จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 7,129

[16.4258401, 99.2157273, จันทน์กะพ้อ]

จันทน์กะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE เช่นเดียวกับเคี่ยม ตะเคียนทอง และพะยอม
สมุนไพรจันทน์กะพ้อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขี้ยวงูเขา (พังงา), จันทน์พอ จันทน์พ้อ (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของจันทน์กะพ้อ
       ต้นจันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยมีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำ และตามชายขอบของป่าพรุทางภาคใต้ บ้างว่าเกิดตามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 20-100 เมตร ส่วนในต่างประเทศจะพบได้ที่ประเทศเวียดนามและมาเลเซีย
        ใบจันทน์กะพ้อ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของแผ่นใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบเกลี้ยงหนา มีเส้นแขนงของใบประมาณ 15-18 คู่ ปลายเส้นโค้งจรดกับขอบใบ โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
         ดอกจันทน์กะพ้อ ดอกสีเหลืองนวลขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมแรงมาก กลิ่นเป็นแบบหอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลงและน้ำมันจันทน์ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามกิ่งและตามง่ามใบ ดอกมีกลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน 5 กลีบ เรียงเวียนกันเป็นรูปกังหัน กลีบดอกมีขนนุ่มเป็นสีน้ำตาล ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนปกคลุม เมื่อเริ่มปลูกจะใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีถึงจะออกดอก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและดอกจะทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน
         ผลจันทน์กะพ้อ ผลมีลักษณะกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผิวผลเป็นขุยสีน้ำตาล ผลเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 กลีบ มีกลีบประดับ 5 กลีบสั้นกว่าตัวผล โดยกลีบผลมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมสั้นกว่าความยาวของผล ขอบกลีบพับจีบตามยาว มีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม โดยจะติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน และผลจะแก่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของจันทน์กะพ้อ
1. ดอกใช้ผสมกับยาอื่นปรุงเป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ (ดอก)
2. ช่วยแก้สันนิบาต (เนื้อไม้)
3. เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน (เนื้อไม้)
4. ช่วยขับลม (เนื้อไม้)
5. ช่วยแก้เสมหะ (เนื้อไม้)

ประโยชน์ต้นจันทน์กะพ้อ
1. สมัยก่อนคนโบราณจะใช้ดอกกลั่นทำน้ำมันใส่ผมและมีการนำมาใช้ทำน้ำหอม
2. ไม้จันทน์กะพ้อมีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหรือใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้
3. เนื่องจากดอกของต้นจันทน์กะพ้อมีกลิ่นหอมแรง ออกดอกดก จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ โดยจะปลูกตามป่าอนุรักษ์ ตามสนามหน้าบ้าน หรือใช้จัดสวนหย่อมก็ได้ และควรปลูกทาง
    ด้านทิศตะวันออกที่มีไม้ใหญ่
4. คนโบราณนิยมนำดอกจันทน์กะพ้อมาเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อใช้อบให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอม

คำสำคัญ : จันทน์กะพ้อ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันทน์กะพ้อ. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1593

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1593&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ฝาง

ฝาง

ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,788

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 25,976

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,283

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 21,443

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,476

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,207

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,931

โสก

โสก

ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,299

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,491

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,521