กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้ชม 4,422

[16.5081497, 99.5164505, กรุอาวาสน้อย]

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่
1. พระฝักดาบ เนื้อชิน
2. พระลีลากำแพง เนื้อสนิมแดง
3. พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง เนื้อชิน
4. พระประธานพร เนื้อชิน
5. พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ เนื้อสนิมแดง
6. พระเปิดโลก เนื้อชิน
7. พระกำแพงขาโต๊ะ เนื้อสนิมแดง
8. พระกำแพงฐานสำเภา เนื้อชิน 
9. พระกำแพงคืบ เนื้อชิน
10. พระลีลากำแพง เนื้อว่านหน้าเงิน-ทอง
11. พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง เนื้อชิน
12. พระประธานพร เนื้อสนิมแดง
13. พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง เนื้อชิน 
14. พระยอดขุนพล เนื้อชิน
15. พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร เนื้อชิน
16. พระซุ้มยอ เนื้อชิน
17. พระกำแพงขาโต๊ะ เนื้อชิน
18. พระกำแพงพิมพ์รัศมี เนื้อชิน
19. พระกำแพงห้าร้อย เนื้อชิน
20. พระท่ามะปราง เนื้อชิน
        และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุอาวาสน้อย. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1205&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1205&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,425

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,690

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,945

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

หลวงพ่อโพธิ์วัดท่าไม้แดง กำแพงเพชร รุ่นแรก อัลปากาชุบนิคเกิล แชมป์งานกองบิน 46 พิษณุโลก ปี 52

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,072

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,159

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,002

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,634

พระเม็ดขนุน

พระเม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 27,594

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,419

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,505