บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้ชม 5,233

[16.4838832, 99.4916676, บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5]

             บ้านที่สวยที่สุดในอดีตของคลองสวนหมาก เห็นจะได้แก่บ้านพะโป้ หรือที่ชาวกำแพงเพชรเรียกกันติดปากในปัจจุบันนี้ว่า “บ้านห้าง ร.5”  ตั้งอยู่ริมคลองสวนหมาก คลองเล็กๆ ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง บริเวณวัดพระบรมธาตุ  เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
             พะโป้ เป็นพ่อค้าไม้และเป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่า ผู้เป็นพี่ชาย ได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสต้นวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙   ดังมีชื่อในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ และมีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย เคยมีชื่ออยู่ในนิยายอิงบรรยากาศจริงเรื่อง “ทุ่งมหาราช” ของ “เรียมเอง” หรือมาลัย ชูพินิจ นักเขียน ผู้ถือกำเนิดจากชุมชนปากคลองสวนหมากโดยตรง
             จากถนนพหลโยธินเลี้ยวเข้าตลาดนครชุม ขับรถผ่านบ้านเรือนและตลาดเล็กๆ ที่น่ารักไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงวัดสว่างอารมณ์ นั่งดื่มโอเลี้ยงอร่อยๆ ได้ต้นไม้อันร่มรื่นบริเวณหน้าวัด แล้วเดินเลียบคลองสวนหมากต่อไปเพียงเล็กน้อยก็ถึงบ้านพะโป้ ทันทีที่เห็นบ้านสองชั้นสูงตระหง่านตรงหน้า เราจะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของบ้านหลังนี้ได้โดยไม่มีใครต้องบอกเลย มันสูงใหญ่มาก สูงกว่าบ้านสองชั้นปกติทั่วไป มันตั้งอยู่บนเสาสูงเหนือพื้นและมีความกว้างถึง ๗ คูหา ข้างบนมีระเบียงไม้เป็นแนวยาว ทั้งเสาหลักและ ตัวราวกันตกกลึงเกลาอย่างบ้านฝรั่ง บนเชิงชายประดับด้วยลายลูกไม้ตามธรรมเนียมนิยม  ในยามน้ำลดหน้าแล้ง หากเดินออกไปยืนดูวิวจากระเบียง จะมองเห็นลำคลองและหาดทรายแสนสวยคั่นระหว่างบ้านและตัวตลาด เป็นภาพที่งดงามยากยิ่งที่จะลืมเลือน
             รูปทรงกลิ่นยุโรปของชาวบ้านให้นึกถึงคฤหาสน์แสนสวยที่เคยมีผู้คนพลุกพล่านอยู่ข้างใน มีนาย  มีบ่าว มีเครื่องใช้ราคาแพง สมฐานะพ่อค้าไม่ผู้ร่ำรวย ยิ่งผู้ใดได้อ่านหนังสือทุ่งมหาราชอันหมายถึงท้องถิ่นแถบคลองสวนหมาก ที่พระปิยะมหาราช (รัชกลาที่ ๕) เคยสะเด็จประพาสต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็จะยิ่งจินตนาการเห็นภาพลึกเข้าไปราวเดินอยู่ในบรรยากาศเมื่อครั้งกระโน้นอย่างสดใสเกินบรรยาย
             พะโป้ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.๒๔๖๐ หลังจากนั้นกิจการทำไม้ของพะโป้ก็ตกเป็นของบริษัททำไม้แห่งหนึ่ง   (ไม่ระบุชื่อ) จนเมื่อไม้มีไม่พอทำแล้ว บริษัทก็ปิดที่ทำการนี้ลงและบ้านห้างก็ถูกทิ้งนับตั้งแต่นั้น
             พะโป้ มีบุตรหลานหลายคน เช่น นางแกล นางทับทิม และนายทองทรัพย์ รัตนบรรพต นายทองทรัพย์ คนหลังเป็นพ่อของอาจารย์กัลยา รัตนบรรพต ที่คณะวารสารเมืองโบราณและคณะอาจารย์ชาวกำแพงเพชรเคยสัมภาษณ์  แม้บ้านพะโป้ในโลกปัจจุบันจะทรุดโทรมและเรือนบริวารก็ไม่มีให้เห็นเหมือนเมื่อครั้งเก่าก่อน แต่ก็คงประทับใจบ้านหลังนี้มาก เกิดความซาบซึ้งและอยากหวนกลับไปอีก

ภาพโดย : http://nakhonchum.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=196

คำสำคัญ : บ้านห้าง ร.5, บ่้านพระโป้

ที่มา : http://nakhonchum.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=196

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=314&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=314&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี ไฮไลท์สำคัญของทริปนี้  แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม  เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 636

วัดคูยาง

วัดคูยาง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,931

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 1,800

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,039

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,656

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,462

วัดศรีโยธิน

วัดศรีโยธิน

หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์วัดศรีโยธิน ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,697

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,529

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,517

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,964