ไข่เน่า

ไข่เน่า

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 6,989

[16.4258401, 99.2157273, ไข่เน่า]

ไข่เน่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex glabrata R.Br. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรไข่เน่า มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขี้เห็น (เลย, อุบลราชธานี), ปลู (เขมร-สุรินทร์), คมขวาน ฝรั่งโคก (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของไข่เน่า
        ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาว ๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก[7] โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
         ใบไข่เน่า มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ อยู่เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อยมี 3-5 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม (คล้ายใบงิ้ว) ลักษณะคล้ายรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบสอบแหลมหรือมน ขนาดของใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนสั้นอยู่ประปราย ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-7 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบจะยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร
          ดอกไข่เน่า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีสีม่วงอ่อน (หรือสีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อๆ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง และมีขนละเอียดที่ดอก ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร โดยดอกจะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างต้นต่างดอกก็ได้ และจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
          ผลไข่เน่า หรือ ลูกไข่เน่า ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ขั้วผลเป็นรูปกรวยกว้าง ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ ผลมีเนื้ออ่อนนุ่ม และมีรสหวานอมเปรี้ยวและเหม็น ส่วนเมล็ดไข่เน่าจะมีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย และยังมีการสันนิษฐานว่า ชื่อไข่เน่านี้คงมาจากลักษณะและสีของผลนั่นเอง โดยผลแก่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของไข่เน่า
1. ผลใช้รับประทาน กินแล้วหัวดี ช่วยบำรุงสมองได้ (ผล)
2. ผลอุดมไปด้วยแคลเซียม จึงช่วยบำรุงกระดูก แก้กระดูกผุสำหรับผู้สูงอายุได้ดี (ผล)
3. รากไข่เน่าช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, เปลือกต้น)
4. ผลสุกใช้รับประทานช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล, เปลือกต้น)
5. ช่วยแก้ตานขโมย (โรคพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผอมแห้ง ซูบซีด มีอาการท้องเดิน ก้นปอด) (ราก, เปลือกต้น, ผล)
6. ช่วยรักษาพิษตานซาง (เปลือกต้น)
7. เปลือกต้นช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น)
8. ช่วยแก้โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นนัยน์ตา (ผล, เปลือกผล)
9. เปลือกต้นมีรสฝาด ช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ราก, เปลือกต้น)
10. รากและเปลือกต้นช่วยแก้บิด (ราก, เปลือกต้น)
11. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง (ราก)
12. ช่วยแก้เด็กถ่ายเป็นฟอง (เปลือกต้น)
13. เปลือกต้นไข่เน่าช่วยขับพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร (เปลือกต้น) รากใช้ขับพยาธิไส้เดือน (ราก)
14. ช่วยรักษาโรคกระเพาะหรือโรคลำไส้อักเสบของเด็กทารก (เปลือกผล)
15. ช่วยในระบบขับถ่าย (ผล)
16. ช่วยบำรุงระบบเพศ (ผล)
17. ช่วยบำรุงไต (ผล)
18. ช่วยแก้เลือดตกค้าง (เนื้อไม้)
19. นอกจากนี้หมอยาโบราณยังนิยมใช้เปลือกของต้นไข่เน่ามาต้มรวมกับรากเต่าไห้ เพื่อปรุงเป็นยารักษาโรคซางในเด็กและเป็นยาขับพยาธิ (เปลือกต้น)
ข้อมูลไข่เน่า : เปลือกต้นไข่เน่า จะมีสารจำพวกสเตีอรอยด์ (Steroid)ที่มีชื่อว่า -sitosterol และ ecdysterone และ anguside (p-hydroxybenzoic ester of aucubin

ประโยชน์ของไข่เน่า
1. ผลสุกใช้รับประทานสดเป็นผลไม้ได้ แต่จะมีรสหวานเอียน ไม่อร่อยนัก หากใส่เกลือป่นหรือจิ้มเกลือก็จะทำให้มีรสชาติดีขึ้น หรือจะคลุกเคล้ากับเกลือแล้วนำไปผึ่งแดดเก็บไว้รับประทาน
    หรือจะรับประทานแบบสดๆ หรือนำไปดองน้ำเกลือก็ได้เช่นกัน
2. ผลไข่เน่ายังสามารถนำไปทำเป็นขนมที่เรียกว่า "ขนมไข่เน่า" ได้ด้วย โดยวิธีการทำก็คล้ายกับการทำขนมกล้วย แต่เปลี่ยนจากกล้วยเป็นไข่เน่า ด้วยการหยอดใส่ใบตองทรงกรวยแหลม
    แล้วเอามะพร้าวขูดโรยหน้าก่อนจะนำไปนึ่ง
3. ต้นไข่เน่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี เป็นไม้ที่น่าปลูกสะสม เพราะในปัจจุบันเริ่มหายากลงทุกที โดยจะนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นร่มเงาเนื่องจากไม่ผลัดใบ
4. เนื้อไม้ของต้นไข่เน่ามีความแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

คำสำคัญ : ไข่เน่า

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไข่เน่า. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1582

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1582&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,828

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,157

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,587

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,952

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 17,892

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,549

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,485

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,125

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,971

ฟักเขียว

ฟักเขียว

ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 9,128