พระยาวิเชียรปราการ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 2,715
[16.4336195, 99.4094765, พระยาวิเชียรปราการ ]
พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก
ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน ชื่อโบราณสถานของจังหวัดกำแพงเพชรส่วนใหญ่ได้หลักฐานจากหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ชื่อ วัดน้อย พระยาวิเชียรปราการเป็นผู้สืบค้นไว้กราบทูลทำให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ และบางชื่อหากสืบค้นไม่ได้ พระยาวิเชียรปราการก็เป็นผู้ให้ข้อสันนิษฐานกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในจดหมายเหตุตอนหนึ่งในการชมโบราณสถานของพระองค์ว่า
“....... เมื่อถึงด้านตะวันออกเริ่มต้นเป็นประตูผีออก ซึ่งยังมีกำแพงอยู่ดีกว่าประตูอื่น ๆ ตัดไปถึงป้อม ซึ่งพระยาวิเชียรปราการให้ชื่อว่า“ป้อมเพชร” เพราะเป็นด้านเหนือ ซึ่งป้อมเพชรบนกำแพงเมืองปัจจุบัน ได้ชื่อตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมาจนบัดนี้ ก็เพราะพระยาวิเชียรปราการนั่นเองและเชื่อว่าชื่อวัดต่าง ๆ ที่ปรากฏในจดหมายเหตุ เช่นวัดพระแก้ว วัดช้างเผือก วัดพระนอน พระยืน กำแพงงาม ที่เรียกในปัจจุบันเป็นผลมาจากการสืบค้นของพระยาวิเชียรปราการ จึงกล่าวได้ว่าพระยาวิเชียรปราการเป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ทางโบราณคดีไว้ให้เมืองกำแพงเพชรเป็นอันมากนอกจากความสามารถดังกล่าว พระยาวิเชียรปราการเป็นผู้ให้กำเนิด ถนนในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ ถนนราชดำเนิน ถนนเทศา ริเริ่มเมื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จแล้วตั้งชื่อถนนเทศาเป็นอนุสรณ์แก่พระยาอมรินทร์ฤาชัย สมุหเทศาภิบาลนครสวรรค์ซึ่งตามเสด็จฯ...”
จากคำบอกเล่าของท่านขุนราชรัชดารักษ์ อดีตคลังจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงพระยาวิเชียรปราการว่า ศาลากลางจังหวัดเดิมอยู่บริเวณโรงต้มกลั่นสุราที่ถูกไฟไหม้ ต่อมาพระยาวิเชียรปราการได้สร้างใหม่ที่เทศบาล ครั้นสร้างศาลากลางจังหวัดหลังปัจจุบันแล้ว จึงยกศาลากลางจังหวัดเดิมให้แก่เทศบาล
พระยาวิเชียรปราการมีคุณลักษณะ 2 อย่างที่น่าสรรเสริญ คือ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ เช่น การกราบทูลชื่อ “ป้อมเพชร”
ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง เช่น ริเริ่มตั้งชื่อถนน และสร้างศาลากลางจังหวัด
ภาพโดย : http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6561.0;attach=62447;image
คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ พระยาวิเชียรปราการ
ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). พระยาวิเชียรปราการ . สืบค้น 20 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=128&code_db=610003&code_type=01
Google search
"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้นจากอันตรายจากภัยสงคราม
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 12,411
พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,715
นายเชียง แซ่แต้ มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2454 เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้มีเชื้อสายจีนแต่สัญชาติไทยด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,643
พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 5,376
ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 2,740
ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,394
นายมาณพ ศิริไพบูลย์ เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์ ศิริไพบูลย์ และนางวิมล ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 2498 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,224
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย
เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 2,308
นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,385
ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,716