อุโลก

อุโลก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,370

[16.4258401, 99.2157273, อุโลก]

อุโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hymenodictyon excelsum (Roxb.) Wall., Hymenodictyon excelsum (Roxb.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรอุโลก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลาตา (ตรัง), ลุ ส้มลุ (สุราษฎร์ธานี), ส้มกบ ส้มเห็ด (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ส้มลุ ลุ ลาตา (ภาคใต้), สั่งเหาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ถู่เหลียนเชี่ยว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นอุโลก

  • ต้นอุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
  • ใบอุโลก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปโล่ ปลายใบมนมีติ่ง โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลอนเล็กน้อย หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน แผ่นใบหนา เส้นใบเห็นได้ชัดเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบประมาณ 7-9 คู่ ก้านใบมีสีแดงอ่อน ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
  • ดอกอุโลก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดมีขนาดใหญ่กว่ากลีบฐานดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก มีรังไข่ 2 ห้อง กลีบเลี้ยงมีเส้นใบคล้ายกับตาข่ายเป็นสีเขียว
  • ผลอุโลก ผลพบได้ในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีขนาดเล็ก มีร่อง 2 ร่อง เมื่อสุกผลตะแตกได้ ผิวเปลือกผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นพวงห้อยลง แต่ปลายผลชี้ย้อนขึ้นไปทางโคนช่อ ภายในผลมีมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีครีบหรือปีกบางๆ ที่ปลาย 

สรรพคุณของอุโลก

  1. ราก แก่นและเปลือกต้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษต่างๆ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  3. ช่วยแก้อาการไอ (ราก,แก่น)
  4. ช่วยขับเสมหะ (ราก,แก่น)
  5. ใบและรากใช้เป็นยาดูดพิษฝีหนอง (ใบและราก)
  6. ใบและราก ใช้เป็นยาภายนอกแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดบวมแดงตามข้อ (ใบและราก)

หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [3] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดได้ตามปริมาณที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอุโลก

  • เปลือกต้นและใบอุโลกพบสารหลายชนิด ได้แก่ Aesculin, Scopoletin ส่วนรากอุโลกพบสาร Rubiadin, Lucidin, Damnacanthal, Morindon, Nordamnacanthal, 2-Benzylxanthopurpurin, 6-Methyllalizarin และ Anthragallol เป็นต้น

ประโยชน์ของอุโลก

  • ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดหรือลวก ต้มกินกับน้ำพริก
  • เนื้อไม้ของต้นอุโลก สามารถนำมาใช้งานเบาๆ ได้ เช่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือทำฝาบ้าน เป็นต้น

คำสำคัญ : อุโลก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อุโลก. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1782&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1782&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะกล่ำเผือก

มะกล่ำเผือก

ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,950

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 18,455

ผักกาดนอ

ผักกาดนอ

ต้นผักกาดนอ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ 1 ปี ลำต้นอ่อนไหว เกลี้ยงไม่มีขน ตามกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมสีเขียวอมม่วงแดง พบขึ้นได้ทั่วไปตามข้างทาง พื้นที่ชายขอบป่า และบริเวณใกล้ริมลำธาร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบที่โคนต้นมีก้านใบมน ไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรี รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยัก ไม่สม่ำเสมอ ส่วนบริเวณยอดต้นขอบใบจะเรียบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลออกเป็นฝักบริเวณยอดต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 1,715

กระบก

กระบก

ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 12,793

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,266

ส้มเช้า

ส้มเช้า

ส้มเช้าเป็นพืชที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูงได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ชนิดนี้ต้นหรือปลายต้นมักมีรูปร่างแปลก หงิกคล้ายดอกหงอนไก่ เป็นชนิดที่มีใบน้อย นิยมนำมาปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับ ส่วนอีกชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ออกใบมากกว่าชนิดแรก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 5,054

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,997

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 721

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,747

ตำลึง

ตำลึง

ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน  ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,830