ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้ชม 5,008

[16.6642043, 99.5887696, ประวัติอำเภอพรานกระต่าย]

ประวัติความเป็นมา
        ความเป็นมาของพื้นที่พรานกระต่าย ที่ผู้สูงอายุชาวพื้นบ้านเล่าสู่ลูกหลานบเนื่องกันมาหลายชั่วคน และยังมีร่องรอยวัตถุโบราณ ลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติพอเชื่อถือได้ว่าประมาณปี พ.ศ. 1420 เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพาน มีพระมหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบัน ไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองพานสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มมีลำน้ำคลองใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชร ไปสู่ลำน้ำยมที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่เมืองใหญ่และเป็นแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีบ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง ปัจจุบันยังมีเมืองเก่าแก่ทรุดโทรมอยู่ในป่ารก เป็นรูปรอยคันเมือง คูเมือง วัดเก่าแก่หลายแห่ง หมู่บ้านในอดีตยังเป็นหมู่บ้านในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น วัดโคก บ้านวังไม้พาน บ้านวังตะแบก และบ้านจำปีจำปา เป็นต้น สัญลักษณ์แห่งความเจริญสุงสุด ได้แก่ การสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองสัมฤทธิ์ล้ำค่าไว้ที่วัดนางทอง บนเขานางทองใกล้เมืองพาน ชื่อนางทองเป็นชื่อของพระมเหสีพระร่วง ขณะนี้รอยพระพุทธบาทจำลอง กองโบราณคดีกรมศิลปากรนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และมีถนนจากสุโขทัยผ่านอำเภอพรานกระต่ายไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า "ถนนพระร่วง"
        อวสานแห่งความรุ่งเรืองของเมืองพานเกิดจากพระมเหสีของเจ้าผู้ครองนครสิ้นชีพตักษยลง ยังความทุกข์โทรมนัสให้แก่เจ้าผู้ครองนครและอาณาประชาราษฎร์ ถึงกับพากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานเมืองใหม่ที่สังขบุรี แขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงเจริญแต่ในประวัติศาสตร์แต่กาลนั้นมา
        ยุคกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณปี พ.ศ.1800 เศษ พระร่วงครองกรุงสุโขทัยทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางมีความมั่นคงยิ่งดำริสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทิศ ทรงรับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่า ออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี ครั้งนั้นนายพรานคณะผู้ทำงาน คณะหนึ่งได้เดินทางกำหนดแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัยถึงฝั่งแม่น้ำปิงที่ตรงข้าปากคลองสวนหมาก เห็นว่าภูมิประเทศเหมาะสม อุดมสมบูรณ์และป้องกันตนเองได้จึงสถาปนาหมู่บ้านแห่งนั้นขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชร
        กำเนิดหมู่บ้านพร้านกระต่าย ขอย้อนกล่าวมาถึงระหว่างที่นายพรานป่าสำรวจเส้นทางไป สร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัยเส้นนี้เอง วันหนึ่งได้พบกระต่ายป่า ขนสีเหลืองเปล่งปลังดังทองสวยงามมาก พรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอบรมราชานุญาตจากพระร่วงเจ้า ไปติดตามจับกระต่ายตัวสำคัญ จะนำไปถวายเป็นราชบรรณาการ เมื่อพรานกลับไปถึงได้พบกระต่ายตัวสำคัญที่หน้าถ้ำเดิมได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้งแต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีหายได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะจะจับให้ได้ จึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้น และมีผู้อพยพติดตามมาเพิ่มเติมมีลูกหลานเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นตามลำดับ การเรียกชื่อชุมชนนี้จึงขนานนามกันตามพันธกิจของนายพร้าน "บ้านพรานกระต่าย"
        ยุคกรงรัตนโกสินทร์ อำเภอพร้านกระต่ายจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2438 เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชร มีมณฑลนครสวรรค์ เป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาคอีกชั้นหนึ่ง มีหลวงต่างใจราษฎร์ เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลพรานกระด่าย ตำบลลานกระบือ ตำบลหนองคล้ำว ตำบลหนองหัววัว และตำบลท่าไม้ ประวัติที่ว่าการอำเภอ ดังต่อไปนี้
        1) หลังแรกปลูกสร้างเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวหลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกถนนประเวสไพวัลย์ หรืออยู่ตรงข้ามหน้าที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน
        2) ปี พ.ศ.2480 รื้อสร้างใหม่ตรงที่เดิมเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยกระเบื้อง โดนเผาใช้อยู่นานจนผุพังทรุดโทรมนำกลัวอันตราย
        3) ปี พ.ศ. 2508 นายธวัช แผ่ความดี นายอำเภอสมัยนั้น ได้รายงานกรมการปกครอง จัดสรรให้ 200,000 บาท ราษฎรสมทบ 70,111 บาท รวม 270 111 บาท
        ดำเนินการสร้างใหม่ทางฝั่งตะวันตกของถนนประเวสไพวัลย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งมาจนถึงปัจจุบันการ ก่อสร้างทำตามแบบแปลนของกระทรวงมหาดไทยเป็นอาคารไม้สองชั้น หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่สีแดงเก่าตัวอาคารทาสีเขียวอ่อน ตัดเส้นสีน้ำตาลมุขกลางด้านหน้าเป็นลานคอนกรีตมีลูกกรงเหล็กโดยรอบ 3 ด้าน มีโล่ตราสิงห์ประดับรั้วด้านหน้าส่วนล่างก่อเป็นอิฐสีเทา เหลืองอ่อน ส่วนบนเป็นซี่โครงโปร่งตาทา สีเขียวอ่อนตัดเส้นสีน้ำตาลแก่ มีช่องประตูเข้าออก 3 ช่องแต่ละช่องติดประตูเหล็กประดับคู่มีรูปราชสีห์เล็กประดับคู่มีรูปราชสีห์เหล็กดัดสวยงามประดับทุกบานประตู สิ้นค่าใช้จ่ายดังนี้
        ค่าก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ           250,000 บาท
        ค่าสร้างรั้วสองด้าน                  20,111 บาท
        ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2508

        พรานกระต่ายเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัด มีฐานะเป็นอำเภอมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยได้รับจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี 2438 เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชร มีมณฑลนครเป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาคอีกชั้นหนึ่ง ชื่ออำเภอ “พรานกระต่าย” มีประวัติความเป็นมาเป็นตำนานเล่าขนานกันมาหลายชั่วคนดังนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1420 เมืองพรานกระต่ายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองบางพานมี มหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบันทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองบางพานนั้นเจริญรุ่งเรืองมา เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลำน้ำใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชรไปสู่ที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมเมืองใหญ่และเป็นแหล่งนี้อันอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง ปัจจุบันมีเมืองเก่าแก่ทรุดโทรมอยู่ในป่ารกเป็นคันเมือง คูเมือง (วัดเก่าหลายแห่ง) หมู่บ้านในอดีตยังเป็นหมู่บ้านในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น วัดโคก บ้านวังไม้พาน และบ้านจำปีจำปา เป็นต้น สัญลักษณ์แห่งความเจริญสูงสุดก็คือการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองสัมฤทธิ์ไว้ที่ เขานางทอง บนเขานางทองใกล้เมืองบางพาน ชื่อ “นางทอง” เป็นชื่อของมเหสีพระร่วง มีถนนจากสุโขทัยผ่านอำเภอพรานกระต่ายไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า “ถนนพระร่วง”
        กล่าวกันว่าในปี พ.ศ. 1800 เศษ พระร่วงครองสุโขทัย ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทีซึ่งได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่าง ๆ จนกระทั่งมาถึงบริเวณแห่งนี้ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งด้วยทองสวยงามมาก นายพรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอราชานุญาตจากพระร่วงเจ้าเสด็จไปติดตามจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแด่พระมเหสีพระร่วง นายพรานจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวสำคัญ ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะที่จะจับให้ได้จึงไปชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับ แต่ยังไม่ได้จึงอพยพลูกหลานพี่น้อง และกลุ่มเพื่อนฝูงต่าง มาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อผลที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายก็หลบหนีเข้าไปในถ้ำซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็กนายพรานเข้าไปไม่ได้แม้พยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยจับกระต่ายขนสีทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งต่อมาหมู่บ้านได้ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านพรานกระต่าย” และเป็นชื่ออำเภอพรานกระต่าย ในสมัยต่อมา
        ในปัจจุบันถ้ำที่กระต่ายขนสีทองหนีเข้าไปซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำกระต่ายทอง”ได้รับการบูรณะใหม่เพื่อทำให้เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นและประชาชนก็เห็นความสำคัญของสถานที่นี้จำได้ช่วยกันดูแลรักษาตกแต่งบริเวณให้สะอาดมีอนุสาวรีย์ของนายพรานที่มาล่ากระต่าย มีอาคาร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสำหรับ หมู่บ้านสมกับเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพรานกระต่าย กระต่ายทองจึงเป็นตำนานที่ประชาชนเล่าขานกันต่อๆ มา และกลายเป็นอำเภอพรานกระต่ายในที่สุด ในปัจจุบัน
        รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สยามมงกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จ เมืองพรานกระต่ายเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2450 ได้กล่าวถึงเมืองพรานกระต่ายว่า
ถึงบ้านพรานกระต่ายจวนเที่ยง ที่บ้านพรานกระต่ายนี้ มีบ้านเรือนหนาแน่น ทุก ๆ บ้านมีรั้วกั้นเป็นอาณาเขต สังเกต ว่าบ้านช่องดี สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ จึงเข้าใจว่าราษฎร ตามแถบนี้อยู่จะบริบูรณ์ ... สังเกตกิริยามารยาทเรียบร้อย ซึ่งทำให้เข้าใจว่าที่นี่จะเป็นเมืองอย่างโบราณกาล
        อำเภอพรานกระต่าย แบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 ตำบล , 129 หมู่บ้าน ประกอบด้วยตำบล พรานกระต่าย , หนองหัววัว , ท่าไม้ , วังควง , วังตะแบก , เขาคีริส , คุยบ้านโอง , คลองพิไกร , ถ้ำกระต่ายทอง , ห้วยยั้ง
        อำเภอพรานกระต่ายมีเอกลักษณ์ที่สำคัญหลายประการ เช่น เอกลักษณ์ภาษาถิ่น
        อำเภอพรานกระต่ายมีเอกลักษณ์สำคัญ คือภาษาถิ่นที่มีลักษณะพิเศษ สืบทอดมาแต่สมัยสุโขทัย เป็นอำเภอเดียวที่มีภาษาพูดและมีสำเนียงที่มีเสน่ห์ไม่เหมือนกับแห่งใดในประเทศไทยดังตัวอย่าง (สัมภาษณ์ชาวพรานกระต่ายแท้ๆ)

หินอ่อนเมืองพาน
        แหล่งหินอ่อนที่สำคัญในจังหวัดกำแพงเพชร อยู่ที่อำเภอพรานกระต่าย บริเวณทิวเขา สว่างอารมณ์ เขาเขียว และเขาโทน ในทางธรณีวิทยา จัดว่าหินอ่อนที่เขาสว่างอารมณ์ มีอายุประมาณ 300 – 400 ล้านปี เป็นหินปูนที่ตกผลึกใหม่อาจเรียกว่า หินอ่อนในแง่การค้า เขาสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของตลาดพรานกระต่าย ลักษณะเป็นภูเขายอดแหลม มีผาชันเช่นเช่นเดียวกับหินปูนทั่วไป ประกอบด้วยหินปูนตกผลึกใหม่ โดยทั่วไปมีชั้นหนาสีขาว สีเทาอ่อน สีเทาแก่ปานกลาง ชั้นหินทั้งหมดหนาประมาณ 150 เมตร ในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทำเหมืองหินอ่อน ในจังหวัดกำแพงเพชร โดยการให้สัมปทาน การทำเหมืองหินอ่อน ในเขตเขาโทน อันเป็นภูเขาลูกหนึ่ง ในทิวเขาสว่าง ให้ประทาน บัตร ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2524 หินอ่อนที่เขาโทนมีคุณสมบัติเด่น คือผิวเป็นมัน มีสีเทาและขาว อมชมพู
การผลิตหินอ่อนที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร จึงเป็นอาชีพเด่นที่สุดอาชีพหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ที่นำรายได้มาสู่จังหวัด จำนวนมากหินอ่อนของพรานกระต่าย มีมาตรฐานการผลิต ที่พัฒนาแล้ว ทัดเทียมหรือบางอย่างอาจล้ำหน้าต่างชาติ ผลิตภัณฑ์หินอ่อนที่มีชื่อเสียงของอำเภอพรานกระต่าย จัดเป็นสินค้าของชุมชน อาทิ ช้างแกะสลัก โคมไฟ ที่ทับกระดาษ บาตรพระ แจกัน ศาลเจ้า นาฬิกาตั้งโต๊ะ โต๊ะ เก้าอี้ จานแก้ว ถังแช่ไวน์ และของแต่งบ้านจำนวนมาก มีความละเอียดอ่อนที่สวยงาม ทำชื่อเสียงและรายได้มาสู่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนมาก

ตำนานถ้ำกระต่ายทอง
        ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย ทางแยกติดถนนกำแพงเพชร – สุโขทัย เป็นถานที่มีความสำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพรานกระต่าย ทุกๆปีจะมีการจัดงานฉลองรื่นเริงที่ศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนี้ เพื่อเป็นที่สักการะและรำลึกถึงบรรพบุรุษของชาวอำเภอพรานกระต่าย มีประวัติเล่าว่า มีนายพรานเดินทางมาสำรวจเส้นทางเพื่อไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งขณะที่กำลังพักแรม นายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่งและได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมานายพรานจึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้รับทราบและรับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าวและได้ใช้ความพยายามที่จะจับตั้งหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นบริเวณหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมาจึงมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ปัจจุบันสถานที่บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง ถูกบูรณะและตกแต่งให้เป็นสถานที่สวนย่อมแลดูสวยงาม และมีการสร้างรูปปั้นนายพราน ซึงเป็นตัวแทน เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองให้ชาวอำเภอพรานกระต่ายได้สักการะบูชา

เห็ดโคนดองรสดี
        พรานกระต่ายเป็นแหล่งเห็ดโคนที่รสดีมากๆ เป็นเห็ดโคนมี รสหวาน กรอบ ไม่เหนียว ขนาดไม่ใหญ่มาก ขึ้นทั่วไป ในป่าที่พรานกระต่าย มีราคาค่อนข้างสูง สามารถส่งออกไปขายต่างจังหวัดได้ มีมากจนต้อง นำมาดอง ถนอมอาหาร เป็นเห็ดโคนดองที่รสชาติอร่อย ที่สามารถรับประทานได้ทั้งปี

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญคือ
        เมืองบางพาน อยู่ที่บ้านวังพาน ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนเส้นทางถนนพระร่วง ที่จะไปยังสุโขทัย มีลักษณะเมืองค่อนข้างกลม มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบสามชั้น ภายในเมืองพบซากโบราณสถานขนาดเล็ก มีสภาพเป็นกองศิลาแลง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมี เขานางทอง บนยอดเขามีโบราณและฐานพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ภายในเมืองพานแม้ว่าจะพบซากโบราณสถานขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของผังเมือง แต่ความสำคัญของชุมชนแห่งนี้คือ เป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางคมนาคม ที่ติดต่อกับกรุงสุโขทัย และเมืองอื่นได้สะดวก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางที่ราบลุ่มซึ่งเพาะปลูกได้ดี เคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่พญาลิไท นำมาประดิษฐานไว้
            • อำเภอพานกระต่าย ยังมีวัดที่เก่าแก่ และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ โบราณคดี จำนวนมาก อาทิวัด
            • วัดไตรภูมิ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง
            • วัดอินทาราม ตำบลท่าไม้
            • วัดกุฏิการาม ตำบลพรานกระต่าย
        อำเภอพรานกระต่าย เป็นอำเภอที่เก่าแก่ และมีประชาชน ที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณ มีภาษา วัฒนธรรม และเอกลักษณ์เป็นของตนเอง นับว่าเป็นอำเภอที่ทรงคุณค่าที่น่าศึกษาที่สุดอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : อำเภอพรานกระต่าย พรานกระต่าย

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2559). สารคดีโทรทัศน์ วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร : ตอน อำเภอพรานกระต่าย. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอพรานกระต่าย. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=9&code_db=610001&code_type=07

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=9&code_db=610001&code_type=07

Google search

Mic

ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

ความเป็นมาของพื้นที่พรานกระต่าย ที่ผู้สูงอายุชาวพื้นบ้านเล่าสู่ลูกหลานบเนื่องกันมาหลายชั่วคน และยังมีร่องรอยวัตถุโบราณ ลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติพอเชื่อถือได้ว่าประมาณปี พ.ศ. 1420 เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพาน มีพระมหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบัน ไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองพานสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มมีลำน้ำคลองใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชร ไปสู่ลำน้ำยมที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่เมืองใหญ่และเป็นแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีบ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 5,008

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอก เมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน โดยพาหนะช้าง ถึงเสด็จบ้านพรานกระต่ายเกือบเที่ยง 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 684

อ่างเก็บน้ำห้วยบง

อ่างเก็บน้ำห้วยบง

อ่างเก็บน้ำห้วยบง ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาด ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,5 และหมู่ที่ 7 ตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอ่างที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 ลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำสร้างด้วยดินเหนียวอัดแน่น ขนาดความยาว 100 เมตร ความสูงประมาณ 12 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,142

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

เมืองโบราณบางพาน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 101 กำแพงเพชร – พรานกระต่าย ก่อนเข้าสู้ตัวอำเภอให้เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน ทุ่งนา มุ่งหน้าเขาหาเขานางทองที่ตั้งเด่นอยู่กลางพื้นราบ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพระร่วงอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองบางพาน สภาพของเมืองบางพาน เป็นเมืองรูปรีโอบไปตามลำน้ำคลองใหญ่ ประมาณ 450+200 เมตร ภายในเมืองมีซากโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,042