ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 770
[16.7221771, 99.3879387, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอก เมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน วันที่ 19 มกราคม 2450 เสด็จออกจากที่ประทับเมืองบางพานเวลาเช้า 3 โมงครึ่ง โดยพาหนะช้าง ถึงเสด็จบ้านพรานกระต่ายเกือบเที่ยง ตรัสชื่นชมชาวพรานกระต่ายเอาไว้ดงันี้ “ที่บ้านพรานกระต่ายนี้ มีบ้านเรือนแน่นหนา ทุกๆ บ้านมีรั้วกั้นเป็นขอบเขตสังเกตว่าบ้านช่องดี สะอาดและเรียบร้อยเป็นระเบียบ จึงเข้าใจได้ว่าราษฎรตามแถบนี้อยู่ข้างจะบริบูรณ์ และนายอำเภอก็ทีจะเป็นคนแข็งแรง ที่พักเขาได้ปลูกแน่นหนา ถามดูได้ความว่าเขาจะเลยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอต่อไป พวกผู้หญิงมีภรรยาขุนภักดี นายอำเภอเป็นประธาน ได้จัดสำรับมาเลี้ยงในระหว่างเวลาที่เลี้ยงนั้นราษฏรได้ขออนุญาตเวียนเทียนทำขวัญบรรดาพวกที่เดินทาง จัดให้หญิงแก่ผู้หนึ่งเป็นผู้ให้พร พวกราษฏรรับรอบพลับพลา ตีฆ้องและประโคมพิณพาทย์อยู่ข้างจะครึกครื้นมาก นับว่าเป็นการสมโภชเต็มบริบูรณ์ตามศัพท์ เพราะได้กินอาหารจริง ไม่ใช่แต่จิบน้ำมะพร้าวอย่างที่พราหมณ์ทำ” และยังได้ทรงกล่าวถึงของสำคัญอย่างหนึ่งของชาวพรานกระต่ายคือกระจกหอบ่าวสาว ซึ่งเป็นของนายมาก ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในครั้งนั้น ดังพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้
“ที่นี่ได้เห็นของประหลาดอย่างหนึ่ง คือกระจกหอบ่าวสาว กระจกนี้เป็นของนายมากผู้ใหญ่บ้าน กรอบทำด้วยไม้สลักลวดลายแปลก มีกระจกอยู่ที่ตอนข้างบนใต้ยอดกรอบลงมานิดเดียว กระจกนั้นก็บานเล็ก กรอบโตกว่าเป็นอันมาก ถ้าดูผาดๆ ก็นึกว่ากระดานทำรูปคล้ายพระเจดีย์ ยอดสลักเป็นรูปหงส์ แต่กระจกนี้เป็นของสำคัญมาก ใครจะแต่งงานนั้นต้องมายืมกระจกบานนี้ไปเรือนหอ พอเสร็จงานแล้วก็นำไปส่งคืนเจ้าของ ว่าเป็นธรรมเนียมเช่นนี้มานานแล้ว กระจกนี้นายมากว่าได้รับมรดกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ว่าเดิมเป็นของพวกชาวเมืองเชียงราย เมื่อถูกพวกเมืองเชียงแสนตีแตกกระจัดกระจายหนีมาอยู่ที่พรานกระต่าย หวังใจว่าเจ้าของจะไม่ขายกระจกนั้นไปเสีย ถ้าชาวต่างประเทศมาฉวยไปเสียได้ก็จะเจ็บอยู่ แต่นึกค่อยอุ่นใจนิดหนึ่ง ที่ตรงว่าบ้านพรานกระต่ายนี้ไม่ใคร่มีใครไปถึง” ทุกวันนี้เราก็ยังไม่ทราบว่ากระจกหอบ่าวสาวของผู้ใหญ่มากแห่งบ้านกระต่ายได้ตกทอดเป็นมรดกของลูกหลานรุ่นหลังๆ และยังเก็บรักษาเอาไว้อยู่หรือหรือสูญหายไปหมดแล้ว นอกจากจะประทับใจในการต้อนรับ จัดเลี้ยงของชาวพรานกระต่ายและชื่นชมกับกระจกหอบ่าวสาวแล้ว พระองค์ยังได้บันทึกชมชาวพรานกระต่ายว่า เป็นผู้มีกิริยามารยาทเรียบร้อยเอาไว้อีกว่า “แต่ที่จริงบ้านพรานกระต่ายไม่ใช่ที่เลว ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วบ้านเรือนก็มีแน่นหนามาก ราษฏรก็อยู่ข้างบริบูรณ์และไร่นาดี ได้สังเกตกิริยามารยาทเรียบร้อย ซึ่งทำให้เข้าใจว่า ที่นี่จะได้เป็นที่ตั้งบ้านเมืองมาแต่โบราณกาล ถนนพระร่วงก็ได้ผ่านหมู่บ้านนี้ไปทีเดียว มีเรือนตั้งคร่อมถนนก็หลายหลัง ข้อนี้ทำให้สันนิษฐานว่าบ้านพรานกระต่ายจะเป็นเมืองพรานที่กล่าวถึงในหลักศิลาเมืองสุโขทัยที่ 2” พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าได้เสด็จออกจากบ้านพรานกระต่ายเมื่อเวลาบ่ายสอง วันที่ 19 มกราคม 2450 โดยพาหนะเกวียน ผ่านไปทางวัดพรานกระต่าย บ้านหนองโสน ทุ่งหนองดินแดง บ้านวังตะแบก บ้านเหมืองหาดทราย หยุดประทับพักแรมที่ตำบลยางโทน วันที่ 20 มกราคม 2450 เสด็จออกเดินทางเวลา 3 โมงเช้า โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ เลาะเลียบไปตามถนนพระร่วง ข้ามคลองวังขนาน ผผ่านเขตแดนระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับสุโขทัยไปจนถึงเมืองเพชร หรือเมืองศรีคริีมาศ ในการเสด็จเที่ยวเมืองพระร่วงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ นั้นมีข้อมูลว่าเป็นช้างที่นายหม่องเซ็งเพ่ พ่อค้าไม้ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่คลองสวนหมาก ตำบลนครชุม เป็นผู้จัดถวาย นับตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2450 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2450 รวมเวลา 8 วัน อันเป็นช่วงที่เสด็จเข้าสู่เขตเมืองกำแพงเพชรและประทับพักแรมเพื่อทรงตรวจตราโบราณสถานภายในเมืองและนอกเขตเมือง นับเป็นพระมหากรุณาอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อชาวกำแพงเพชร เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในโอกาสครบรอบ 107 ปี ที่เสด็จเที่ยวเมืองพระร่วง จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ชาวกำแพงเพชรและหน่วยงานต่างๆ จะได้ช่วยกันศึกษาและอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ อาทิ แนวถนนพระร่วง ทุ่งจระเข้ เมืองพลับพลา กระจกหอบ่าวสาว และสิ่งอื่นๆ ตามเส้นทางการเสด็จเพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอันเป็นศักดิ์ศรีและเกียรติประวัติแก่ชาวกำแพงเพชรทั้งปวง
คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, บ้านพรานกระต่าย
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย). สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1313&code_db=610001&code_type=07
Google search
เมืองโบราณบางพาน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 101 กำแพงเพชร – พรานกระต่าย ก่อนเข้าสู้ตัวอำเภอให้เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน ทุ่งนา มุ่งหน้าเขาหาเขานางทองที่ตั้งเด่นอยู่กลางพื้นราบ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพระร่วงอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองบางพาน สภาพของเมืองบางพาน เป็นเมืองรูปรีโอบไปตามลำน้ำคลองใหญ่ ประมาณ 450+200 เมตร ภายในเมืองมีซากโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,164
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอก เมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน โดยพาหนะช้าง ถึงเสด็จบ้านพรานกระต่ายเกือบเที่ยง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 770
ความเป็นมาของพื้นที่พรานกระต่าย ที่ผู้สูงอายุชาวพื้นบ้านเล่าสู่ลูกหลานบเนื่องกันมาหลายชั่วคน และยังมีร่องรอยวัตถุโบราณ ลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติพอเชื่อถือได้ว่าประมาณปี พ.ศ. 1420 เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพาน มีพระมหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบัน ไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองพานสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มมีลำน้ำคลองใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชร ไปสู่ลำน้ำยมที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่เมืองใหญ่และเป็นแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีบ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 6,122
อ่างเก็บน้ำห้วยบง ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาด ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,5 และหมู่ที่ 7 ตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอ่างที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 ลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำสร้างด้วยดินเหนียวอัดแน่น ขนาดความยาว 100 เมตร ความสูงประมาณ 12 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,434