งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้ชม 49
[16.7557014, 98.4335232, งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย ]
เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะจัดงานประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ หมู่ 2 ต.ท่าสายลวด ซึ่งภายในงานชมการแสดงซื้อสินค้า OTOP นานาชนิดและสินค้าราคาถูกต้อนรับฤดูหนาว ชมการแสดงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยเทิดองค์ราชันย์พร้อมหางเครื่อง การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค ชมมวยไทยปะทะมวยพม่า ตระการตาและตื่นใจกับไฟกระทงไหลขึ้นเหนือ การประกวดนางนพมาศ ไทย-พม่า การแสดงวงโปงลางต่าง ๆ
สำหรับประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เทศบาลตำบลท่าสายลวดจะลอยกระทงแปลกกว่าจังหวัดอื่น ๆ โดยจะลอยกระทงจากทิศใต้ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นขนบประเพณียาวนานของสองฝั่งเมยของชาวไทยและชาวพม่า
คำสำคัญ : ลอยกระทง
ที่มา : http://web.tak.go.th/page/tourist/acticle/17
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย . สืบค้น 19 พฤษภาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2015&code_db=610004&code_type=TK007
ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ได้ออกผลผลิตและทำการเก็บเกี่ยวแล้ว และจะต้องมีการเชิญผู้ที่ชาวม้งเคารพรักนับถือไปร่วมการสืบสานประเพณี “กินข้าวใหม่ ดื่มเหล้าเขาวัว” ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ในช่วงที่เรียกว่า ปลายฝน ต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี โดยผู้นำชาวม้งจะมีการนำข้าวใหม่ไปเชิญผู้ที่เคารพนับถือในท้องถิ่นหลายๆท่านเพื่อให้ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 57
เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะจัดงานประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ หมู่ 2 ต.ท่าสายลวด ซึ่งภายในงานชมการแสดงซื้อสินค้า OTOP นานาชนิดและสินค้าราคาถูกต้อนรับฤดูหนาว ชมการแสดงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยเทิดองค์ราชันย์พร้อมหางเครื่อง การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค ชมมวยไทยปะทะมวยพม่า ตระการตาและตื่นใจกับไฟกระทงไหลขึ้นเหนือ การประกวดนางนพมาศ ไทย-พม่า การแสดงวงโปงลางต่าง ๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 49
ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 55
ค่าว คือ กลอน คำประพันธ์พื้นบ้าน ที่ต้องอาศัยความชาญฉลาดของผู้แต่งในด้านคำสัมพันธ์ เสียงเสนอะ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาถิ่นด้วย ชุมชนหัวเดียด เป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาก เคยเป็นย่านที่มีบริษัทค้าไม้ของฝรั่งถึงสองแห่ง จึงทำให้คนลาวย่านหัวเดียดเก่งในด้านกิจการป่าไม้ การล่องซุงไม้สัก และ ทำการทางเรือ ด้วยการนำสินค้าจากภายในย่านและชุมชนโดยรอบ ขนลงเรือชะล่าล่องลงไปขายย่านตลาดลาวที่เมืองปากน้ำโพ เราเรียกพ่อค้าที่ทำกิจการจนมีฐานะว่า "นายฮ้อยเรือ"
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 50
ประเพณีแหล่ส่างลอง ประกอบพิธีที่วัดแม่ซอดน่าด่าน อำเภอแม่ระมาด ช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม – ต้นเดือนเมษายน
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 921
งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก สำหรับประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะลอยกระทงแปลกกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยจะลอยกระทงจากทิศใต้ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นขนบประเพณียาวนานของสองฝั่งเมยของชาวไทยและชาวพม่า
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 486