บุนนาค

บุนนาค

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 10,521

[16.4258401, 99.2157273, บุนนาค]

บุนนาค ชื่อสามัญ Iron wood, Indian rose chestnut
บุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE
สมุนไพรบุนนาค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น สารภีดอย (เชียงใหม่), ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน), ปะนาคอ ประนาคอ (ปัตตานี), นาคบุตร นากบุต รากบุค (ภาคใต้), ต้นนาค เป็นต้น
ต้นบุนนาค กับความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้เป็นผู้มีความประเสริฐและมีบุญ (พ้องกับความหมายของชื่อ) และคำว่านาคยังหมายถึง พญานาคที่มีแสนยานุภาพ ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองภัย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกได้ด้วย เนื่องจากใบของบุนนาคสามารถช่วยรักษาพิษต่าง ๆ ได้ โดยจะนิยมปลูกต้นบุนนาคไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน และปลูกกันในวันเสาร์เพื่อเอาคุณ

ลักษณะของบุนนาค
        ต้นบุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ต้นบุนนาคยังจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
         ใบบุนนาค ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะปราง โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีสีชมพูออกแดง ส่วนใบแก่ด้านบนจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีนวลสีเทา มีเส้นใบข้างมากแต่ไม่เห็นชัด ใบห้อยลงเป็นพู่ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ออกพร้อมกันทั้งต้นช่วงไม่กี่วันในแต่ละปี
          ดอกบุนนาค ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบซ้อนกัน ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่หัวกลับ ปลายบานและเว้า โคนสอบ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มกลีบจะแผ่กว้างออก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกราว 5-10 เซนติเมตร ดอกบุนนาคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะห้อยลง ก้านดอกยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้มากกว่า 50 อัน เกสรตัวผู้ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีเหลืองส้มและเป็นฝอย ส่วนอับเรณูเป็นสีส้ม ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีสีขาว ก้านยาว มีรังไข่ 2 ช่อง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คล้ายรูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง แยกเป็น 2 วง ลักษณะกลม และกลีบเลี้ยงจะแข็งหนาและอยู่คงทน เมื่อเป็นผลก็ยังคงติดกับผลอยู่ และดอกมีกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นไปได้ไกล และดอกบุนนาคจะออกดอกในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน
          ผลบุนนาค ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลแข็งมาก ส่วนปลายโค้งแหลม ปลายไม่แตก เปลือกผลมีรอยด่างสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีสีส้มแก่หรือสีม่วงน้ำตาล มีเปลือกเป็นเส้นใยห่อหุ้มอยู่ และมีหยดยางเหนียว ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงหนารองรับอยู่ 4 กลีบติดอยู่ และจะขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ภายในผลมีเมล็ด 1-4 เมล็ด ส่วนเมล็ดบุนนาคมีลักษณะของเมล็ดแบนและแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม
          สมุนไพรบุนนาค ในตำรายาแผนไทยระบุว่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรได้ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นดอกสดและแห้ง เกสร ใบ เมล็ด ราก เปลือก กระพี้ แก่น และผล

สรรพคุณของบุนนาค
1. ช่วยชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย (ดอก, ราก, แก่น)
2. ช่วยแก้กระหาย แก้ร้อน อาการกระสับกระส่าย (ดอก)
3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)
4. ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ราก, แก่น)
5. ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ดอก)
6. ดอกบุนนาคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ดอก)
7. ใบใช้ตำเป็นยาพอกโดยผสมรวมกับน้ำนมและน้ำมันมะพร้าวใช้สุมหัวแก้ไข้หวัดอย่างแรง (ใบ)
8. ช่วยแก้ไข้สำประชวร (ดอก, ราก, แก่น)
9. ดอกใช้เป็นยารักษาไข้กาฬ (ดอก)
10. ผลมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มรวมกับขิงกินก็ได้ (ผล, เปลือกต้น)
11. แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น, เนื้อไม้)
12. ช่วยแก้รัตตะปิตตะโรค (ดอก, ราก, แก่น)
13. แก้เลือดกำเดาไหล (ดอก, ราก, แก่น)
14. ช่วยแก้เสมหะในลำคอ (ดอก, ใบ, กระพี้)
15. สรรพคุณต้นบุนนาค กระพี้ช่วยแก้อาการสะอึก (กระพี้)
16. แก้ลมหาวเรอ ลมที่ทำให้หูอื้อ ตามัว (ดอก)
17. ช่วยแก้ลมกองละเอียดที่ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น ใจหวิว (ดอก)
18. ช่วยแก้อาการร้อนในกระสับกระส่าย (ดอก)
19. แก้อาเจียน (ดอก)
20. รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก, ดอก, แก่น)
21. ผลบุนนาคใช้รับประทานเป็นยากระตุ้นการทำงานของร่างกาย ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ผล)
22. เปลือกต้น มีรสฝาดร้อนเล็กน้อย ช่วยฟอกน้ำเหลือง กระจายน้ำเหลือง และช่วยกระจายหนอง (เปลือกต้น)
23. ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ผล)
24. น้ำมันจากเมล็ดเป็นยาทาช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน แก้คิด และแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ (น้ำมันจากเมล็ด)
25. ช่วยรักษาบาดแผลสด แก้แผลสด ใช้พอกบาดแผลสด (ใบ, ดอก)
26. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล, ดอกแห้ง, เปลือกต้น)
27. สรรพคุณ บุนนาคเปลือกต้นช่วยแก้อาการฟกช้ำ (เปลือกต้น)
28. น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยานวดช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ (น้ำมันจากเมล็ด)
29. ช่วยแก้พิษงู (ดอก,ใบ,เปลือกต้น)
30. น้ำมันจากดอกบุนนาค มีสาร Mesuol และ Mesuone ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนยาปฏิชีวนะที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (น้ำมันจากดอก)
31. น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เช่นเดียวกับน้ำมันจากดอก ใช้เมล็ดตำใส่บาดแผล (เมล็ด)
32. ช่วยแก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย (ดอก, ราก, แก่น)
33. ช่วยบำรุงผิวกายให้สดชื่น (ดอก)
34. บุนนาคมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด (ดอก, ใบ)
35. ดอกนำมาใช้เข้าเครื่องยาไทยสูตร "พิกัดเกสรทั้งห้า" (ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบัวหลวง ดอกสารภี), สูตร "พิกัดเกสรทั้งเจ็ด" (เพิ่มดอกจำปาและดอกกระดังงา), และสูตร "พิกัดเกสรทั้งเก้า" (เพิ่มดอกลำดวนและดอกลำเจียก) ซึ่งมีสรรพคุณ
      ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ช่วยทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย แก้ร้อนในกระสับกระส่าย บำรุงครรภ์สตรี มีกลิ่นหอม (ดอก)
36. ใช้อบเครื่องหอม ใช้แต่งกลิ่น เข้าเครื่องยาเป็นยาฝาดสมาน ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ไข้ แก้ไอ แก้ร้อนใน ขับเสมหะ ดับกระหายหรือนำมาบดเป็นผงผสมกับเนยเหลว ใช้เป็นยาพอกรักษาริดสีดวง (ดอก)
37. เกสรบุนนาคมีรสหอมเย็น นำมาใช้เข้ายาหอม มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น ชื่นใจ แก้ไข้ ช่วยขับลม และบำรุงครรภ์ (เกสร)
ข้อควรระวัง ! : กรดในน้ำมันจากเมล็ดบุนนาคมีพิษต่อหัวใจ

ประโยชน์ของบุนนาค
1. ยอดอ่อนบุนนาคสามารถนำมาใช้เป็นผักสด แกล้มกับน้ำพริก หรือจะนำมายำหรือแกงก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าหากไม่อยากรับประทานแบบดิบก็สามารถนำไปลวกก่อนนำมารับประทานก็ได้ ก็จะได้รสชาติที่แปลกและอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง
2. ต้นบุนนาคในปัจจุบันมีการนำมาเพาะปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีดอกหอมและสวยงาม มีทรงพุ่มสวย ใบเขียวเข้มตลอดปี ให้ร่มเงาได้
3. กิ่งบุนนาคสามารถนำมาทำฐานรองพานดอกไม้ไหว้พระ ถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวไทใหญ่
4. ไม้บุนนาคเป็นไม้เนื้อแข็ง แก่นมีสีแดงเข้ม แข็งแรงทนทาน ขัดเงาได้ดี เหมาะสำหรับใช้ทำหมอนรถไฟ สิ่งก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสาสะพาน ต่อเรือน ต่อเกวียน ไม้เท้า ด้ามร่ม ทำสายพานท้ายปืน ฯลฯ
5. ดอกสามารถนำมาใช้กลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ในการอบเครื่องหอมได้เป็นอย่างดี และยังใช้ในการแต่งกลิ่นสบู่อีกด้วย
6. เปลือกลำต้นบุนนาคนำมาบดเป็นผงใช้แต่งกลิ่นธูปได้
7. เมล็ดบุนนาคมีน้ำมันที่กลั่นได้ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ และนำมาใช้จุดตะเกียงให้กลิ่นหอม

คำสำคัญ : บุนนาค

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บุนนาค. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1656

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1656&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,040

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,808

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 12,384

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,530

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,598

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,176

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,351

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,833

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,610

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 22,785