า
           พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏให้เห็นแต่เพียงรำไรในส่วนบนข้างปลายตา (พระเพชร) โดยพระกรรณนั้นลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น และถ้าไม่พิจารณาให้ดีแล้ว จะมองคล้ายเป็นว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีพระกรรณ
            พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์ทรงเหมือนพระนางกำแพงพชร และนางกลีบบัว
            พระอังสา ทางด้านซ้ายและด้านขวามีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นน้อยๆ ทั้งสองด้าน แต่การยกขึ้นของพระอังสานั้นมีไม่มาก เพียงแต่ยกให้ได้ส่วนสัดขององค์พระเท่านั้น โดยพระอังสาทั้งสองข้างอยู่ในระดับแถวเดียวกันและชัดเจนกว่าพระตระกูลนาง กำแพงเพชรทั่วๆ ไป
            พระอุระ อยู่ในรูปแบบทรงอกตั้ง ในบางองค์จะเห็นพระอุระดูอวบนูนเด่นชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้ามในบางองค์ พระอุระก็ดูตื้นและบอบบาง แต่ก็ยังทรงไว้ซึ่งพระกำแพงเม็ดมะลื่น
            พระสังฆาฏิ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่น ทั้งมีปรากฏให้เห็นชัดเจนและไม่มีปรากฏให้เห็น ในบางองค์ที่พระอุระดูลึกก็จะมีปรากฏพระสังฆาฏิ และในองค์ที่ตื้นๆ พระสังฆาฏิจะไม่ค่อยมีปรากฏให้เห็น
            พระพาหา มีแนวโน้มที่เหมือนกับพระนางกำแพงเพชร โดยพระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงข้อศอกแล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนหน้าตักตรงส่วนกลางของพระเพลาพอดี มองดูแล้วคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร ที่มีการทอดพระพาหาเบื้องขวา วางทอดลงสู่เบื้องล่างเกือบจะเป็นแนวดิ่ง แล้ววางพระหัตถ์ขวาทาบอยู่บนพระเพลาทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเข่านอก
            พระเพลา มีลักษณะของการซ้อนพระเพลาแบบพระนางกำแพงเพชรทั่วๆ ไป โดยเป็นลักษณะของพระเพลาขวาทับพระเพลาซ้ายลำ พระองค์ มีทั้งแบบทรงแบบลึกและแบบตื้น และลักษณะพิมพ์ทรงก็มีลักษณะทั้งเชียงแสน และสุโขทัย จึงคิดว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมองได้สองลักษณะดังกล่าวข้างต้น
            พระอาสนะ ทำเป็นรูปแบบฐานเขียงหรือฐานหมอน และลักษณะของฐานนั้นจะมีความเขื่องกว่าพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัวเล็กน้อย   
            ซุ้มเรือนแก้ว และรอยเข็มของพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีปรากฏให้เห็น
            ปีก พระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้มีลักษณะของปีกใหญ่และกว้างมากในบางองค์และบางพิมพ์ จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก และลักษณะของขอบปีกซึ่งมีเป็นเส้นนูนนั้น จะมีปรากฏเป็นบางที่เท่านั้นไม่ตลอดทั้งพิมพ์ทรง แต่ในบางองค์ลักษณะของปีกก็ดูราบเรียบ ปีกของพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้บางองค์มีลักษณะเกือบทรงกลม แต่ในบางองค์ก็มีลักษณะทรงเรียวใหญ่ คล้ายกับกลีบบัวใหญ่ๆ ในพระตระกูลนางกำแพงเพชร พิมพ์ทรงเม็ดมะลื่นตั้งแต่ช่วงจากองค์พระไปหาปีกจะมีลักษณะแอ่งกลางเล็กน้อย และที่สำคัญของพระกำแพงเม็ดมะลื่นก็คือ ที่ขอบของปีกจะไม่มีลักษณะของความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
 ด้านหลัง มีลักษณะของการอูมนูนไม่มากก็น้อย แต่ให้เป็นที่น่าสังเกตว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นของแท้ทุกองค์จะมีลักษณะของ ด้านหลังอูมนูนทุกองค์ และนิ้วมือมีปรากฏให้เห็นในบางที ที่เป็นรอยแอ่งๆ ในเนื้อพระ
            พุทธคุณ  พุทธคุณดีในทางโภคทรัพย์เมตตามหานิยม โชคลาภแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีก็เคยเป็นที่ปรากฏเหมือนกัน

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : เอนก เจกะโพธิ์. (2551, สิงหาคม). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. ลานโพธิ์, 1004(1).

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. สืบค้น 20 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1159&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1159&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำหริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆกัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่า นจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,883

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,277

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 179,588

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 8,275

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,710

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,503

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 6,328

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 10,461

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเป็นเอกของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ พระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชินก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระเป็นประติมากรรมในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
         

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,839

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 12,287