มหาหงส์

มหาหงส์

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 7,952

[16.4258401, 99.2157273, มหาหงส์]

มหาหงส์ ชื่อสามัญ Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger
มหาหงส์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium J.Koenig จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรมหาหงส์ หรือ ว่านมหาหงส์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เลเป ลันเต (ระยอง จันทบุรี), ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (ภาคเหนือ), ว่านกระชายเห็น สะเลเต (ภาคอีสาน), กระทายเหิน หางหงส์ (ภาคกลาง), ตาเหิน (คนเมือง,ไทลื้อ), เฮวคำ (ไทใหญ่) เป็นต้น

ลักษณะของมหาหงส์
        ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร
        ใบมหาหงส์ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ มีใบประมาณ 7-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 16-25 เซนติเมตร เส้นกลางใบเห็นได้ชัดจากด้านหลังใบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มโดยเฉพาะเส้นกลางใบ แผ่นใบมักงอตัวลงไปด้านหลัง ส่วนก้านใบสั้นเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะเกลี้ยงและเป็นมัน ลิ้นใบยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เป็นเนื้อเยื่อบางสีขาว
        ดอกมหาหงส์ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดของลำต้นเทียม ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับใหญ่เป็นจำนวนมาก เรียงซ้อนกันและมีขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ ลักษณะของใบประดับเป็นรูปหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง เป็นสีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนใบประดับย่อยเป็นรูปหอก ปลายมน ผิวเกลี้ยง ขอบพับเข้าหากัน ตรงกลางเป็นสัน แต่ละอันจะซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อกางออกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-3.3 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบประดับประมาณ 1-5 ดอก มีกลีบดอกเป็นรูปแถบแคบ ๆ ปลายมน สีขาว กว้างประมาณ 0.2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ส่วนกลีบปากเป็นรูปไข่เกือบกลม มีขนาดกว้างประมาณ 5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ ลึกเป็น 1/3 ของกลีบ สีขาว ตรงกลางกลีบค่อนไปทางโคนเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีนวล โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร สีขาว ปลายกลีบดอกหยักบาง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกตื้น 3 แฉกและแฉกลึก 1 แฉก กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นสีขาวแกมสีเขียว ส่วนโคนเป็นสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันแผ่เป็นกลีบขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับแกมรูปรี หรือเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมนสีขาว กว้างประมาณ 2.2-2.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.2-4.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ อับเรณูเป็นรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.4-1.5 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.4-2 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 ก้าน มีรังไข่เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ มี 3 ห้อง ส่วนยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเกือบกลม มีขนาดประมาณ 0.1 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
        ผลมหาหงส์ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกออกได้เป็นพู 3 พู

สรรพคุณของมหาหงส์
1. ตำรายาไทยจะใช้เหง้ามหาหงส์เป็นยาบำรุงกำลังและยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
2. เหง้านำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน ใช้รับประทานเป็นยาแก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
    ซูบซีด ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (เหง้า)
3. เหง้านำมาต้มเป็นยาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ (เหง้า)
4. ช่วยขับลม (เหง้า)[1]เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยแก้อาการท้องอืดได้ (เหง้า)
5. ในต่างประเทศจะใช้เหง้ามหาหงส์ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และช่วยในการขับลม (เหง้า)
6. ช่วยบำรุงไต ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
7. คนเมืองจะใช้เหง้าใต้ดินนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการลมชักหรือใช้ทาตุ่มผื่นลมพิษ (เหง้า)
8. น้ำคั้นจากเหง้าใต้ดินใช้เป็นยารักษาแผลฟกช้ำ แผลบวมได้ (เหง้า)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมหาหงส์
1. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเหง้ามีลักษณะเป็นของเหลวใส มีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว โดยประกอบไปด้วย beta-pinene, borneol, d-limonene, linalool
2. น้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์ เมื่อนำมาเตรียมเป็นโลชันกันยุงกัด พบว่าสามารถช่วยป้องกันการกัดของยุงรำคาญ 5.8 ชั่วโมง ยุงก้นปล่อง 7.1 ชั่วโมง และยุงลายสวน
    ได้ 7.5 ชั่วโมง

ประโยชน์ของมหาหงส์
1. คนเมืองทางภาคเหนือจะใช้หน่ออ่อนลวกรับประทานกับน้ำพริก
2. ชาวไทใหญ่จะใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ
3. น้ำมันจากเหง้าสดสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลงได้ ด้วยการใช้เหง้าสดจำนวนพอสมควรนำมาทุบแล้วสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหย (เรียกว่า "น้ำมันมหาหงส์")
4. น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม
5. ด้วยความหอมของดอกมหาหงส์ ในวงการสปาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงนิยมใช้มหาหงส์เป็นส่วนผสมในครีม โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ
    หรือโคลนหมักตัว
6. มหาหงส์เป็นว่านที่ได้ชื่อว่าเข้ายาทำเสน่ห์ มีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับผู้ปลูก ให้คนรักคนหลง โดยจะนิยมปลูกเพื่อเพิ่มเมตตามหานิยมและความเป็นสิริมงคลให้
    แก่สถานที่ปลูก และยังเชื่อว่า “ว่านมหาหงส์” เป็นว่านให้ลาภแก่ผู้ปลูก และหากนำเหง้าหรือหัวพกพาติดตัวไปด้วยก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์มหานิยม
7. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ สามารถออกได้ตลอดปี ดอกจะมีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด ทนทานต่อแมลงต่าง ๆ โดยดอกจะทยอยบานและอยู่ทน
    หลายวัน ถ้านำไปปลูกบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ก็จะเหมาะยิ่งนัก เพราะสามารถปลูกได้ในที่ร่ม แดดไม่จัดมากนัก ชอบที่ชื้นแฉะ แต่ถ้านำไปปลูกลงในกระถางก็ไม่ควรปล่อยทิ้ง
    ไว้ให้แห้ง โดยปกติแล้วดอกมหาหงส์จะเป็นสีขาว สีดอกจะตัดกับสีเขียวเข้มของต้นและใบอย่างสวยงาม ในปัจจุบันพบว่ามีการนำพันธุ์มหาหงส์เข้ามาปลูกกันหลายชนิด
    ไม่ว่าจะเป็นชนิดดอกสีขาว ดอกสีขาวตรงกลางเหลือง ดอกสีขาวตรงกลางแดง ดอกสีแดงอมสีชมพูจนถึงสีแดงเข้ม หรือดอกสีเหลืองทองทั้งดอก โดยจะมีทั้งดอกเล็กและ
    ดอกใหญ่

คำสำคัญ : มหาหงส์

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาหงส์. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1669

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1669&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,952

งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน

ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,305

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,513

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,223

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,549

ขิง

ขิง

ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,560

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,411

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,331

นุ่น

นุ่น

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบอันดามัน และมีปลูกมากในเขตร้อนทั่วไปเพื่อใช้ปุยจากผลนำมาทำหมอนและที่นอน ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,450

แครอท

แครอท

แครอทนับได้ว่าเป็นผักสารพัดประโยชน์ สามารถประทานได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ทั้งแบบอาหารคาวและอาหารหวาน ทั้งแบบเป็นชิ้นและแบบเป็นน้ำ แครอทเป็นผักคู่ครัวของของไทยไปแล้ว แครอทนอกจากมีรถชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากแครอท แต่ไม่รับประทานผัก น้ำแครอทน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะรสชาติดี รับประทานง่ายและจะทำให้ท่านได้รับประโยชน์จากแครอทอย่างเต็มที่

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,499