ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,196

[16.7221771, 99.3879387, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)]

เมืองโบราณบางพาน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 101 กำแพงเพชร – พรานกระต่าย ก่อนเข้าสู้ตัวอำเภอให้เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน ทุ่งนา มุ่งหน้าเขาหาเขานางทองที่ตั้งเด่นอยู่กลางพื้นราบ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพระร่วงอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองบางพาน  สภาพของเมืองบางพาน เป็นเมืองรูปรีโอบไปตามลำน้ำคลองใหญ่ ประมาณ 450+200 เมตร ภายในเมืองมีซากโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง มีแนวกำแพงเมืองอยู่เกือบครบสมบูรณ์ เป็นคู้น้ำสองชั้น และกำแพงดินสามชั้น แต่คันดินบางส่วนกำลังถูกบุกรุกโดยคนมีสี ทำการปรับไถเป็นพื้นราบเพื่อปลูกพืชไร่ และขุดเป็นบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งถ้ายังปล่อยละเลยกันต่อไป อีกไม่นานแนวกำแพงเมืองคงถูกยึดครองจนหมดสิ้น จากการสำรวจได้พบร่องรอยการบุกรุกทำลายโบราณสถานบริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่าเป็นวิหาร เพราะมีเศษกระเบื้องมุงหลังคา เศษอิฐหล่นเกลื่อนอยู่ตามพื้นดิน น่าเสียดายที่ถูกปรับไถจนหมดสภาพโบราณสถานกลายเป็นไร่ข้าวโพดไปเสียแล้ว รูปแบบทางศิลปกรรมของโบราณสถานที่พบในเขตเมืองบางพาน เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเมืองแห่งนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองสำคัญอีกแหง่หนึ่งของกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะร่องรอยของโบราณสถาน อันได้แก่ซากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และรอยพระพุทธบาทบนเขานางทอง ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัย สุโขทัยทั้งสิ้น ช่วงก่อนรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไทย เมืองบางพานคงมีเจ้าเมืองที่กล้าแกร่งปกครอง ดังหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวถึงว่าเมื่อสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง บ้านเมืองเกิดความแตกแยกเมืองสำคัญอย่างเชียงทอง คณฑี บางพาน พระบาง ต่างแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จนเมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทยขึ้นครองราชย์จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ความสำคัญของเมืองบางพานเอาไว้เทียบเท่ากับเมืองใหญ่ๆ ในยุคนั้น ด้วยการเสด็จมาประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเอาไว้บนยอดเขานางทอง พร้อมกับเมืองอื่นๆ อีกสามแหง่คือ เมืองสุโขทัยบนเขาสุมนกฎู เมืองศรีสัชนาลัยบนเขาพระบาทและเมืองพระบาง (นครสวรรค์) บนยอดเขากบ นอกจากนี้เมืองบางพาน ยังเป็นเมืองชุมทางการคมนาคมทางบกที่สำคัญของเมืองสุโขทัย เพราะเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างกลางจากสุโขทัยกับกำแพงเพชร และยังเป็นเมืองหยุดพักระหว่างเส้นทางสายเมืองฉอดก่อนเข้าเมืองสุโขทัย ดังจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) ได้กล่าวถึง พระมหาธรรมราชาลิไท โปรดให้นิมนต์พระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพัน (เมาะตะมะ) เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองสุโขทัย จึงให้อมาตย์มุขมนตรีและราชนิกลูทั้งหลายไปรับสักการะบูชาตั้งแต่เมืองฉอดแล้วเดินทางมายังเมืองเชียงทอง ผ่านเมืองบางจันทร์ ข้ามแม่น้ำปิงโดยไม่ผ่านเมืองกำแพงเพชรมายังเมืองบางพานแล้วจึงเข้าถึงเมืองสุโขทัย หากได้ศึกษาจารึกฐานพระอิศวรแล้วจะพบว่าเมืองบางพานที่เจริญรุ่งเรืองในยุคสุโขทัย ยังคงความเป็นบ้านเป็นเมืองสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ 2053 พระยาศรีธรรมมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้สั่งให้มีการปรับปรุงถนนหลวง ขุดลอกท่อปู่พระยาร่วงเพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปิงเมืองกำแพงเพชรไปช่วยการทำนาที่เมืองบางพาน จากหลักฐานอันนี้แสดงให้เห็นวา่เมืองบางพานมีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานกว่าเมืองอื่น ๆ ในเขตเมืองกำแพงเพชรอย่างเมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เรื่องราวของเมืองบางพานมีคณุค่าเกินกวา่จะปล่อยให้สูญหาย จึงอยากวิงวอนให้ชาวกำแพงเพชรทุกคนร่วมใจกันผนึกกำลังขึ้นต่อสู้และทำทุกอย่างเพื่อรักษาเมืองบางพานเอาไว้ ให้รอดพ้นจากการยึดครองของพวกนายทุน

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, เมืองบางพาน

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน). สืบค้น 7 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1312&code_db=610001&code_type=07

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1312&code_db=610001&code_type=07

Google search

Mic

อ่างเก็บน้ำห้วยบง

อ่างเก็บน้ำห้วยบง

อ่างเก็บน้ำห้วยบง ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาด ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,5 และหมู่ที่ 7 ตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอ่างที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 ลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำสร้างด้วยดินเหนียวอัดแน่น ขนาดความยาว 100 เมตร ความสูงประมาณ 12 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,530

ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

ประวัติอำเภอพรานกระต่าย

ความเป็นมาของพื้นที่พรานกระต่าย ที่ผู้สูงอายุชาวพื้นบ้านเล่าสู่ลูกหลานบเนื่องกันมาหลายชั่วคน และยังมีร่องรอยวัตถุโบราณ ลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติพอเชื่อถือได้ว่าประมาณปี พ.ศ. 1420 เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพาน มีพระมหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบัน ไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองพานสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มมีลำน้ำคลองใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชร ไปสู่ลำน้ำยมที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่เมืองใหญ่และเป็นแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีบ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 6,602

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 7 (บ้านพรานกระต่าย)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอก เมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน โดยพาหนะช้าง ถึงเสด็จบ้านพรานกระต่ายเกือบเที่ยง 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 788

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 6 (เมืองบางพาน)

เมืองโบราณบางพาน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 101 กำแพงเพชร – พรานกระต่าย ก่อนเข้าสู้ตัวอำเภอให้เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน ทุ่งนา มุ่งหน้าเขาหาเขานางทองที่ตั้งเด่นอยู่กลางพื้นราบ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพระร่วงอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองบางพาน สภาพของเมืองบางพาน เป็นเมืองรูปรีโอบไปตามลำน้ำคลองใหญ่ ประมาณ 450+200 เมตร ภายในเมืองมีซากโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,196