แค
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 11,771
[16.4258401, 99.2157273, แค]
แค ชื่อสามัญ Agasta, Sesban, Vegetable humming bird, Humming bird tree, Butterfly tree, Agati
แค ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรแค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคขาว แคแดง แคดอกขาว ดอกแคแดง แคดอกแดง (กรุงเทพ-เชียงใหม่), แค แคบ้าน ต้นแค แคบ้านดอกแดง ดอกแคบ้าน (ภาคกลาง), แคแกง เป็นต้น
ลักษณะของต้นแค
ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง และต้นแคจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สำหรับในบ้านเราจังหวัดที่มีการปลูกต้นแคเพื่อการค้านั้นก็ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ
ใบแค เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบสีเขียว กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ดอกแค ลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ 2-3 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม มีสีขาวหรือสีแดง มีก้านเกสรตัวผู้สีขาวอยู่ 60 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย
ผลแค ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ผสมเกสรโดยนก ฝักเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และมีเมล็ดอยู่ด้านใน ฝักแคมีสีเขียวอ่อน สามารถรับประทานเป็นอาหารได้
เมล็ดแค มีลักษณะเหมือนลิ่ม เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
สรรพคุณของแค
1. ยอดแคอุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี (ดอก,
ยอดอ่อน)
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด (ดอก)
3. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ (ใบสด, ดอกโตเต็มที่)
4. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
5. ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อน
อาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ฝัก)
6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (ดอก, ยอดแค)
7. ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
8. ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส (ดอก, ยอดแค)
9. ดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โต
เต็มที่นำมาล้างน้ำ แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น (ดอก)
10. น้ำคั้นจากรากใช้ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า กลางวัน และก่อนนอน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ลมหัวได้ (ราก)
11. ช่วยบรรเทาอาการของโรคลมบ้าหมู ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน
(ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
12. ช่วยแก้อาการปวดและหนักศีรษะ ด้วยการใช้น้ำคั้นที่ได้จากดอกและใบแคนำมาสูดเข้าจมูกเพื่อช่วยบรรเทาอาการ (ดอก, ใบ)
13. ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ยอดอ่อน)
14. ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า
เย็น และช่วงก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก)
15. ช่วยแก้อาการปวดฟัน รำมะนาด ด้วยการใช้เปลือกแคนำมาต้มผสมเกลือให้เค็มจัดแล้วนำมาอม (เปลือกแค)
16. ช่วยรักษาปากเป็นแผล แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ นำมาเคี้ยว 3-5 นาทีแล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 3 วันก็จะหายจาก
อาการ (เปลือกแค)
17. ชาวอินเดียใช้น้ำที่คั้นจากดอกหรือใบ นำมาสูดเข้าจมูกรักษาโรคริดสีดวงในจมูก ทำให้มีน้ำมูกออกมา (ดอก, ใบ)
18. เปลือกของต้นแคน้ำมาคั้นเป็นน้ำรับประทานช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือดได้ หรือจะนำมาใช้ต้มหรือฝนรับประทานแก้อาการได้ หรือจะใช้เปลือกต้นปิ้ง
ไฟ 1 ส่วน นำมาต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เปลือกต้น)
19. ช่วยแก้ตานขโมย ด้วยการใช้แคทั้งห้าส่วนอย่างละ 1 กำมือ แล้วใส่น้ำพอท่วมยา หลังจากนั้นต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วนำมากินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 15
วัน (ทั้งห้าส่วน)
20. ช่วยทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากรสขมของดอกแคช่วยกวาดล้างเมือกในช่องปาก ทำให้ลิ้นเสียความรู้สึก แต่ทำให้อยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น (ดอก)
21. สรรพคุณดอกแคช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก (ดอก, ใบ)
22. ใบแค ใช้รับประทานช่วยทำให้ระบาย หรือจะใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อน
นอน (ใบ, ฝัก)
23. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
24. ช่วยบำรุงและรักษาตับ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตรประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน
(ในประเทศอินเดีย) (ดอก, ใบ)
25. ช่วยแก้อาการอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวในน้ำ 1 ลิตรประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วกรองเอารากออก ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศ
อินเดีย) (ราก)
26. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
17. เปลือกต้นนำมาใช้ภายนอก สามารถใช้ทำเป็นยาล้างแผล ชะล้างบาดแผลได้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด 15 นาที ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ล้างแผลวันละ 3 ครั้ง
(เปลือกต้น)
28. ช่วยรักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้เปลือกต้นแคแก่ ๆ นำมาตากแห้งแล้วฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ใช้ทาแผลเช้าเย็น (ก่อนทาควรใช้น้ำต้มจากเปลือกแคล้างแผลก่อน) จะช่วยทำให้
แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เปลือกต้น)
29. ใบสดนำมาตำละเอียดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)
30. ในอินเดียมีการใช้ใบอ่อนเป็นอาหารเสริมบีตา-แคโรทีนอยด์ในผู้ที่ขาดแคโรทีนอยด์ พบว่าหลังจากได้รับอาหารเสริมใบอ่อนแค (Agathi) จะมีปริมาณแคโรทีนในซีรั่มเพิ่มขึ้นในวันที่ 7
31. ในหนูทดลองที่รับยาและสารสกัดจากใบแคจะมีปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และกรดไจมันอิสระต่ำกว่าหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว
(ใบ)
32. สารสกัดจากใบแค ช่วยทำให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองกลับสู่สภาวะปกติ ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่มีการใช้ใบแค
เพื่อบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้เป็นอย่างดี (ใบ)
33. สารสกัดจากเอทานอลของใบแคมีฤทธิ์ช่วยป้องกันตับถูกทำลายในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาด (ใบ)
34. ช่วยแก้อาการหัวใจสั่น (ใบ), เปลือกในของต้นใช้อมแก้ลิ้นเป็นเม็ดคันหรือแสบ (เปลือกใน) (ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ**ที่มาจาก : numthang.org)
35. ดอกช่วยชะลอความแก่ชรา แก้อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ป้องกันโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย ป้องกันผมร่วง บำรุงผิวพรรณ ป้องกันผิวแห้งแตกหรือริ้ว
รอย ลดปัญหาเล็บมือ เล็บเท้าเปราะแตกง่าย ลดอาการซึมเศร้า อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ รักษาผิวหนังเป็นผื่น บรรเทาอาการของสิวอักเสบ (ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อ
ถือ**ที่มาจาก : yesspathailand.com)
ประโยชน์ของแค
1. ประโยชน์ของต้นแคนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
2. แคเป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย
3. ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ
4. ไม้ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้
5. ลำต้นนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี
6. ประโยชน์ของดอกแคฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแค, แกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกง
เหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวก
จิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น
7. สำหรับชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย
8. บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศจะนิยมกินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว
คำแนะนำในการรับประทานดอกแค
1. การนำดอกแคมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อน จะช่วยลดความขมหรือทำให้มีรสขมได้ แต่ถ้าไม่กังวลเรื่องความขมก็ไม่ต้องเด็ดออกก็ได้
2. การเลือกซื้อยอดอ่อนและใบอ่อนของแค ควรเลือกเป็นใบสด ไม่ร่วง ส่วนดอกให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ซึ่งยอดอ่อนและใบอ่อนจะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด แต่สำหรับฝักอ่อนค่อน
ข้างจะหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้เองจึงจะได้รับประทาน
3. ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคนั้น จะมีในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกแคจะมีในช่วงต้นฤดูหนาว
4. ดอกแคมีรสเฝื่อน ไม่นิยมรับประทานสด ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปลวกโดยใช้เวลาอันสั้นที่สุด
5. การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
คำสำคัญ : แค
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แค. สืบค้น 12 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1586&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 37,303
แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,598
ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,460
ต้นกระจับเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ใบกระจับมี 2 แบบ คือ ใบใต้น้ำเป็นเส้นยาวคล้ายราก ส่วนใบลอยน้ำรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างมีสีแดง ก้านใบยาวตรงกลางพองออก ดอกกระจับเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานเหนือน้ำ ผลกระจับเมื่อเป็นผลจะจมลงใต้น้ำ ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งเขางอโค้งคล้ายเขาควาย กระจับชนิดนี้มีปลายเขาแหลม
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,888
ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,024
ลักษณะทั่วไป ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,084
ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,299
คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,262
ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 6,039
หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลมๆ สีเขียวลูกเล็กๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,866