ว่านธรณีสาร
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 10,517
[16.4258401, 99.2157273, ว่านธรณีสาร]
ว่านธรณีสาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
สมุนไพรว่านธรณีสาร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะขามป้อมดิน (เชียงใหม่), เสนียด (กรุงเทพมหานคร), กระทืบยอด (ชุมพร), ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช), ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), คดทราย (สงขลา), รุรี (สตูล), ก้างปลา (นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะของว่านธรณีสาร
- ต้นว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร
- ใบว่านธรณีสาร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแน่นในระนาบเดียวกันบริเวณปลายยอด มีใบย่อยประมาณ 15-30 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานเบี้ยว หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ปลายสุดมีติ่งแหลมขนาดเล็ก ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.52.5 เซนติเมตร แผ่นใบแผ่และบาง แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเทาแกมเขียว มีเส้นใบข้างประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 0.8-1.5 มิลลิเมตร ก้านมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหูใบมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 3-4 x 1.5-2 มิลลิเมตร
- ดอกว่านธรณีสาร ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม และเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับมีขนนุ่มที่ฐาน โดยดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ โคนสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูสั้น เชื่อมติดกัน อับเรณูแตกตามยาว ก้านดอกบาง ยาวได้ประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีแดงเข้ม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 2-3 x 1-2 มิลลิเมตร มีต่อม ขานฐานดอกเป็นต่อม 4 อัน เป็นรูปเหลี่ยมหรือรูปไตแบนบาง มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกจะห้อยลง เรียงกันอยู่หนาแน่นตามใต้ท้องใบ กลีบดอกเพศเมียมี 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 3.5-4 x 1.5 มิลลิเมตร มีรังไข่เป็นรูปกึ่งกลม เกลี้ยง ส่วนปลายมีพู 6 พู ภายในรังไข่มีห้อง 3 ห้อง และมีก้านชู 3 อัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
- ผลว่านธรณีสาร ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงติดอยู่คงทน ผลจะออกเรียงเป็นแนว ดูเป็นระเบียบอยู่ใต้ใบ โดยจะติดผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
สรรพคุณของว่านธรณีสาร
- รากมีรสจืดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ราก) หรือจะใบนำมาตำให้แหลกผสมกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้า ใช้พอกดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ใบ) ส่วนมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)
- ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก เพื่อลดไข้ รักษาอาการตัวร้อน รักษาพิษตานทรางของเด็ก รักษาแผลในปาก และยังเป็นยาขับลมในลำไส้อีกด้วย (ใบ) หรือจะใช้ใบนำมาขยำเอาน้ำใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก (ใบ)
- ช่วยแก้พิษตานซางเด็ก (ราก)
- ต้นใช้ภายนอกเป็นยาล้างตา (ต้น)
- ใบว่านธรณีสารนำมาตำ ใช้พอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน และแก้โรคเหงือก (ใบ)
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
- ต้นนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ใบ)
- ต้นใช้ฝนทาท้องเด็ก ช่วยแก้ขัดเขา (ต้น)
- ช่วยแก้นิ่วในไต (ใบ)
- ต้นใช้เป็นยาทาท้องเด็ก ช่วยทำให้ไตทำงานตามปกติ และเป็นยาแก้ไข้ (ต้น)
- ที่ประเทศมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้แผล แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ แก้บวมคัน (ใบ)
- ต้นใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน (ต้น)
- ใบใช้ตำพอกแก้ผื่นคันตามร่างกาย (ใบ)
- ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกฝี ดูดหนองรักษาแผลได้ดี (ใบ) ส่วนต้นใช้ฝนทาแก้ฝีอักเสบ พิษฝีอักเสบ (ต้น)
- ใบใช้ตำพอกแก้อาการบวม แก้ปวดบวม (ใบ)
- ใบใช้ตำผสมกับข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหัก (ใบ)
ประโยชน์ของว่านธรณีสาร
- ว่านธรณีสารจัดเป็นไม้มงคลโบราณที่นิยมนำมาใช้ประกอบทำน้ำมนต์ โดยใช้ใบว่านธรณีสารชุบกับน้ำมนต์ ใช้ประพรมเพื่อเป็นการปัดรังควานและเสนียดจัญไร จึงนิยมปลูกกันไว้ตามวัด ส่วนการปลูกตามบ้านมีบ้างประปราย
คนไทยโบราณเชื่อว่าถ้าปลูกต้นธรณีสารไว้กับบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น หากว่านธรณีสารงอกงามดี จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และยังเชื่อด้วยว่าว่านธรณีสารสามารถแผ่อิทธิคุณ ช่วยคุ้มครองอาณาบริเวณให้รอดพ้นจากมนต์ดำต่าง ๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้ สำหรับการปลูก ว่านชนิดนี้มักขึ้นในที่ร่ม ให้ใช้กระถางใบใหญ่ ส่วนดินที่ใช้ปลูก ให้ใช้ดินร่วน หากใส่ปุ๋ยคอกด้วยก็จะช่วยให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น และเมื่อเอาดินกลบหัวว่านอย่ากดดินให้แน่น และให้รดน้ำพอชุ่ม ๆ ซึ่งก่อนรดให้สวดด้วยคาถา "นโม พุทธยะ" จำนวน 3 จบก่อนทุกครั้ง เมื่อว่านตั้งตัวได้ควรให้ได้รับแสงแดดรำไร เพื่อหัวว่านจะได้มีขนาดใหญ่ และควรปลูกว่านธรณีสารในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด
คำสำคัญ : ว่านธรณีสาร
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านธรณีสาร. สืบค้น 29 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1745&code_db=610010&code_type=01
Google search
สะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,345
ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 11,582
ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,173
ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือและอีสานเรียก ถั่วดิน ส่วนประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเรียก ถั่วคุด เป็นต้น ซึ่งถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งสายพันธุ์ป่าซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ชนิดด้วยกัน และสายพันธุ์สำหรับปลูกซึ่งจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวเรียกว่า Hypogaea โดยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,307
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,633
ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,289
คำฝอยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 40-130 ซม. มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย บริเวณปลายเป็นหนามแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดกช่อ ออกดอกที่ปลายยอด และมีดอกย่อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกมีสีเหลือง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามคอยรองรับช่อดอก ส่วนผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดรูปทรงสามเหลี่ยมเล็กเป็นสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,685
ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,566
ปลาไหลเผือก จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักพบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 6,828
ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,312