อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 1,838

[16.0392161, 99.1633838, อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ]

บทนำ
       อุทยานแห่งชาติ (national park) คือ อุทยานที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษา มักเป็นแหล่งสงวนที่ดินทางธรรมชาติ ที่ดินกึ่งธรรมชาติ หรือที่ดินที่สร้างขึ้น ตามประกาศหรืออยู่ในความครอบครองของรัฐเอกราช แม้ประเทศแต่ละแห่งจะนิยามอุทยานแห่งชาติของตนไว้ต่างกัน แต่มีแนวคิดร่วมกัน คือ การสงวนรักษา "ธรรมชาติแบบป่า" ไว้เพื่อคนรุ่นหลัง และเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของชาติ ส่วนในระดับสากลนั้น องค์การระหว่างประเทศชื่อ "สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ" หรือ "ไอยูซีเอ็น" (International Union for Conservation of Nature: IUCN) และหน่วยงานในสังกัด คือ คณะกรรมการโลกว่าด้วยพื้นที่คุ้มครอง (World Commission on Protected Areas) เป็นผู้นิยามอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่คุ้มครอง ประเภทหมวด 2 ซึ่งจัดว่าเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลมีทรัพยากรธรรมชาติสวยงามเป็นที่น่าอัศจรรย์เหมาะสำหรับการพักผ่อน มีคุณค่าทางการศึกษาหาความรู้ เช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืช-สัตว์หายาก หรือมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม
       อุทยานแห่งชาติที่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้วจะต้องมีขนาดพื้นที่อย่างน้อย 10 ตารางกิโลเมตร บริหารงานโดยรัฐบาลกลางที่มิใช่รัฐหรือระดับจังหวัด มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเพียงพอที่จะสามารถป้องกันการบุกรุกได้อย่างเด็ดขาด ข้อสำคัญคือ จะต้องอนุญาตให้ไปท่องเที่ยวได้และจะต้องรักษาธรรมชาติให้คงสภาพดั้งเดิมอย่างมากที่สุด
       อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยาน เป็นคำที่มีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้งนี้มักมีความเข้าใจสับสนอยู่เสมอ โดยคำว่า "วนอุทยาน" (Forest Park) จะหมายถึง พื้นที่ขนาดเล็ก จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ โดยจะทำการปรับปรุงตกแต่งสถานที่เหล่านี้ให้เหมาะสม มีความสวยงามและโดดเด่นในระดับท้องถิ่น  จุดเด่นอาจจะได้แก่ น้ำตก หุบเหว หน้าผา ถ้ำ หรือหาดทราย เป็นต้น 

ความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
       หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศไทยมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เป็นเหตุให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า เพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นไร่น่าและเพื่อการเพาะปลูกประกอบกับความเจริญเติบโตทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การตัดไม้ ทำลายป่า และการล่าสัตว์อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
       ในที่สุดรัฐบาลจึงตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการสงวนและคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่า จึงมีการดำเนินการจัดตั้งสวนรุกขชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ.2468 ได้มีการจัดตั้งป่าภูกระดึงขึ้นเป็นวนอุทยานแห่งแรก
       จนกระทั่งปี พ.ศ.2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ และให้ความสนใจในเรื่องการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
       ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณากำหนด โครงการที่จะจัดพื้นที่ป่าให้เป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 14 แห่ง เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติไว้ได้ ดังนี้
       1. ขอการจัดสรรที่ดินในบริเวณป่ารวม 14 แห่ง เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
       2. ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศเขตหวงห้ามในบริเวณป่า รวม 4 แห่ง เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ คือ ป่าเทือกเขาสลอบ ป่าเขาใหญ่ ป่าทุ่งแสลงหลวง ป่าดอย-อินทนนท์
       3. ขอกำหนดป่าที่จัดตั้ง เป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อ 1 ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง และสงวนสัตว์ป่าเว้นแต่ป่าภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งได้กำหนดให้เป็นป่าสงวนไว้แล้ว
       วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2502  คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีประกาศพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ การขยายหรือเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ รวมตลอดถึงการคุ้มครองและการดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ
       และเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เพื่อระวังไม่ให้มีการนำไม้ออกจากป่าและเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าไม้ พร้อมทั้งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในอันที่จะยับยั้งในการที่จะนำไม้ออกจากป่า รวมทั้งการสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทาน และการสิ้นสุดสัมปทาน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นเหตุให้มีการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจากป่าสงวนแห่งชาติ (สำนักอุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)
       อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็ก ๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยาน  มีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้วย

ประวัติความเป็นมาอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
       นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จากการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือน้ำตกแม่กีซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่าง ๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ
       สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธงชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ โดยลำน้ำแม่วงก์ หรือแม่เรวา เป็นแม่น้ำหรือลำน้ำสายหลักของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมีระบบนิเวศพิเศษ มีลักษณะเป็นลำธารที่ราบมีเกาะแก่งต่าง ๆ มากมายเป็นที่ตั้งของป่าละเมาะอันเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่สำคัญและหายากใกล้สูญพันธุ์ ขณะที่ป่าริมน้ำเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน แก่งลานนกยูง เป็นที่อยู่และจับคู่ผสมพันธุ์ของนกยูงพันธุ์ไทยที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย รวมถึงนากใหญ่ขนเรียบ ขณะที่ในลำน้ำพบปลาน้ำจืดอีกกว่า 60 ชนิด เช่น ปลาตะพากส้ม ปลาเลียหินสภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
       ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิตำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 8.9 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 38.1 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี (อุทยานแห่งชาติ, 2562) 

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
       อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ 558,750 ไร่ หรือ (894 ตร.กม.) สามารถจำแนกลักษณะพืชพรรณและสัตว์ป่า ลักษณะพืชพรรณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ประกอบด้วย
       1. ป่าดิบเขา ประมาณ 0.88% ขึ้นปกคลุมบนยอดเขาสูงที่มีสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี ที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบได้ในทุกภาคของประเทศไทยในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ไม้วงก่อ Fagaceae และ Gymnosperm ได้แก่ พวกขุนไม้ สนสามพันปี ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เป้ง สะเดา ขมิ้นต้น ป่าดิบเขาในประเทศไทย อาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 สังคมย่อย คือ ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ พบที่ระดับความสูง 1,000 – 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางและป่าดิบเขาระดับสูงพบที่ระดับความสูง 2,000 เมตร
       2. ป่าดิบแล้ง ประมาณ 21.85% ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 ม.ม. พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียนโครงสร้างของป่าดงดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอด มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผสมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา ป่าชนิดนี้เหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายประเภท อาทิ ลิง ชะนีมงกุฎ กระทิง วัวแดง เนื้อทราย และ ไก่ฟ้าพญาลอ เป็นต้น เนื่องจากมีพืชอาหารมากอีกทั้งป่ายังไม่ชื้นจัดจนเกินไป นับเป็นป่าที่มีคุณค่าต่อประชาชนท้องถิ่นเพราะสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารและเก็บหาของป่าที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งพืชสมุนไพร เช่น เร่ว กระวาน และว่านต่าง ๆ ป่าดงดิบแล้งเป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบที่มีพืชผลัดใบขึ้นผสมอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้นไม้ส่วนหนึ่งพากันผลัดใบในฤดูแล้ง ปัจจัยหลักที่กำหนดการคงอยู่ของป่าชนิดนี้คือ ต้องมีช่วงแห้งแล้งชัดเจนอย่างน้อย 3-4 เดือน ดินลึกกักเก็บน้ำได้ดีพอสมควร เพื่อเอื้ออำนวยให้พรรณไม้บางชนิดคงใบอยู่ได้ตลอดฤดูแล้ง ปกติจะพบป่าดงดิบแล้งที่ระดับความสูงประมาณ 100-800 เมตร
       3. ป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณชื้นประมาณ 9.24%
       4. ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 59.05% ป่าเบญจพรรณหรือป่าผมผลัดใบมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ทั้งหมดมีการผลัดใบในฤดูแล้ง ดินมักเป็นดินร่วนทราย พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ระดับความสูง 50 – 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำฝน 1,200 – 1,300 มม./ปี
       5. ป่าเต็งรัง ประมาณ 6.77% ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมด กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเมื่อไฟป่าเกิดขึ้น หลักจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน   
       6. ทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง ประมาณ 2.21 %พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น (อุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์) 

ทรัพยากรสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ ดังนี้
       1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์
       2. สัตว์จำพวกนก จำนวน 305 ชนิด 53 วงศ์
       3. สัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 22 ชนิด 11 วงศ์
       4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 7 ชนิด 4 วงศ์
       5. ปลา จำพวกปลาน้ำจืด จำนวน 68 ชนิด 14 วงศ์

หน่วยงานในพื้นที่
       1. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.1 (ด่านตรวจ กม.57)
       2. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.2 (ปางข้าวสาร)
       3. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.3 (เขาเขียว)
       4. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.4 (แม่เรวา)
       5. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.5 (ปางสัก)
       6. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.6 (ซับตามิ่ง)
       7. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.7 (คลองเสือข้าม)
       8. หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น

จุดชมวิวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จังหวัดกำแพงเพชร
       1. เขาโมโกจู
       2. ช่องเย็น
       3. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ (เหมาะสำหรับนักดูนก)
       4. จุดชมวิวภูสวรรค์ (1,429 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล)
       5. จุดชมวิวกิ่วกระทิง
       6. ขุนน้ำเย็น
       7. แก่งนกยูง
       8. แก่งผานางคอย

เขาโมโกจู
       ยอดเขาโมโกจู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตก ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 38 กิโลเมตร เป็นยอดเขา ที่นักนิยมการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ปีนเขา ต้องการที่จะไปเยือนสักครั้ง ด้วยความสูง 1,964 เมตร
       คำว่า โมโกจู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก จุดเด่นบนยอดโมโกจูก็คือ หินที่เป็นลักษณะคล้ายเรือใบ หรือที่นักท่องเที่ยวเรียกกันว่า หินเรือใบ ประกอบกับบริเวณหินเรือใบ สามารถชมวิวได้รอบตัว 360 องศา ซึ่งจะสวยงามทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต้องการที่จะมาพิชิตหินเรือใบให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่การจะหาโอกาสมาเที่ยวที่นี่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กำหนดให้มีกิจกรรมเดินป่าระยะไกล (โมโกจู) แค่ระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
       ทางอุทยานฯ จะเปิดเส้นทางเดินป่าเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พิชิตยอดเขาโมโกจู สัมผัสกับความงดงามของผืนป่า ซึ่งประกอบไปด้วยป่ากว้าง 3 แห่งด้วยกัน คือ ผืนป่าคลองลาน ผืนป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าอุ้มผาง นักท่องเที่ยวที่พิชิตยอดเขาโมโกจู มักจะไม่พลาดที่ถ่ายภาพหินรูปเรือใบ ที่ตั้งเด่นตระหง่านอยู่ริมยอดเขา มองด้านล่างก็จะเห็นไอหมอกที่ปกคลุมผืนป่า เป็นอีกหนึ่งภาพที่งดงามยิ่งนักเท่านั้นเนื่องจากบนยอดเขามักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ นับได้ว่าเป็นมีผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญมากมาย อาทิเช่น มะค่าโมง สัก ประดู่ ยางแดง เต็งรัง เป็นตัน อีกทั้งยังมีสัตว์ป่าที่หายาก เช่น ช้างป่า กระทิง เสือ กวาง เก้ง หมี แมวลาย และนกต่าง ๆ โดย ด้วยสภาพเส้นทางเดินขึ้นเขา ที่มีความลาดชันไม่ต่ำกว่า 60 องศา และใช้เวลาในการเดินทางไป – กลับ ใช้ระยะเวลา 5 วัน ซึ่งต้องพักแรมในป่าตามจุดที่ได้มีการกำหนดไว้ นักท่องเที่ยวจึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกเดินทางจริง
       นอกจากนี้ในเขตอุทยานฯยังมีน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามหลายแห่ง อาทิ น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอุทยานฯ มี 9 ชั้น สูงถึง 900 เมตร  น้ำตกแม่รีวา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมาก มี 5 ชั้น และน้ำตกแม่กี มีความสูงประมาณ 200 เมตร แบ่งเป็น 9 ชั้น น้ำตกแห่งนี้ได้รับคำกล่าวชมจากหนังสือ ASEAN MAGAZINE เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเอเชีย การเข้าถึงน้ำตกเหล่านี้ต้องเดินป่าอย่างน้อย 3 วัน
       น้ำตกแม่รีวา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 21 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมาก มี 5 ชั้น รถเข้าไม่ถึงเช่นเดียวกันต้องใช้เวลาใน การเดินทางไป-กลับ 2 วัน
       น้ำตกแม่กี เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับน้ำตกแม่รีวาและน้ำตกแม่กระสา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาถนนธงชัย การเข้าไปยังน้ำตกต้องเดินเท้าเวลาไป-กลับ 3-4 วัน
       น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 9 ชั้น สูง 900 เมตร อยู่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 18 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินเท้าไป-กลับ 3-4 วัน

ข้อมูลการเดินทาง
       1. แต่ละกลุ่มต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 12 คน
       2. ต้องแบกสัมภาระเอง แต่หากท่านต้องการลูกหาบโปรดติดต่ออุทยานฯ ล่วงหน้า เพื่อขอจ้างลูกหาบโดยมีอัตราค่าตอบแทน 300 บาท/คน/วัน (ลูกหาบแบกสัมภาระไม่เกิน 20 กก./คน)
       3. ต้องเตรียมเสบียงส่วนตัวให้เหมาะสมกับระยะเวลาการเดินทาง หากท่านใช้บริการลูกหาบ ท่านต้องเตรียมเสบียงสำหรับลูกหาบด้วย
       4. ในเช้าวันเดินทาง (07.00 น.) ท่านต้องมาติดต่อลงทะเบียนเดินป่าระยะไกลที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เพื่อประชุมชี้แจงการเดินป่าระยะไกล รับทราบข้อปฏิบัติ นับจำนวนกระป๋อง ขวดแก้ว พลาสติก รวมถึงขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้ามาในเขตอุทยานฯ โดยเด็ดขาด) เพื่อนำกลับออกมาทิ้งข้างนอก โดยออกเดินทางจากที่ทำการอุทยานฯ เวลา 08.00 น.
       5. เมื่อเดินกลับออกมาแล้ว ให้รายงานตัวที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อตรวจนับจำนวนขยะและตอบแบบสอบถาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการเดินป่าระยะไกลครั้งต่อไป (สำนักอุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)

ช่องเย็น
       ช่องเย็น กม.ที่ 93 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 28 กิโลเมตร เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สูง 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีสายลม พัดผ่านและหมอกปกคลุมอยู่เสมอ อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และเป็นที่ดูพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกจุดหนึ่ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล เนื่องจากบริเวณนี้เป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern)
       นอกจากช่องเย็นจะเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาเยือนเนื่องจากเดินทางง่าย สะดวก และสวยงามแล้วยังเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาตั้งเต็นท์และพักแรมอีกด้วย ซึ่งสถานที่แห่งนี้ยังเพียบพร้อมไปด้วยบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์
       - บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
       อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์ไปเอง ระบบไฟฟ้า มีใช้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ส่วนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
       - ลานกางเต็นท์
       นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนที่ศูนย์บริการฯ และแจ้งความประสงค์สำรองที่พักเต็นท์ หรือจองเต็นท์ใด ๆ ก่อนทั้งสิ้น ณ เวลานั้น เท่านั้นการสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ มีเต็นท์ให้เช่าขนาดเดียว คือ เต็นท์โดม พักได้ 1-3 คน หลังละ 225 บาท ไม่รวมชุดเครื่องนอนใด ชุดเครื่องนอนมีให้เช่า หมอน 10 บาท แผ่นรองนอน 20 บาท และถุงนอน 30 บาท /ชิ้น
       นอกจากนี้ช่องเย็น ยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย  บริเวณ ช่องเย็น มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ แต่จะต้องเตรียมอุปกรณ์มาเอง คือ ผ้าพลาสติก เสื้อกันหนาว โลชั่นกันแมลง และถุงสำหรับนำขยะลงไปทิ้ง เพราะช่องเย็นไม่สามารถกำจัดขยะได้ ตะเกียงหรือไฟฉาย เพราะไฟฟ้ามีให้ใช้ตั้งแต่เวลา 17.00 - 21.00 น.  ช่องเย็นยังมีจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม คือ จุดชมวิวภูสวรรค์ สามารถชม วิวได้ 360 องศา

จุดชมวิวกิ่วกระทิง
       จุดชมทิวทัศน์ กม. 57-115 : ตลอดเส้นทางคลองลาน-อุ้มผาง ระหว่างกิโลเมตรที่ 57 - 115 มีจุดชมทิวทัศน์หลายแห่ง เช่น จุดชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 81 กิโลเมตรที่ 87 กิโลเมตรที่ 93 กิโลเมตรที่ 102 และกิโลเมตรที่ 115 แต่ละแห่งสามารถมองทัศนียภาพที่สวยงามมองเห็นทิวเขาไกลสุด โดยในจุดชมวิวกิ่วกระทิงนั้นตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 81 ไปตามถนนคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 16 กิโลเมตร จะถึงบริเวณหน้าผาเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของป่ารอบ ๆ ได้อย่างสวยงาม

ขุนน้ำเย็น
       ขุนน้ำเย็นเป็นจุดชมวิวของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์อีกที่หนึ่งที่เปิดในนักท่องเที่ยวสามารถกลางเต็นท์นอนได้ ซึ่งมีลานกลางเต็นท์ขุนน้ำเย็น-อยู่ห่างจากอุทยาน 24 กิโลเมตร (กิโลที่ 89) เป็นสถานที่กางเต็นท์เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตก และสามารถชมทัศนียภาพของป่าดงดิบเขาได้ 360 องศา เป็นจุดหนึ่งที่สมารถรับนักท่องเที่ยวกางเต็นท์พักแรมได้จำนวน 200 คน ต่อวัน มีห้องสุขาไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว เหมาะแก่การมาพักผ่อนกับครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง

แก่งผานางคอย
       แก่งผานางคอยเป็นแก่งน้ำและแก่งหิน จากถนนคลองลาน-อุ้มผาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 1,400 เมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 400 เมตร จะถึงบริเวณแก่งหินขนาดใหญ่ที่มีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน ซึ่งเป็นลำน้ำสายหนึ่งในหลาย ๆ สายที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง จากบริเวณแก่งเดินขึ้นไปตามลำน้ำอีกประมาณ 350 เมตร จะถึง น้ำตกผาคอยนาง น้ำตกขนาดเล็กที่เด่นและสะดุดตา มีน้ำตก 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร และบริเวณใกล้น้ำตกสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ด้วย

ข้อปฏิบัติในการเล่นน้ำ
      1. ห้ามลงเล่นน้ำในบริเวณที่มีป้ายเตือน
      2. เด็กลงเล่นน้ำ ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองโดยใกล้ชิด
      3. โปรดลงเล่นน้ำด้วยความระมัดระวัง
      4. หากพบสิ่งผิดปกติโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน

คำสำคัญ : แม่วงก์ อุทยานแห่งชาติ

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ . สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=214&code_db=610002&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=214&code_db=610002&code_type=05

Google search

Mic

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หมู่ที่ 18 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านสวนส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลคลองลานพัฒนา ตามประวัติเดิมมีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงอยู่มาก่อนคาดว่าอาจเป็นร้อยปี ต่อมาจึงเริ่มมีคนไทยพื้นราบเข้ามาอยู่รวมกับคนไทยภูเขา ที่อยู่คู่กับคลองลานมาตั้งแต่สมัยยังเป็นป่าอยู่ ปัจจุบันบ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สิ่งที่ยังบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคือ ภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญๆ 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,607

น้ำตกเพชรจะขอ

น้ำตกเพชรจะขอ

น้ำตกเพชรจะขอ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีความสูงเกือบ 100 เมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ในหน้าแล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองเพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,280

น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

น้ำตกคลองน้ำไหล ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แม้จะพื้นที่อันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็ยังมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 422

น้ำตกเสือโคร่ง

น้ำตกเสือโคร่ง

น้ำตกเสือโคร่ง อยู่บริเวณ กม.ที่ 99 ของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สำหรับน้ำตกเสือโคร่ง ต้องเดินไป 1 กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปน้ำตกทั้งสองแห่งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องเดินป่าระยะไกลซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จะจัดทำตารางกำหนดเวลาเดินป่าระยะไกลประจำปีซึ่งนักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกติกาการเดินทางอย่างเคร่งครัด และควรติดต่อจองเวลาการเดินทางและขอคำแนะนำในการเตรียมตัวและอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่อุทยานให้พร้อม ทางอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,280

ทรัพยากรธรรมชาติ : อุทยานแห่งชาติคลองลาน

ทรัพยากรธรรมชาติ : อุทยานแห่งชาติคลองลาน

จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารสายต่างๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด กำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 700 ปี และเป็นเมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก่อนเป็นจังหวัดกำแพงเพชรเคยมีเมืองเก่า 2 เมือง ได้แก่ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2534 และจังหวัดกำแพงเพชรยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งป่าไม้ นก สัตว์ต่าง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 427

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน

อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,749

น้ำตกแม่กระสา

น้ำตกแม่กระสา

น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่มีความสวยงามมาก นอกจากนี้ยังเป็นน้ำตกที่สูงที่สูงที่สุดในบริเวณนี้ ด้วยความสูงกว่า 1,000 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น และแต่ละชั้นก็มีความสวยเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามระดับชั้น โดยมีบางชั้นที่มีความสูงถึง 270 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,345

สวนเกษตร สวนทุเรียน สวนผลไม้

สวนเกษตร สวนทุเรียน สวนผลไม้

ก่อตั้งโดย คุณมงคล ตั้งมงคลกิจการ โดยเดิมทีคุณมงคลเป็นผู้รับทำเครื่องประดับ แต่มีที่ทางอยู่ที่ตำบลคลองน้ำไหล ประมาณ 4 ไร่ จึงได้เริ่มต้นลงปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์หลงลับแล มะปรางพันธุ์มะยงชิด เงาะ ขึ้นและดูแลสวนเรื่อยมาจนปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,211

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็ก ๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้วย

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,838

น้ำตกเต่าดำ

น้ำตกเต่าดำ

"น้ำตกเต่าดำ" อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากที่ทำการอุทยานลึกเข้าไปประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำตกตลอดทั้งปี เส้นทางค่อนข้างลำบากมาก ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยง (บ้านโละโคะ) และหมู่บ้านม้ง (บ้านป่าคา) ซึ่งอาศัยอยู่ที่นี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว น้ำตกเต่าดำ ตั้งชื่อตามเต่าดำที่พบบริเวณนั้น ตอนนี้หาดูได้ยากมาก แต่ก็ยังมีอยู่บ้างแต่ก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว น้ำตกเต่าดำเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดแล้วใน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าแห่งนี้ ยังมีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามมาก อาจเป็นเพราะเส้นทางที่ยากลำบาก ทำให้คนไม่ค่อยเข้ามากัน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2019 ผู้เช้าชม 1,740