วัดมะเคล็ด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,099
[16.5066751, 99.44552, วัดมะเคล็ด]
ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก มีวัดมากมายติดต่อกันรวม 40 วัดจากความยิ่งใหญ่อลังการและสิ่งก่อสร้างเป็นศิลาแลงล้วนๆ นับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญ จนกระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก นำความภูมิใจมาสู่ชาวกำแพงเพชรและชาวไทยทุกๆคนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองกำแพงเพชรวัดมะเคล็ดเป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่เรายังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วเราจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาก หายไปทั้งหมดวัดมะเคล็ด เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในที่สุดเราจึงพบวัดมะเคล็ดในลักษณะที่ขุดแต่งแล้ว มะเคล็ด เป็นชื่อของพันธุ์ไม้หายากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เนื่องจากในบริเวณวัดมีนี้มีต้นมะเคล็ดจำนวนมากจึงเรียกกันว่าวัดมะเคล็ด
วัดมะเคล็ดเป็นวัดที่มี ขนาดเนื้อที่กว้างขวางมาก นับสิบไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก ระยะทางจากทางเข้าวัดมาถึงพระวิหาร ระยะทางราว 50 เมตร ที่น่าสนเท่ห์คือ ไม่มีทางขึ้นพระวิหารด้านหน้าทั้งที่ฐานพระวิหารสูงราว 1 เมตรเราต้องเดินอ้อมพระวิหารขนาดใหญ่ ไปขึ้นบันไดด้านหลัง ซึ่งมีบันไดคู่กัน เมื่อขึ้นไปพระวิหารแล้วเราจึงเดินไปสำรวจด้านหน้าพระวิหารซึ่งเป็นลานกว้าง สามารถให้พุทธศาสนิกชน ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างสะดวก ถัดจากฐานวิหาร ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งราว 1 ฟุต เป็นที่ตั้งของ พระวิหาร มีวิหารขนาดใหญ่ราว 6 ห้อง มีอาสนะสงฆ์บนฐานวิหารมีฐานพระประธานขนาดใหญ่แต่ไม่มีพระประธานปรากฏให้เห็น หรือแม้แต่ร่องรอยห่างจากพระวิหารไปราว 5 เมตร มีเจดีย์ประธาน ฐานสี่เหลี่ยม เป็นศิลาแลงล้วนๆ ถัดขึ้นไปเป็นสถาปัตยกรรมย่อมุมไม้สิบสอง แต่ก่อสร้างด้วยอิฐลดหลั่นเป็นชั้นอย่างงดงาม พอถึงฐานองค์ระฆังไม่ปรากฎให้เห็นเนื่องจากพังทลายลงแล้วสิ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเจดีย์ประธานพบซุ้มพระพุทธรูปที่อยู่ในสภาพพอสังเกตได้เท่านั้นเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากถัดไปเป็นกำแพงแก้วในบริเวณเขตพุทธาวาสไม่พบเจดีย์รายเลยออกจะผิดสังเกตด้านขวาของวัดมะเคล็ดคือทางทิศเหนือพบหอพระ ขนาดย่อม ซึ่งดูจากหลักฐานเดิมแล้วน่าจะงดงามมากหรืออาจจะเป็นพระอุโบสถ แต่ไม่มีหลักฐานของใบเสมาให้เห็นเลยถัดมาทางด้านหน้าวัด มีศาลาน้อยใหญ่ 4 ศาลา เรียงรายซ้อนกันอยู่ ในลักษณะที่สร้างก่อนหลังมิได้อยู่ในสมัยเดียวกันศาลาใหญ่มีถึงแปดห้องมีขนาดกว้างขวางพอสมควร จะเห็นได้ว่าคงมีผู้คนมาทำบุญที่วัดมะเคล็ดมากพอควรเลยทีเดียว จึงทำศาลารองรับไว้หลายหลังบริเวณ ใกล้ๆศาลา มีบ่อน้ำขนาดพอเหมาะแต่เป็นทรงกลมซึ่งแตกต่างจากทุกวัดที่เป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รอบๆบ่อน้ำมีเสาศิลาแลง 4ต้นพอสรุปได้ว่ามีหลังคาและมีเครื่องทุ่นแรงในการโพงน้ำขึ้นมาใช้สังเกตภูมิปัญญาการสร้างบ่อน้ำต่ำลงไปในพื้นดินราว1เมตรจะพบศิลาแลงตลอดทั้งอุทยาประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีการก่อสร้างโดยนำศิลาแลงทำเป็นฐานและก่อ ศิลาแลงขึ้นมา อีก 1เมตรจนถึงพื้นดินปัจจุบันถัดจากนั้นก่อศิลาแลงเป็นทรงกลมอีกราว80 เซ็น นับว่าเป็นบ่อน้ำที่สมบูรณ์และแปลกอีกบ่อหนึ่งวัดมะเคล็ดเมื่อได้ยินชื่อและศึกษาในแผนที่แล้วคิดว่าเป็นวัดเล็กๆที่ไม่สำคัญแต่เมื่อทำการสำรวจแล้วพบว่าเป็นวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ และมีสถาปัตยกรรมที่ผู้สร้าง สร้างได้อย่างสมบูรณ์และลงตัวสมควรได้รับความสนใจและศึกษาอย่างลึกซึ้งและต่อเนื่อง
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท
อัตราค่ายานพาหนะ
รถจักรยานสองล้อ คันละ 10 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0011&code_type=
คำสำคัญ : วัดมะเคล็ด
ที่มา : http://www.sunti-apairach.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดมะเคล็ด. สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=305&code_db=610009&code_type=01
Google search
วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,507
เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,147
เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,281
ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,340
เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,721
เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,795
วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,457
ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,589
วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,180
อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,425