กระเชา

กระเชา

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 3,645

[16.4258401, 99.2157273, กระเชา]

ชื่ออื่น ๆ : กระเชา, กระเจา, กระเจ้า(ภาคกลาง ภาคใต้), กระเจาะ, ขะเจา(ภาคใต้), กระเช้า(กาญจนบุรี), กระเซาะ(ราชบุรี), กาซาว(เพชรบุรี), ขะจาวแจง, ฮังคาว(ภาคเหนือ), พูคาว(นครพนม), มหาเหนียว(นครราชสีมา), ฮ้างคาว(เชียงราย อุดรธานี ชัยภูมิ), ตะสี่แค(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
ชื่อวงศ์ : ULMACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป
        ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย
        ดอกกระเชาช่อดอกออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ยาว 8-1.5 ซม. มีขน แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย บางครั้งก็มีดอกสมบูรณ์เพศปะปนอยู่บนช่อ วงกลีบรวมมี 5-6 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบแยกจากกัน มีขนทั้ง 2 ด้าน เกสรเพศผู้ 3-9 อัน อับเรณูมีขนประปราย รังไข่ก้านสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก
        ผลกระเชาผลรูปรี แบน มีปีกบางล้อมรอบ กว้าง 8-1.4 ซม. ยาว 1.3-2 ซม. มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน ติดค้างอยู่ที่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือกต้น
สรรพคุณ กระเชา : ใบและเปลือกต้นกระเชา มีกลิ่นเหม็นใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดข้อ ยาแก้โรคเรื้อน ยากำจัดเห็บ หมัด และโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน

คำสำคัญ : กระเชา

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระเชา. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1543&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1543&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,913

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 15,825

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,072

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,156

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,096

สกุณี

สกุณี

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา  ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,470

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,033

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,242

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,989

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,819