วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,360

[16.4960313, 99.4398593, วัดเตาหม้อ]

              เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของวัดเตาหม้อ เมื่อแรกเข้าไปศึกษาในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมองไม่เห็นวัด เตาหม้อเลย เพราะจะถูกปกคลุมด้วย ป่าไม้ ไม่สามารถเดินเข้าไปชมได้ นอกจากผู้ที่มีอาชีพขุดพระเท่านั้น ที่ยังเข้าไปขุดค้นสมบัติอยู่ได้เข้ามาชม วัดเตาหม้อเป็นครั้งที่สาม เมื่อย่างเข้าไปในเขตวัด เห็นพระวิหารขนาดใหญ่มาก มีขนาดกว้าง ประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 40เมตร บนวิหารมีพระพุทธรูปที่ก่อด้วยศิลาแลง ขนาด นั่งสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร สภาพยังเห็นเป็นองค์พระได้อย่างชัดเจน 1 องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่งที่ประทับนั่งคู่กัน ได้ถูกนักเลงขุดพระทำลายไปเสียแล้ว เห็นเพียงฐานพระ ขนาดเท่ากับองค์ที่เหลือ ตั้งตระหง่านอย่างงดงาม คู่กันอย่างบนวิหาร ด้านหลังของพระประธาน ได้ถูกเจาะเพื่อหาสมบัติ น่าเสียดายถ้าไม่รีบบูรณะพระพุทธรูปจะพังลงมาก่อน จะมองไม่เห็นความงาม ของพระพุทธรูปขนาดยักษ์ทั้งสององค์หลังพระวิหารเจดีย์ประธานสัณฐานมณฑป ขนาดใหญ่มาก ยอดของเจดีย์ประธานยังหักตกลงมาให้เห็นเป็นหลักฐาน ภายในเจดีย์ประธานถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี เพื่อหาพระพุทธรูป พระเครื่องและสมบัติ ที่คนโบราณฝังไว้ ถัดไปเป็นเจดีย์อีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ติดกับ เจดีย์ประธาน แต่ขนาดย่อมลง ด้านหลังเป็นเจดีย์รายขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่ละองค์ถูกขุดค้นไปอย่างไม่มีชิ้นดี?.ในเจดีย์รายโดยรอบมีบ่อกรุ ที่ทำด้วยศิลาแลงแท่งขนาดใหญ่มาก ขนาดแท่งศิลาวัดพระนอน ขนาดบ่อ กว้างยาวด้านละประมาณ 4 เมตร ทำไว้อย่างแข็งแรง สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกรุ มหาสมบัติ ที่รวมของมีค่าอยู่ในวัดซึ่งถูกขุด ค้นอย่างไม่มีชิ้นดี หลังจากสำรวจครั้งนี้แล้ว กรมศิลปากรสมควรบูรณะปฏิสังขรณ์ เพื่อมิให้เสียหายไปกว่านี้วัดเตาหม้อ มีหลักฐานเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่อยู่ 4 เตา พังไปแล้ว 2 เตา กำลังจะพัง 1 เตา สมบูรณ์ดีเรียบร้อยอยู่ 1 เตา บริเวณเตามีแร่เหล็ก ที่ผ่านการถลุงอยู่เป็นจำนวนมาก ตกอยู่เกลื่อนกลาด คาดว่า จะเป็นแหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเมืองกำแพงเพชร มีเหล็กที่มีคุณภาพ นำไปผลิตอาวุธ และหล่อพระ จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้พูดถึงการทำดาบฟ้าฟื้นว่า ได้นำเหล็กเมืองกำแพง ไปเป็นวัตถุสำคัญในการตีดาบและการที่มีเตาขนาดใหญ่นี่เอง ทำให้วัดนี้ได้รับการขนานนามว่าวัดเตาหม้อมาจนปัจจุบันเมื่อสังเกตอย่างถ้วนถี่ วัดเตาหม้อนี้ น่าจะเป็น วัดแห่งยุทธศาสตร์ ในการผลิตอาวุธ ไว้ป้องกันเมืองกำแพงเพชร หรือส่งขาย ทั่วไป ในช่วง 600 ? 700 ปี ที่ผ่านมา น่าสงสัยนักว่าทำไม ไม่มีใครสนใจ หรือใส่ใจในวัดเตาหม้อ เลย ทั้งที่เกือบทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ ล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเกือบทั้งสิ้น วัดขนาดใหญ่อย่างวัดเตาหม้อหลงหูหลงตาไปได้อย่างไร มันเป็นปริศนาที่น่าสนใจยิ่งนักวัดเตาหม้อ แหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่มากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดที่สำคัญที่สุดแห่งเราชาวกำแพงเพชร
              ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
              รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
              
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
              
อัตราค่ายานพาหนะ
              
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
              รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=223&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดเตาหม้อ

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเตาหม้อ. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=306

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,004

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,862

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,804

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,115

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,002

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,676

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,621

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,020

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,479

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,602