พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 10,631

[16.4775008, 99.5269801, พระปิดตา “สี่ทิศ”]

         พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ
         แต่พิมพ์สี่ทิศ เป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่ จึงเป็นเอกลักษณ์ของกรุวัดคูยางโดยแท้ นับถึงปัจจุบันมีอายุกว่า 100 ปี แล้วสามารถใช้แทนพระกรุเก่าทุ่งเศรษฐ๊ได้ พระกรุวัดคูยาง ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มหนึกแน่นมีราดำปรากฏทั่วไป ส่วนมากเป็นสีแดงคล้ำ บางองค์มีไขจับ บางส่วนไม่มีราว่านหรือมีแต่เพียงบางๆ มีไขจางๆ บางองค์ที่มีคราบราหนาๆ ก็จะเทียบกับพระกรุเก่าได้เลย มีความแห้งและเก่า แม้จะดูสดกว่าพระกรุเก่าก็ตามทีพร้อมทั้งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ใน ส่วนที่เกี่ยวกับแบบพิมพ์พระกรุวัดคูยางที่สร้างโดยพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) นั้นมีทั้งพิมพ์ที่ทำขึ้นเองและถอดพิมพ์มาจากพระอื่นๆ ส่วนใหญ่จะตื้นไม่ลึกและไม่คมชัดเท่าที่ควร ถึงกระนั้นก็มีหลายพิมพ์ที่ยังคงความงามอยู่ไม่น้อย สำหรับพระที่สร้างพิมพ์ขึ้นเองมีพระปิดตาสี่ทิศ ด้านหน้าจะมียันต์ 5 ตัว คือ ตรงกลาง 1 ตัว ช่องว่างระหว่างองค์พระทั้ง 4 ทิศอีก 4 ตัว ซึ่งยันต์ทั้ง 5 ตัวนี้ เป็นยันต์เดียวกันกับพระของพระพุทธบาทปิลันธน์ เช่น พิมพ์ซุ้มประตู เป็นต้น ด้านหลังตรงกลางทำเป็นรูกลมลึกเข้าไปในเนื้อและก้นรูมียันต์ 1 ตัว แต่พบพระปิดตาสี่ทิศบางองค์ไม่มียันต์ด้านหลัง อาจเกิดจากการหลงลืมในการกดลืม หรือพระบางเกินไปกดพิมพ์ลึกเป็นรูไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบพระอื่นๆ อีก เช่น พระนารายณ์สี่กร(ทรงปืน)เป็นต้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ทำขึ้นเองเช่นกัน มียันต์ที่ก้นรูด้านหลัง เช่นเดียวกับพระปิดตาสี่ทิศอยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากมาก พระที่ถอดพิมพ์จากพระพิมพ์เก่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพระของกำแพงเพชร แต่มีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของพระจังหวัดอื่นๆ เช่น พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน และพระพลายเดี่ยว ส่วนพระคงกับพระรอดไม่ได้พิมพ์มาแต่ล้อรูปแบบเดิมได้ใกล้เคียงจึงอนุโลมไว้ ในกลุ่มนี้
         สรุปพระกรุวัดคูยาง มีมากกว่า 40 พิมพ์ แต่มีผู้พบเห็นคือพระปิดตาสี่ทิศขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระซุ้มยอ พระขุนไกร พระคง พระ ร่วงนั่งฐานสำเภา พระนางกำแพงมีซุ้ม พระนางกำแพงหัวเรือเมล์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระอู่ทอง พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระซุ้มยอไม่ตัดปีก (ฝากกรุ) พระลีลาเม็ดขนุนขนาดเล็กและใหญ่ พระสมเด็จฐาน 3 ชั้น พระซุ้มระฆัง พระพลายเดี่ยว พระอู่ทองซุ้มเรือนแก้ว พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) พระสุพรรณหลังผาน (หลังเรียบ) พระรอด พระนาคปรก (3-4 พิมพ์) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระลีลาใหญ่ (3-4 พิมพ์) พระเชตุพน พระซุ้มกอเล็ก และพระซุ้มกอใหญ่ (ขนาดพิมพ์กลางของเดิม) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง และพิมพ์อื่นๆ พุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน

คำสำคัญ : พระปิดตา พระปิดตาสี่ทิศ

ที่มา : เพจรักษ์กำแพง By Mickysun. (2561). https://www.facebook.com/groups/254314207990910/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระปิดตา “สี่ทิศ”. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1272&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1272&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,056

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่างๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 20,445

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 34,312

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,496

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,583

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อพระกำแพงเปรียบเทียบ ได้แก่ เนื้อทองคำ พระกำแพงสวยๆราคาแพงมาก สวยปานกลางแพงน้อยหน่อย ไม่สวยก็ยังแพงอยู่ดี พระกำแพงจึงได้ชื่อว่า กำ-แพง ไม่ว่าพระจะอยู่ในสภาพใด ราคาจะสูงกว่าจังหวัดอื่นในสภาพเดียวกันเสมอเพราะอะไร การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 22,260

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 26,455

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 12,196

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 17,182

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,356