กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 15,399

[16.4821705, 99.5081905, กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก]

            ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย
            คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน
            พระกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงซุ้มกอ ไปถึงกำแพงลูกแป้ง ก็ไม่ต่างกัน ภาพพระในคอลัมน์วันนี้ เป็นพิมพ์กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก ดูแต่ภาพถ้าไม่บอกขนาด ก็คงไม่รู้ว่า ในจำนวนเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พิมพ์เล็ก แม่พิมพ์หนึ่งเคยเห็นหลายองค์พอคุ้นตา แต่พิมพ์เล็กองค์นี้ เล็กกว่าเส้นสายลายพิมพ์ โดยเฉพาะเส้นซุ้มรอบองค์พระ ก็แปลกตากว่า จะแยกเป็นอีกพิมพ์ พิมพ์จิ๋ว ก็ไม่ถนัดปาก เสน่ห์ของเม็ดขนุนพิมพ์เล็กองค์นี้ ก็คือ เนื้อหาคราบไคล ส่วนที่สึกช้ำพองาม หนั่นแน่น นุ่มนวล เข้ามาตรฐานเนื้อทุ่งแท้ๆ ส่วนที่เป็นพื้นหนังด้านหน้า “รารัก” และฝ้าดิน ยืนยันความเก่าแท้ชัดเจน ใครที่เคยเกี่ยง พระกำแพงเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่ เอาเข้าพวงพระชุดเบญจภาคีแล้วเกะกะเพราะความใหญ่ ถ้าเจอขนาดพิมพ์เล็ก องค์นี้ แล้วก็...ใช่เลย หรือมั่นใจมาก อยากจะแขวนเดี่ยว ก็เบาๆ สบายๆอย่าลืมว่า พระชุดกำแพงทุ่งเศรษฐีทุกองค์ โดยเฉพาะพระกำแพงซุ้มกอ “พี่ชุม” (ประชุม กาญจนวัฒน์) เคยประทับตราเขย่ายั่วใจ “มึงมีกูไว้ไม่จน”
            พี่ชุม ค้นคว้าอธิบายไว้ในหนังสือภาพพระเครื่องว่า พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระทุ่งเศรษฐีศิลปะแบบสุโขทัย พบครั้งแรกจากกรุวัดบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ.2472 โดยมีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ท่านเก่งทางอ่านจารึกโบราณ เป็นผู้ค้นพบ จนอาจถือได้ว่า พระชุดทุ่งเศรษฐี เป็นพระเครื่องชุดแรกในประเทศไทย ที่มีหลักฐานการค้นพบ พระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้สถาปนาไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ราวปี พ.ศ.2470 มีผู้ค้นพบพระกำแพงเม็ดขนุน ที่กรุวัดพิกุล และกรุกลางทุ่ง จากนั้นก็มีคนขุดค้นเรื่อยมา จนปี พ.ศ.2505 พบพระกำแพงเม็ดขนุนที่กรุวัดอาวาสน้อย และวัดป่ามืด อีกราวๆ 50 องค์ ในหนังสือพระเครื่อง เล่มที่จังหวัดกำแพงเพชรรวบรวมพิมพ์เผยแพร่ ปรากฏว่า พิมพ์เม็ดขนุนวัดป่ามืดนั้น เส้นสายลายพิมพ์แตกต่างจากเม็ดขนุนทั่วๆไป ถือว่าเป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่ง 
            พระกำแพงเม็ดขนุน มีทั้งเนื้อดินมีทั้งแดง เหลือง เขียว ดำ เนื้อชินมีทั้งชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อว่าน เฉพาะเนื้อว่านมีทั้งเนื้อว่านล้วนๆ และเนื้อว่านประกบหน้าด้วยแผ่นเงิน นาก และทอง เรียกกำแพงหน้าทอง เชื่อกันว่า พระกำแพงเม็ดขนุนมีพุทธ-คุณสมชื่อ ทุ่งเศรษฐี นอกจากให้โชคลาภแล้ว ยังช่วยทั้งด้านคงกระพันชาตรีและด้านแคล้วคลาด คำแนะนำ สำหรับคนหาพระใช้ ทุกพิมพ์ของพระกำแพงเพชร พูดกันเล่นว่า กำ แล้วแพง ถ้าไม่ติดพิมพ์นิยม เลือกหาพิมพ์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก อย่างกำแพงเม็ดขนุนพิมพ์เล็กองค์นี้ไว้ เชื่อว่าเมื่อ “กำ” ได้ คงไม่ “แพง” บาดใจเกินไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : พลายชุมพล. (2561). กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1338901

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1178&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1178&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 41,966

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 34,313

พระเม็ดขนุน

พระเม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 27,595

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,426

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,879

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,148

พระเชตุพน

พระเชตุพน

พระเชตุพนหน้าโหนก กรุบรมธาตุ กำแพงเพชร เนื้อชินเงิน ขนาดกว้าง 1.5 สูง 2.0 เซนติเมตร สภาพสวยสมบูรณ์มาก พร้อมตลับทองปิดหลังอย่างดี หนัก 7.82 กรัมพุทธศิลป์นั้นเป็นพระศิลปะสุโขทัยผสมผสานฝีมือช่างสกุลกำแพงเพชร เท่าที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อว่าน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเมืองกำแพงเพชร มีวัดต่างๆ มากมาย ร่วม ๒๐ วัด จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดที่มีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์ ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 14,148

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,159

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,100

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,090