น้ำตกเสือโคร่ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,190
[16.0390676, 99.2312364, น้ำตกเสือโคร่ง]
น้ำตกเสือโคร่ง อยู่บริเวณ กม.ที่ 99 ของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สำหรับน้ำตกเสือโคร่ง ต้องเดินไป 1 กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปน้ำตกทั้งสองแห่งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องเดินป่าระยะไกลซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จะจัดทำตารางกำหนดเวลาเดินป่าระยะไกลประจำปีซึ่งนักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกติกาการเดินทางอย่างเคร่งครัด และควรติดต่อจองเวลาการเดินทางและขอคำแนะนำในการเตรียมตัวและอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่อุทยานให้พร้อม ทางอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง
สอบถามข้อมูลได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กิโลเมตรที่ 65 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 65 อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180 โทร. 055719010-1 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 025795734, 025797223 หรือ www.nationalpark.go.th หรือ ตู้ ป.ณ. 29 อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180
คำสำคัญ : น้ำตก
ที่มา : http://sununtar3265.blogspot.com/2014/06/blog-post_9.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). น้ำตกเสือโคร่ง. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=235&code_db=610002&code_type=05
Google search
บ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หมู่ที่ 18 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านสวนส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลคลองลานพัฒนา ตามประวัติเดิมมีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงอยู่มาก่อนคาดว่าอาจเป็นร้อยปี ต่อมาจึงเริ่มมีคนไทยพื้นราบเข้ามาอยู่รวมกับคนไทยภูเขา ที่อยู่คู่กับคลองลานมาตั้งแต่สมัยยังเป็นป่าอยู่ ปัจจุบันบ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สิ่งที่ยังบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคือ ภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญๆ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,245
น้ำตกคลองน้ำไหล ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แม้จะพื้นที่อันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็ยังมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 362
ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ อันได้แก่ เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอ และกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลาน และ อำเภอขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่าย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 913
น้ำตกเพชรจะขอ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีความสูงเกือบ 100 เมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ในหน้าแล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองเพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,049
จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารสายต่างๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด กำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 700 ปี และเป็นเมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก่อนเป็นจังหวัดกำแพงเพชรเคยมีเมืองเก่า 2 เมือง ได้แก่ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2534 และจังหวัดกำแพงเพชรยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งป่าไม้ นก สัตว์ต่าง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน
เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 364
ก่อตั้งโดย คุณมงคล ตั้งมงคลกิจการ โดยเดิมทีคุณมงคลเป็นผู้รับทำเครื่องประดับ แต่มีที่ทางอยู่ที่ตำบลคลองน้ำไหล ประมาณ 4 ไร่ จึงได้เริ่มต้นลงปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์หลงลับแล มะปรางพันธุ์มะยงชิด เงาะ ขึ้นและดูแลสวนเรื่อยมาจนปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,962
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็ก ๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,676
ประเพณีเวียนเทียนเจดีย์ (หม่าบู๊โต๊ะ) เป็นพิธีความเชื่อของชุมชนเพื่อขอขมาสิงสาราสัตว์ ไม่ให้ทำร้ายให้แคล้วคลาดปลอดภัย ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เจ้าทาง ผีบรรพบุรุษ พระแม่ธรณี พระแม่โพสพ (ชาวกะเหรี่ยง นับถือว่าข้าวยิ่งใหญ่ที่สุด) ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่งบุญให้ดูแลลูกหลานให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อาหารของชาวกะเหรี่ยง จัดทำด้วยวัตถุดิบในพื้นที่ท้องถิ่น ปลอดสารพิษ เช่น ปลา ผัก เครื่องเทศ ปรุงอาหารแบบเรียบง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยดูแลสุขภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่ทำให้เป็นโรคอ้วน
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,344
น้ำตกเสือโคร่ง อยู่บริเวณ กม.ที่ 99 ของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สำหรับน้ำตกเสือโคร่ง ต้องเดินไป 1 กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปน้ำตกทั้งสองแห่งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องเดินป่าระยะไกลซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จะจัดทำตารางกำหนดเวลาเดินป่าระยะไกลประจำปีซึ่งนักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกติกาการเดินทางอย่างเคร่งครัด และควรติดต่อจองเวลาการเดินทางและขอคำแนะนำในการเตรียมตัวและอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่อุทยานให้พร้อม ทางอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,190
สืบเนื่องจากผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเทพ ไสยานนท์) ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2521 ว่าน้ำตกคลองลาน อำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธารขาดการดูแลรักษา ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลาย ลงไป ทั้งนี้อยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 1,590