สาเก

สาเก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 6,490

[16.4258401, 99.2157273, สาเก]

สาเก ชื่อสามัญ Breadfruit, Bread fruit tree, Bread nut tree

สาเก ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis (Parkinson ex F.A.Zorn) Fosberg (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Artocarpus communis J.R.Forst. & G.Forst., Artocarpus incisus (Thunb.) L.f., Saccus laevis Kuntze, Sitodium altile Parkinson ex F.A.Zorn) จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

สมุนไพรสาเก มีชื่อเรียกอื่นว่า "ขนุนสำปะลอ"

ต้นสาเก มีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์ มีการเพาะปลูกกันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งในเกาะมาวีและเกาะกาวาย คือแหล่งสะสมต้นสาเกสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้หลายสายพันธุ์ โดยปลูกเอาไว้ให้ชมกันมากที่สุดในโลก สาเกเป็นไม้ผลที่ออกลูกดก (ในหนึ่งฤดูต้นสาเกอาจออกผลราว 200 ผล) แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราคือ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว

สำหรับสาเกในบ้านเรานั้นอาจจะพบได้บ้างตามหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ โดยจะขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อจากโคนต้นเก่ามาปลูก และเมื่อต้นสาเกมีอายุมากขึ้น เจ้าของก็มักจะตัดต้นสาเกทิ้ง เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านใบดูเก้งก้าง และยังมีหนอนมาเจาะตามกิ่งและลำต้นทำให้ต้นตายง่ายอีกด้วย

ลักษณะของสาเก

  • ต้นสาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาว ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)
  • ใบสาเก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบใหญ่และหนา มีรอยหยักหรือร่องลึกเกือบถึงก้านกลางใบ (คล้ายใบมะละกอ) ก้านใบเห็นเด่นชัด
  • ดอกสาเก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกมีสีเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียมีลักษณะกลม แต่จะแยกกันคนละดอก และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลสาเก ลักษณะของผลกลมรี ผลมีสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองซีดหรือขาวและไม่มีเมล็ด (แต่มีสายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ด จะเรียกว่า ขนุนสำปะลอ

สรรพคุณของสาเก

  1. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต (ผล)
  2. ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (ผล)
  3. สาเกมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลในร่างกาย (เปลือกต้น)
  4. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาย่างไฟจนแห้งแล้วนำมาต้มกินแต่น้ำ (เปลือกต้น)
  5. เปลือกต้นสาเกใช้ทำเป็นยาปรับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด ทำให้เกิดความกระชุ่มกระชวย (เปลือกต้น)
  6. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกผุในหญิงวัยหมดประจำเดือน (ผล)
  7. รากสาเก มีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยารักษากามโรค ด้วยการนำรากมาฝนผสมกับน้ำดื่มครั้งละไม่เกิน 1 แก้วตะไล วันละครั้ง อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติในที่สุด (ราก)
  8. ยางจากทุกส่วนของต้นสาเกสามารถนำมาใช้ในการรักษากลากเกลื้อนและหิดได้ (ยาง)
  9. ช่วยยับยั้งการสร้างเมลานิน สารสกัดจากเนื้อไม้สาเกมีผลยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งมีความแรงเท่ากับกรดโคจิก (Kojic acid) โดยได้ทำการทดลองกับผิวหนังของหนูตะเภาสีน้ำตาลที่มีสีผิวคล้ำเนื่องจากแสง UV-B ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากเนื้อไม้สาเกสามารถทำให้สีผิวของหนูจางลงได้โดยไม่ก่อให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนังและไม่มีผลก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์

ประโยชน์ของสาเก

  1. ผลไม้สาเกมีวิตามินหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)
  3. เส้นใยอาหารจากสาเก ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย มันจึงช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้
  4. ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่าย ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  5. เนื้อของสาเกให้พลังงานสูง มีแคลเซียมและวิตามินเอที่จำเป็นต่อร่างกาย
  6. ต้นสาเกนิยมปลูกตามบ้านจัดสรรทั่วไปเพื่อเป็นไม้ประดับและใช้เป็นร่มเงา
  7. ผลสาเกสามารถนำมาย่าง ต้ม อบ หรือนำมาเชื่อมได้ ใช้ทำเป็นขนมสาเกเช่น แกงบวด สาเกเชื่อม เป็นต้น
  8. มีการนำสาเกไปป่นเป็นแป้งเพื่อนำมาใช้ทำเป็นขนมปังกรอบ
  9. สำหรับชาวอินโดนีเซียจะนิยมนำสาเกไปอบกรอบใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง
  10. ยางของต้นสาเกนิยมนำมาใช้เป็นชันยาเรือ
  11. ดอกสาเกสามารถใช้ไล่ยุงได้
  12. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และทำเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือนำมาสร้างบ้านได้
  13. สาเกสามารถนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว ใช้ทำเป็นสารทำให้ผิวขาว (Skin whitening agent)

คำสำคัญ : สาเก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สาเก. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1790

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1790&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,639

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  สูงประมาณ 12 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรือนต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขนาน ปลายและโคนกลมมีขนอ่อนนิ่มทั้งหลังและท้องใบ ดอกช่อออกตามกิ่ง สีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว ออกดอกหลังผลัดใบ ผลฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนนิ่มปกคลุมยาว 30-40 ซม. มีผนังกั้นระหว่างเมล็ดยุ่น ๆ สีขาวแกมเขียว เมื่อแห้งจะแยกกันเป็นชั้น ๆ ปอกเปลือกออกจะเห็นเป็นรูปเหรียญกลม ๆ มีเมล็ดอยู่ภายใน เขย่าได้ ตลอดฝักเมล็ดกลมลีบแบน  นิเวศวิทยาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,907

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,023

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,078

กาหลง

กาหลง

ต้นกาหลงนี้จัดเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีเปลือกเรียบสีน้ำตาล มีใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงสลับกัน โดยปลายใบนั้นจะเว้าลึกเข้ามาถึงเกือบครึ่งใบ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายเส้นกลางใบเป็นติ่งแหลมๆ และปลายแฉกทั้งสองข้างจะแหลม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วจะขึ้นมาใหม่ในช่วงหน้าร้อน หรือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม ส่วนดอกนั้นจะมีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ บริเวณปลายกลีบมน โคนสอบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวติดกันอยู่ และผลเป็นฝักแบน ขอบฝักจะเป็นสันหนาๆ แต่ปลายและโคนฝักจะสอบแหลม ตลอดจนปลายฝักมีติ่งแหลมๆ ยื่นออกมา โดยต้นกาหลงนี้จะออกผลในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,712

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,092

กันเกรา

กันเกรา

กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,812

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,985

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,560

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,492