ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 4,555

[16.4258401, 99.2157273, ก้นจ้ำขาว]

ชื่ออื่น : ก้นจ้ำขาว, กี่นกไส้, ปืนนกไส้, ปีกนกไส้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens pilosa L.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
         ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน
         ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง
         ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก
         ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น
สรรพคุณ ก้นจ้ำขาว : ทั้งต้นรสขมเฝื่อน ต้มดื่มแก้หวัด แก้ปวดท้อง ตำกับสุราทาแก้งูสวัด ตำกับน้ำตาลทรายแดงพอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีพุพอง บวม ต้มเอาน้ำทาแก้ฝีที่หน้าแข้ง ผสมสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น

คำสำคัญ : ก้นจ้ำขาว

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ก้นจ้ำขาว. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1532

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1532&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แก่นตะวัน

แก่นตะวัน

แก่นตะวันสมุนไพร ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก เนื่องจากเป็นพืชที่มีประโยชน์สารพัด เพราะในหัวแก่นตะวันจะมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ อินนูลิน (Inulin) ซึ่งเป็นน้ำตาลเชิงซ้อน มีโมเลกุลของน้ำตาลต่อกันเป็นห่วงโซ่มากกว่า 10 โมเลกุล ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของสารชนิดนี้มันจึงกลายเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง และจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ของเรา

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,839

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,366

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,694

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,743

มะกล่ำเผือก

มะกล่ำเผือก

ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,361

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,834

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,485

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,869

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,064

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  สูงประมาณ 12 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรือนต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขนาน ปลายและโคนกลมมีขนอ่อนนิ่มทั้งหลังและท้องใบ ดอกช่อออกตามกิ่ง สีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว ออกดอกหลังผลัดใบ ผลฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนนิ่มปกคลุมยาว 30-40 ซม. มีผนังกั้นระหว่างเมล็ดยุ่น ๆ สีขาวแกมเขียว เมื่อแห้งจะแยกกันเป็นชั้น ๆ ปอกเปลือกออกจะเห็นเป็นรูปเหรียญกลม ๆ มีเมล็ดอยู่ภายใน เขย่าได้ ตลอดฝักเมล็ดกลมลีบแบน  นิเวศวิทยาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,908