ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 10,931

[16.4258401, 99.2157273, ทองพันชั่ง]

ทองพันชั่ง ชื่อสามัญ White crane flower
ทองพันชั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus communis Nees) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
สมุนไพรทองพันชั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์

ลักษณะของทองพันชั่ง
       ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
       ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
        ดอกทองพันชั่ง ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ส่วนกลีบล่างแผ่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก
        ผลทองพันชั่ง ลักษณะผลเป็นฝักและมีขน ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด
        สมุนไพรทองพันชั่ง เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนังเป็นหลัก ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นก็ได้แก่ ต้น ใบสด รากสดหรือแห้ง และทั้ง 5 ส่วนของต้น (ต้น, ดอก, ใบ, ก้าน, ราก) และทองพันชั่งยังสามารถช่วยรักษาอาการอื่น ๆ และโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไปดูกันเลยครับ

สรรพคุณของทองพันชั่ง
1. ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น)
2. ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)
3. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
4. ช่วยรักษาวัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน, ใบ)
5. ช่วยแก้ลมสาร (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
6. ใช้เป็นยาหยอดตา (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
7. ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้ (ใบ, ราก)
8. ช่วยแก้ไข้เหนือ (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
9. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)
10. ช่วยแก้อาการช้ำใน (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
11. ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น (ใบ)
12. ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
13. ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)
14. ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม
      (ทั้งต้น)
15. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
16. ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)
17. ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
18. ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)
19. ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
20. ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)
21. ช่วยแก้พิษงู (ใบ, ราก)
22. ช่วยถอนพิษ (ใบ)
23. ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
24. ช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
25. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก, ทั้งต้น)
26. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
27. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
28. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
29. ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ได้ (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์) (ใบ)
30. ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)
31. ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)
32. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำทองพันชั่งไปผลิตเป็นโทนเนอร์ทองพันชั่ง เพื่อความสะดวกในการหาซื้อและการนำมาใช้
      งาน (ใบ, ราก, ทั้งต้น) สำหรับวิธีการใช้ก็มีหลากหลายสูตร คือ
      - ใช้ใบสด 5-8 ใบ นำมาตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงผสมเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน (ใบสด)
      - ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดิบ หรือแอลกอฮอล์ 75% แล้วนำมาบริเวณที่เป็นวันละ 1 ครั้งประมาณ 3 วันจนกว่าจะหายขาด (ใบสด)
      - ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาป่นแช่กับเหล้าไว้นาน 1 สัปดาห์ แล้วกรองเอาแต่น้ำยาที่แช่มาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (รากสด)
      - ใช้รากทองพันชั่งนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะนาวและน้ำมะขาม แล้วนำมาชโลมทาบริเวณที่เป็น (ราก)
      - ใช้รากทองพันชั่งประมาณ 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ 1/2 กล่อง นำมาตำจนเข้ากันให้ละเอียด แล้วผสมน้ำมันใส่ผมหรือจะผสมกับวาสลีนเพื่อไม่ให้ยาแห้ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังเป็นประจำ (ราก)
33. ทองพันชั่งรักษามะเร็งช่วยยับยั้งมะเร็ง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในคอ มะเร็งในปาก มะเร็งในปอด มะเร็งภายในและภายนอก ต้นทองพันชั่งมีสารสำคัญคือ "สารแนพโทค
      วิโนนเอสเทอร์" (Naphthoquinone Ester) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีการออกฤทธิ์ในการช่วงยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ด้วยการใช้ทั้งต้นสด
      ประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
34. มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ใช้ต้นทองพันชั่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง รับประทานข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ยัง
      ไม่มีข้อมูลอ้างอิงและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ (ต้น)

สรรพคุณทองพันชั่งเมื่อใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
1. รากและต้นทองพันชั่ง เมื่อใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นจะช่วยยับยั้งมะเร็งเนื้องอก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ส่วนใบจะใช้ยับยั้งมะเร็งไช (ราก, ต้น)
2. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบทองพันชั่ง ใบชุมเห็ดไทย ไทยร่อน เมล็ดพริก ต้นเหงือกปลาหมอ นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยา
    ลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานหลังอาหารเช้า, เย็น ครั้งละ 5 เม็ด เป็นเวลา 1 เดือนจะช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ (ใบ)
3. ช่วยแก้โรคไต โรคมะเร็ง ด้วยการใช้ใบทองพันชั่งดอกเหลืองและใบเลี่ยน นำมาตากแดดจนแห้งแล้วนำไปคั่วให้หอม ใช้ชงเป็นน้ำชาไว้ดื่มเพื่อรักษาโรค (ใบ)
4. ช่วยแก้กระษัย (ราก)
5. ช่วยแก้อาการใจระส่ำระสาย แก้อาการคลุ้มคลั่ง (ใบ)
6. ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน (ใบ)
7. แก้อาการไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด (ราก)
8. รักษาโรครูมาติซึม (ราก)
9. รักษาโรคตับพิการ (ราก)
10. รักษาโรคไขข้อพิการ (ราก)
11. แก้ลมเข้าข้อที่ทำให้มีอาการปวดบวมต่าง ๆ (ราก)
12. ช่วยแก้หิดมะตอย (ใบ)
13. ช่วยทำให้ผมดกดำ แก้ผมหงอก ผมร่วง จึงมีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูทองพันชั่ง (ราก)
14. ช่วยแก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค (ใบ, ราก, ต้น)
ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรทองพันชั่ง

ประโยชน์ของทองพันชั่ง
1. นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วๆ ไป (ต้น)

คำสำคัญ : ทองพันชั่ง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ทองพันชั่ง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1637

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1637&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,987

ปอผี

ปอผี

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,734

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,918

กระทงลาย

กระทงลาย

ต้นกระทงลายเป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง ใบกระทงลายเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 5-1.5 ซม. ดอกกระทงลายออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,813

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,366

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,550

ชะคราม

ชะคราม

ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,252

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,797

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,932

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,985