วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 937

[16.497984, 99.514126, วัดป่ามืด]

             ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก มีวัดจำนวนมากมาย เรียงรายติดกัน กว่า 50 วัด มีทั้งวัดขนาดเล็ก วัดขนาดกลาง และวัดขนาดใหญ่ มีผู้คนพากันถามว่า ทำไมเมืองกำแพงเพชรมีวัดต่างๆ มากมายถึงขนาดนี้ คำตอบที่ชัดเจน คือเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองพระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองสูงสุดทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร สืบต่อกันมาหลายร้อยปี วัดป่ามืด อยู่ติดกับรั้วของอุทยานประวัติศาสตร์ ด้านหน้า เป็นวัดขนาดกลาง ที่น่าสนใจ วัดหนึ่งหน้าวัดมีบ่อศิลาแลง ที่ขุดไปสร้างวัดยาวติดต่อกัน ด้านซ้ายของวัดป่ามืด คือวัด พระนอน ทำให้วัดป่ามืดมิมีใครมาแวะชม พากันเลยไป ที่วัดพระนอนกันหมด ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ ในอุทยานประวัติศาสตร์ เมืองมรดกโลก เหตุที่เรียกว่าวัดป่ามืด เพราะในบริเวณวัด เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา เคยเข้าไปขุดไม้ไผ่ที่มาทำเป็นไม้ตะพด หรือไม้เท้า เพื่อมาส่งครู ราว พ.ศ. 2501 มีลักษณะมืดครึ้มมีเถาวัลย์ และไม้ขนาดใหญ่มากมาย ปกคลุมวัด พื้นดินเต็มไปด้วยใบไม้ ที่ร่วงหล่น เกลื่อน กล่นไปหมด จึงอาจเรียกกันว่าวัดป่ามืดด้านหน้ามีวิหารขนาดใหญ่ ฐานพระประธาน มีพระพุทธรูป ก่อด้วยศิลาแลง และมีร่องรอย ของพระพุทธรูปโกลน ศิลาแลง หลายองค์ องค์พระประธานเหลือเพียงแค่ฐาน ส่วนองค์พระและพระอุระ ตกอยู่ ใต้ต้นไม้ ที่ในกำแพงแก้ว วางกองไว้ถ้าไม่สังเกตจะไม่ทราบเลย ว่าเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ด้านหลังพระประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา ขนาดย่อม ที่เหลือเพียงฐาน มีลักษณะที่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์ มาเรียบร้อยแล้ว ด้านข้างเจดีย์ประธานมีเจดีย์ราย อยู่ทุกด้าน วางอยู่อย่างมีระเบียบด้านข้างวัด บริเวณใกล้กับพระวิหาร มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งขุดแลงขึ้นมาสร้างวัด มีลักษณะของบ่อน้ำที่งดงาม และตั้งใจ ที่จะขุดเพื่อเป็นบ่อน้ำ ติดกับบ่อน้ำ มีห้องน้ำอยู่สองห้องมีขนาดย่อม เป็นที่ชำระร่างกายและล้างเท้า ก่อนที่เข้า ไปสู่วัดป่ามืดซึ่งเหมือนกับวัดพระสี่อิริยาบถเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมของกำแพงเพชรด้านหลังวัดบริเวณ สังฆาวาส ไม่ปรากฏหลักฐานของ กุฏิ เหลืออยู่ คงจะทำด้วยไม้ และ ผุพังไปตามกาลเวลาด้านหลังสุดบริเวณป่าไผ่ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่อีกบ่อหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นน้ำเพื่อใช้ของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อศึกษา แต่ละวัดอย่างละเอียดแล้วทุกวัดมีจุดที่น่าสนใจน่าศึกษาทั้งสิ้นนักท่องเที่ยวที่มาชมอุทยาน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมีโอกาสได้ชมเพียง 3 วัดเท่านั้น คือวัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบส่วนวัดที่น่าสนใจ อีก 40 วัด มิได้มีโอกาส ให้นักท่องเที่ยวและนักประวัติศาสตร์ได้ชื่นชม
             ที่ตั้ง :  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
             รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ :อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
             
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
             
อัตราค่ายานพาหนะ
                          
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
                          รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
                          รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
                          รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
                          รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=279&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดป่ามืด

ที่มา : http://sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดป่ามืด. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=312&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=312&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,278

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 6,765

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 937

วัดอาวาสใหญ่

วัดอาวาสใหญ่

เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,025

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,076

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิดมาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,108

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,898

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นใจกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านวังอ้อ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล แรกเริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ในสมัยหลวงปู่แดง ท่านธุดงค์มาเร่ิมเกิดเป็นวัดเต็มรูปแบบเมื่อปีพุทธศักราช 2512 คือวัดวังอ้อ มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีพระอธิการ ปัญญา ประภัสสะโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ กุฏิ 6 หลัง วิหาร 1 หลัง เมรุ  1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง นอกจากนี้วัดวังอ้อยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธอีกแหล่งหนึ่งของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,284

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,533

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 5,936