มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,039

[16.4258401, 99.2157273, มะจ้ำก้อง]

มะจ้ำก้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia sanguinolenta Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ardisia colorata Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรมะจ้ำก้อง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะจำก้อง (เชียงใหม่), ตาปลา (ตราด), กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา (จันทบุรี), กาลังกาสาตัวผู้ (นครราชสีมา), พิลังกาสา เหมือด (เลย), จีผาแตก (ลพบุรี), ตาเป็ดตาไก่ (นครศรีธรรมราช), อ้ายรามใบใหญ่ (ตรัง), ทุรังกะสา (สตูล)

ลักษณะของมะจ้ำก้อง

  • ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
  • ใบมะจ้ำก้อง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.8-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน ผิวใบเรียบเป็นสีเขียว ใบอ่อนเป็นสีแดง
  • ดอกมะจ้ำก้อง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปพีระมิด โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายซี่ร่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแกมชมพูจาง ๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจุดสีดำหรือมีขนสั้นเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง ก้านช่อดอกเป็นสีม่วงแดง ออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนตุลาคมจะออกมากเป็นพิเศษ
  • ผลมะจ้ำก้อง ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดเท่ากับเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อสุกหรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลม

สรรพคุณของมะจ้ำก้อง

  1. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง (ผล)
  2. ต้นใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น)
  3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
  5. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ใบ, ผล)
  6. รากใช้เป็นยาแก้กามโรคและหนองใน (ราก)
  7. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ต้น)
  8. ตำรายาไทยจะใช้ใบเป็นยาแก้โรคตับพิการ (ใบ)
  9. ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมพิษ (ผล, เมล็ด)
  10. ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน (ลำต้น)
  11. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  12. ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้ใบมะจ้ำก้องนำมาต้มรักษาอาการติดเชื้อไวรัส (ใบ)
  13. รากนำมาตำผสมกับเหล้าเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากเอามาพอกปิดแผลเป็นยาถอนพิษงู (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะจ้ำก้อง

  • สารสกัดของผลสุกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย (Salmonella spp. และ Shigella spp.)
  • สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองในในหลอดทดลอง
  • นอกจากนี้ยังพบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อนโดยให้ยาติดต่อกัน 6-12 เดือน พบว่าสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้

ประโยชน์ของมะจ้ำก้อง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีทรงพุ่มใบและช่อดอกสวยเด่น แต่ไม่มีกลิ่นหอม

 

คำสำคัญ : มะจ้ำก้อง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะจ้ำก้อง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1713

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1713&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,824

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,481

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 12,525

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,671

มะเขือดง

มะเขือดง

ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,705

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,789

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,643

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,008

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 17,881

มะขาม

มะขาม

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ใบเป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีอยู่ ประมาณ 10-18 คู่ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายกิ่งและโคนใบมนสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบสีเหลืองและมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว ผลเมื่อดอกล่วงแล้วจะติดผลซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาวซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งเปลือกนอกเปราะ เป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆเป็นสีเหลืองอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัดซึ่งจะหุ้มเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมผิวเปลือกเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,324