การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้ชม 1,080

[16.2354607, 99.5449164, การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่]

          ที่ตำบลแม่ลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ มีภูมิปัญญาลาวครั่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สั่งสมมาช้านาน ถึงการนำอุดมการณ์แห่งความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเขา้ใจ และการอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนอย่างผาสุกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แนบเนียน ในชีวติประจำวัน ทำให้สังคมไทยอยู่อย่างมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว ในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย และไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยืดหยุ่น รักสงบ มีความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
         การเข้าทรงนางด้ง หรือผีนางด้ง เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่สำคัญของคนไทยที่มีเชื้อสายลาวครั่ง มิใช่ เรื่องไร้สาระกิจกรรมทุกกิจกรรม ล้วนแฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งของสังคมและวัฒนธรรมในเกือบทุกภาค ที่มีอาชีพทำไร่ทำนา แต่ไม่มีหมู่บ้านใดดำรงความเป็นไทย และภูมิปัญญาไทยไว้ได้ ที่หมู่บ้านแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ประชาชนในหมู่บ้านไร้รื้อฟื้นประเพณี การละเล่นพื้นบ้านที่หายสาบสูญไปนับ ครึ่งศตวรรษกับคืนมาด้วยความรัก และความสามัคคีของคนในหมู่บ้านได้อย่างน่าชื่นชม เครื่องมือประกอบการแสดงการเข้าทรง ล้วนเป็นเครื่องมือในการเกษตร อย่างเช่น กระด้งสำหรับฝัดข้าว สากสำหรับการตำข้าว ผ้าขาวม้า เพลงที่มีเนื้อร้องที่น่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งและกลมกลืน น่าฟัง แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป ตามที่จดจำกันมาแบบมุขปาฐะ
          เพลงที่ใช้ร้องเชิญผีนางด้งจะแตกต่างกันออกไป ตามแต่จะจำกันมา เช่น
          นางด้งเอย...ละป่าระหง ....กระด้งใหม่ๆ ....ของฝัดเครื่องแกง.... ข้าวแดง แมงเม่า....กระด้งฝัดข้าว ออกมาพึก ๆ.... ออกมาผาย ๆ ...ขอคืนกาย มาเข้านางด้ง....ขอเชิญพระเจ้ามาเข้านางด้ง....ร้องซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายรอบ ความเยือกเย็นของน้ำเสียงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการเข้าทรง
          อุปกรณ์ที่สำคัญของการเข้าทรงคือ กระด้งของและสากตำข้าวของแม่ม่าย มีข้อพิเศษ คือต้องไปเอาของสองสิ่งมาโดยไม่บอกให้เจ้าของทราบ คือขโมยมานั่นเอง การเข้าทรงหญิงเข้าทรงจะนั่งอยู่ตรงกลาง มีผู้ช่วยนั่งอยู่ตรงหน้าในระหว่างสากทั้งสอง นำกระด้งหุ้มด้วยผ้าขาวม้า เมื่อไหว้ครูและเชิญวิญญาณมาเข้าทรง ท่ามกลางเสียงเพลงที่เยือกเย็นแต่แฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่น ในความเชื่อเรื่องทรงเจ้าเข้าผีของพวกเขา เมื่อวิญญาณมาเข้าแล้ว นางด้งจะเริ่มสั่นไปทั้งร่างกาย ผีจะเข้าทรงที่เรียกกันว่าผีนางด้ง จะเริ่มลุกขึ้นร่ายรำอย่างสนุกสนาน และลืมความเหน็ดเหนื่อย ผีนางด้งจะนำกระด้งไปกวักใครหรือไปแตะใครผู้นั้นต้องออกมารำ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาแห่งการมีส่วนร่วม ชาวบ้านจะร้องเพลงตีกลองให้จังหวะอย่างสนุกสนาน ในที่สุดก็จะรำกันทั้งหมู่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคีในหมู่คณะของชาวบ้าน เมื่อรำไปได้สักพักหนึ่ง ชาวบ้านที่รักสนุกอยากจะหยอกผู้เข้าทรงนางด้งก็จะลักสากตำข้าวไปซ่อน นางด้งก็จะโมโห และไล่นำกระด้งไปฟาด ผู้นั้นจนต้องนำมาคืน หรือหาสากพบ นำความสนุกสนานครื้นเครงมาสู่หมู่บ้านนั้นอย่างกลมกลืนและแนบเนียน
          เมื่อสนุกสนานกันได้ครู่หนึ่ง ก็จะมีการทำนายทายทักเรื่องราวต่าง ๆ ในหมู่บ้านหรือเรื่องทั่วไปเพื่อช่วยในการสร้างความสามัคคี และความอบอุ่นใจ โดยมีชาวบ้านที่ร่วมกิจกรรมการเข้าทรงมาถามเรื่องที่ตนเองสงสัย หรือถามเรื่องที่ทำความครึกครื้นในหมู่บ้าน อันเกิดความเข้าใจและเกิดกำลังใจให้ชาวบ้านในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวติ เมื่อเห็นว่านางด้งสนุกสนานช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ไม่น่าเบื่อ ก็จะเชิญนางด้งออก ผู้เข้าทรงจะไม่ทราบเรื่องรางที่ตนเองเข้าทรงเลย จะงงและถามว่าเกิดอะไรขึ้น
          การเขา้ทรงนางด้ง จึงเป็นภูมิปัญญาไทยในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ที่ประกอบอาชีพ ในการทำไร่ทำนา ทำเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานแห่งวิถีชีวิตอย่างลึกซึ้งของคนไทยที่นิยมเล่นกันในวัน สงกรานต์ ต้องยกย่องประชาชนหมู่บ้านแม่ลาดใหญ่ที่สามารถฟื้นฟูวิถีชีวิตไทยสามารถนำภูมิปัญญา ไทยมาสร้างสีสันได้อย่างเหมาะสม.มิใช่เป็นเรื่องความเชื่อแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีภูมิปัญญาที่ทรงไว้ อย่างมั่นคง อย่างสงบ เรียบง่าย สมถะ ในเศรษฐกิจพอเพียง ของสังคมไทยนี่แหละวิถีชีวิตแท้ ๆ ของไทยที่นับวันจะสูญหายไปอย่างไร้คนเข้าใจและมักดูถูกรากเหง้าของตนเองว่าคร่ำครึ ดีใจ ที่หมู่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ เริ่มฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านรักและสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่น

คำสำคัญ : การเข้าทรง, นางด้ง

ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด. (2558). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่. สืบค้น 9 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1339&code_db=610004&code_type=03

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1339&code_db=610004&code_type=03

Google search

Mic

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ในปัจจุบัน ประเพณีการบวชนาคกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ สำหรักผู้ที่ต้องการจะบวชพระ จะต้องทำการบวชนาคก่อน เพื่อรำลึกถึงนาคผู้มีความตั้งใจบวช ในแต่ละท้องที่ในประเทศไทย ประเพณีบวชนาคและแห่นาคจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บวชนาคแบบธรรมดาเพื่อเตรียมบวช บวชนาคที่จัดพิธีแห่นาคอย่างประเพณีม้าแห่นาค เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการบวชนาคแบบใด ก็สะท้อนถึงประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในชาติ หากแต่ท้ายที่สุดการบวชนาคเป็นไปเพื่อสำหรับการบวชพระ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางสายกลางตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แต่กาลก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 8,849

ประเพณีการแห่ดอกไม้

ประเพณีการแห่ดอกไม้

เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่ 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 3,024

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญมาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวันเมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ควบคู่ไปกับการทำบุญข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป จะนิยมกันในวันสงกรานต์ เช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 5,132

ประเพณีการสรงน้ำพระ

ประเพณีการสรงน้ำพระ

การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรืออัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณรจะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผา้สบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,646

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้าหรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวัน เวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญประเพณี อาบน้ำผู้ใหญ่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือแก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกลู รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,514

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,496

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 1,252

การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

ที่ตำบลแม่ลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ มีภูมิปัญญาลาวครั่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สั่งสมมาช้านาน ถึงการนำอุดมการณ์แห่งความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเขา้ใจ และการอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนอย่างผาสุกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แนบเนียน ในชีวติประจำวัน ทำให้สังคมไทยอยู่อย่างมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว ในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย และไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยืดหยุ่น รักสงบ มีความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 1,080

ประเพณีการยกธง

ประเพณีการยกธง

ประเพณี “ยกธงเลิกวันสงกรานต์” ประวัติิความเป็นมาในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง พักอาศัยอยู่จึงได้นำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น การยกธงเลิกสงกรานต์มาสืบทอด โดยถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งคำว่าสงกรานต์ แปลว่า ล่วง หรือเลยไป เคลื่อนไป การต้อนรับปีใหม่ถือว่าสำคัญเพราะปีหนึ่งมีครั้งเดียว การได้รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุพร้อมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งที่คนไทยทุกคน ทุกชนชั้นได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 4,499

การก่อเจดีย์ทราย

การก่อเจดีย์ทราย

มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาว บริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 9,345