พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 10,932

[16.4746251, 99.5079925, พระประทานพรยืน]

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด เรียกว่าการพบครั้งนั้นได้พบพระหลายพิมพ์พระเนื้อชินเงินที่พบมีหลายพิมพ์ทรง ทั้งพระร่วงยืนปางประทานพร พระพิมพ์พระเชตุพน พระพิมพ์นางกำแพง และพิมพ์อื่นๆ อีก อายุการสร้างของพระกรุดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่มีอายุการสร้างเท่าๆ กับกรุต่างๆ ในฝั่งนครชุมทั้งหมด มีอายุการสร้างตามการคาดคะเนคงไม่ต่ำกว่า 6-7 ร้อยปีเป็นอย่างต่ำ

 

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระประทานพรยืน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=195&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=195&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,307

กรุหนองพิกุล

กรุหนองพิกุล

ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,452

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,358

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,606

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,157

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,917

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,635

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,780

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่าได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ (อ้างว่า) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้นไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2500 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 35,403

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,586